คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล ตรีเพชร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมประทานบัตร, อายุความ, ดอกเบี้ย: อำนาจฟ้อง, กฎกระทรวงบังคับใช้, และข้อยกเว้นอายุความ
โจทก์เป็นกรมในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตร การฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไม่จำต้องมอบอำนาจให้
ตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 55 จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรเป็นรายปีค่าธรรมเนียมนั้นกฎหมายให้เรียกเก็บตามกฎกระทรวงอันหมายถึงกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเรียกเก็บ ปีใดกฎกระทรวงฉบับใดใช้บังคับอยู่จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงฉบับนั้นกำหนดไว้
จำเลยยกอายุความเรื่องเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา563 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่ฎีกาโดยยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา164 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/30 ขึ้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2
เงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้เนื้อที่ตามประทานบัตรที่ค้างชำระเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ดอกเบี้ยค้างชำระส่วนที่เกิน 5 ปี นับจากวันฟ้องย้อนหลังไปขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 ซึ่งแก้ไขใหม่เป็นมาตรา 193/33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สิน: โมฆะตามกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์ ซึ่งเป็นทนายความกับจำเลยซึ่งเป็นลูกความ ตกลงกันว่า ถ้าลูกความชนะคดีได้ที่ดินที่เป็นมูลพิพาทมาเท่าใด ทนายความขอส่วนได้จากที่ดินที่จะได้มา ไม่ว่าราคาจะขึ้นลงสักเท่าใด อันเป็นการไม่แน่นอน อันถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความมีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2528 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 ไปแล้ว แต่สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นทำขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ก่อนกฎหมายดังกล่าวยกเลิก จึงไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่วันทำสัญญาแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดเจนและไม่เป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือกล่าวว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงแต่มิได้กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นฎีกาข้อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นสาระ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นคือกล่าวว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เป็นการคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง แต่มิได้กล่าวถึงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทั้งสองฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลที่กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าไม่ถูกต้องนั้น เป็นฎีกาข้อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจขอออกหมายบังคับคดีเอง ต้องฟ้องผู้ผิดสัญญาเป็นคดีใหม่
การที่ ส. ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 และการกระทำของ ส. ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีจากผู้สู้ราคาที่ไม่วางเงินมัดจำ ต้องอาศัยคำพิพากษา
แม้ ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในราคาส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้ ส. นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระแล้วแต่ ส. เพิกเฉยก็ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความ และจะร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส. เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่วางมัดจำและการไม่มีอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดอายัด
การที่ ส.ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส.ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 516 และการกระทำของ ส.ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัด•ทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้อง ส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์การขายทอดตลาด: จำเลยต้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงมีสิทธิอุทธรณ์
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทแก่ผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าราคาประเมินของสำนักงานโยธาธิการจังหวัดมหาสารคามยังบกพร่อง และผู้ร้องเสนอราคาในการประมูลซื้อต่ำ ขอให้มีการประเมินราคาและขายทอดตลาดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะมิได้ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27,296 วรรคสองพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าว แต่กลับฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านการประเมินราคาของเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการจังหวัดมหาสารคามเพราะจำเลยได้คัดค้านการประเมินราคาดังกล่าวไว้แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองทำให้จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เสียแล้ว การวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยก็มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดกสงวนสำหรับทายาท ผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกฐานเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้
ที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเคยอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ตายนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของผู้คัดค้านเท่านั้น ผู้ร้องเองก็เบิกความว่าผู้คัดค้านไม่เคยมาอยู่กับผู้ตายและไม่เคยมาพักที่บ้านผู้ตายเลย จึงเป็นการยากที่จะรับฟังว่า ผู้คัดค้านมีความผูกพันกับผู้ตายถึงขั้นสมควรจะเข้าไปร่วมดูแลจัดการทรัพย์มรดกผู้ตาย อีกทั้งได้ความจากคำเบิกความของผู้คัดค้านว่า ที่ผู้คัดค้านต้องการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเกิดความเสียหายจากการจัดการมรดกของฝ่ายผู้ร้อง อันเป็นเจตนาที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน หาใช่กระทำเพื่อความชอบธรรมและประโยชน์ของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยตรงไม่ กรณีเช่นนี้ถ้าผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะเจ้าของรวมอย่างไรก็ชอบจะเรียกร้องเอาได้โดยไม่จำต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่แล้ว จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิผู้ร่วมทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ทายาท และเจตนาในการจัดการมรดก
ที่ดินทรัพย์มรดกแปลงหนึ่งผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเคยอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ตายนั้น ก็มีแต่คำเบิกความลอย ๆ ของผู้คัดค้านเท่านั้น ผู้ร้องเองก็เบิกความว่าผู้คัดค้านไม่เคยมาอยู่กับผู้ตายและไม่เคยมาพักที่บ้านผู้ตายเลยจึงเป็นการยากที่จะรับฟังว่า ผู้คัดค้านมีความผูกพันกับผู้ตายถึงขั้นสมควรจะเข้าไปร่วมดูแลจัดการทรัพย์มรดกผู้ตาย อีกทั้งได้ความจากคำเบิกความของผู้คัดค้านว่า ที่ผู้คัดค้านต้องการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นก็เพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีส่วนร่วมอยู่ด้วยเกิดความเสียหายจากการจัดการมรดกของฝ่ายผู้ร้อง อันเป็นเจตนาที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน หาใช่กระทำเพื่อความชอบธรรมและประโยชน์ของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายโดยตรงไม่ กรณีเช่นนี้ถ้าผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมีส่วนในทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะเจ้าของรวมอย่างไรก็ชอบจะเรียกร้องเอาได้โดยไม่จำต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่แล้ว จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว
of 13