พบผลลัพธ์ทั้งหมด 122 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากความไม่เคารพและการหมิ่นประมาทของผู้รับ
จำเลยที่1ผู้ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่1เป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ที่1จึงเป็นญาติสนิทผู้มีอาวุโสของโจทก์ที่1สมควรที่โจทก์ที่1จะให้ความเคารพนับถือตามควรการที่โจทก์ที่1ด่าว่าจำเลยที่1ด้วยถ้อยคำหยาบคายแสดงถึงการเหยียดหยามไม่ให้ความเคารพนับถือถือว่าเป็นการ หมิ่นประมาทจำเลยที่1อย่าง ร้ายแรง จำเลยที่1จึง ถอนคืนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครอง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยซึ่งเพียงแต่ไปคัดค้านคำร้องขอของด.ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งด. เป็นผู้จัดการมรดกของค. เพื่อที่จะไปดำเนินการโอนที่ดินให้แก่โจทก์เท่านั้นยังมิได้เป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์หรือแย่งสิทธิครอบครองของโจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเช็คที่ถูกนำไปขึ้นเงินโดยมีการลงลายมือชื่อถูกต้อง และไม่มีเหตุโต้แย้ง
จำเลยที่8เป็นสาขาของจำเลยที่7โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ จำเลยที่1ที่2ที่3เป็นข้าราชการของโจทก์มีหน้าที่ต้องนำเช็คสั่งจ่ายในนามของจำเลยทั้งสามไปขอเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่8ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่7และนำเงินไปมอบโจทก์จำเลยทั้งสามได้ดูลายมือชื่อด้านหลังเช็คและไปขอเบิกเงินจากจำเลยที่8จำเลยที่11พนักงานของจำเลยที่7ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของจำเลยที่1และที่3จำเลยที่10ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีได้ตรวจดูข้อความในเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายกับผู้รับเงินและเห็นว่าถูกต้องตลอดจนไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้จำเลยที่7หมดหน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา992จำเลยที่10จึงอนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่1ไปถือว่าจำเลยที่9ถึงที่11ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วแม้จำเลยที่1จะยักยอกเงินไปแต่ความเสียหายของโจทก์ก็มิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่7ที่9ถึงที่11 จำเลยที่1ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์คดีส่วนแพ่งซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์จึงต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 8 เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 8 จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ใช้บังคับได้แม้ไม่มีผู้มอบอำนาจ และอายุความเริ่มนับใหม่เมื่อมีหนังสือรับสภาพหนี้
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริงเจ้าหนี้หาจำต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบริษัท ส. มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้วคดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ารับฟังเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่หนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ใช้บังคับได้แม้ไม่มีการมอบอำนาจ และอายุความหนี้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต 10 ปี
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริงส่วนเจ้าหนี้หาจำเป็นต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่บริษัทส.ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงหนังสือรับสภาพหนี้จึงใช้บังคับได้โดยโจทก์ไม่จำต้องมอบอำนาจให้ล. เป็นคู่สัญญาแทน โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัทส. มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยทั้งสองก็มิได้ปฏิเสธว่าบริษัทส. มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้วคดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่จึงไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงเมื่อบริษัทส. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและจำนองค้ำประกันหนี้จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของบริษัทส. ที่โจทก์ใช้เงินแทนบริษัทส. ไปก็เป็นการชำระตามข้อผูกพันในสัญญาที่บริษัทส. ขอให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นให้กรณีจึงมิใช่เรื่องที่ลูกจ้างเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแทนผู้ว่าจ้างจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(8)เดิมมาใช้บังคับมิได้และหนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์ใบมอบอำนาจ, หนังสือรับสภาพหนี้, เล็ตเตอร์ออฟเครดิต, อายุความหนี้
ใบมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนกระทำการแทนมากกว่าครั้งเดียวจะต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง เจ้าหนี้หาจำต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบริษัท ส.มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว คดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีก เล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ารับฟังเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
หนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง เจ้าหนี้หาจำต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์ มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าบริษัท ส.มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว คดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีก เล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่ารับฟังเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
หนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, อายุความ, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหายและผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะ
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230-231/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากการตาย และการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้เกี่ยวข้อง
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยาน ศ. เพิ่มเติมหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จโดยอ้างว่า ศ. เป็นบุคคลที่นั่งไปในรถยนต์ของจำเลยขณะเกิดเหตุด้วยนั้นหากเป็นความจริงจำเลยก็อาจทราบได้ตั้งแต่หลังจากเกิดเหตุและก่อนถูกฟ้องคดีแล้วการที่จำเลยไม่ทราบจึงเป็นเพราะจำเลยไม่ขวนขวายเอาใจใส่คดีของจำเลยเองศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคท้ายแล้ว โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ตายหรือไม่อย่างไรเป็น สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ร่วมไม่เกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายและได้ฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิดไปแล้วหากโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีเองโจทก์ร่วมจะต้องฟ้องภายในอายุความการที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมีผลเสมือนเป็นการฟ้องคดีเพราะเป็นการขอบังคับให้เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์ร่วมมีอยู่เมื่อนับจากวันเกิดเหตุเป็นเวลาเกิน1ปีแล้วคดีของโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว.ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้