คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและรถยนต์กรณีคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขาย, การครอบครอง, และการส่งมอบทรัพย์
แม้จำเลยจะมีชื่อในทะเบียนรถซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยตกลงคืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และนัดหมายโอนทะเบียนรถให้แก่กันแล้วย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยยอมรับว่ารถยนต์เป็นของโจทก์โดยให้ใส่ชื่อจำเลยถือครองแทน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท
หากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์กับจำเลยต้องทำสัญญาซื้อขายไว้อีก และเมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดในสัญญาดังกล่าวแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่า ต้องการจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าว ไม่ได้ถือสัญชาติไทยจะมีสิทธิถือครองที่ดินได้ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่าหากวันใดมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในการถือสิทธิครอบครองที่ดินขอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์โดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินคืน เมื่อปรากฏว่าทรัพย์นั้นยังคงมีอยู่ที่จำเลยและจำเลยสามารถปฏิบัติการส่งมอบทรัพย์พิพาทตามที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคาทรัพย์ และจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่กรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับให้จัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ตายมีสิทธิจัดการได้ ทรัพย์มรดกตกแก่ผู้จัดการมรดก
จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อด้วยเงินคนต่างด้าว ถือเป็นทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขอโอน
แม้ผู้ตายเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน ถือได้ว่าเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินพิพาทมาดังกล่าวก็หาใช่จะไม่มีผลใดๆ เสียเลย เพราะผู้ตายยังมีสิทธิได้รับผลตามบทบัญญัติ มาตรา 94 แห่ง ป.ที่ดิน ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดหรืออธิบดีกรมที่ดินอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ กรณีต้องถือว่าตราบใดที่ผู้ตายหรืออธิบดีกรมที่ดินยังไม่ได้จำหน่ายที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หรือนำไปจำหน่ายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 แล้วนำเงินมาแบ่งปันแก่ทายาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14040/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างสมรสกับคนต่างด้าว การแบ่งทรัพย์สิน และข้อจำกัดการถือครองที่ดิน
โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันและซื้อที่ดินพร้อมบ้านภายหลังจดทะเบียนสมรส แม้ที่ดินและบ้านระบุชื่อโจทก์เพียงฝ่ายเดียวแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยได้มาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องนำมาแบ่งกันเมื่อขาดจากการสมรสโดยได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533
การที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างสมรสกับจำเลย แม้ส่วนของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทจะฝ่าฝืน ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่การได้ที่ดินมามิใช่จะไม่มีผลใด ๆ เสียเลยเพราะจำเลยยังมีสิทธิได้รับผล ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินดังกล่าวนั้นได้และการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวหมายความเฉพาะกับที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่รวมบ้านซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเนื่องจากข้อจำกัดคนต่างด้าว การจำหน่ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ ป.ที่ดิน
การที่โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินพิพาท โดยใช้ชื่อจำเลยเป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์แทนเนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ เป็นการกระทำที่ขัดต่อ ป.ที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 96 ซึ่งโจทก์จะต้องจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้จำหน่ายที่ดินแทนโจทก์โดยพลการหาได้ไม่ เนื่องจากเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะให้อธิบดีกรมที่ดินรับทราบและกำหนดเวลาให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายที่ดินเสียก่อน หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดจึงให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจำหน่ายที่ดินพิพาทแทนโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาและให้โจทก์ได้รับเงินที่ได้จากการจำหน่ายอันเป็นวิธีการนอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้กำหนดวิธีการจำหน่าย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11252/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน กรณีตัวการ ตัวแทน และการบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว
โจทก์เป็นคนสัญชาติเบลเยี่ยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รู้จักกับ ธ. พี่สาวของจำเลยและได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก น. เงินที่ซื้อที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ธ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและจำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เป็นการทำแทนโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ ถือว่าเป็นการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์เป็นตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
การจะให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญา และจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมสัญญานั้น แต่คดีนี้จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง แต่อย่างไรก็ดี ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์คืน ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาท, อายุความ, และการครอบครองทรัพย์สิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยอ้างว่าเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินดังกล่าวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ายินยอมให้เจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยหรือไม่ เพราะเจ้ามรดกมิได้ถือกรรมสิทธิ์เอง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่เจ้ามรดกยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองขณะที่จำเลยยังเป็นผู้เยาว์ เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และแม้เจ้ามรดกเป็นบุคคลต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่เจ้ามรดกยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ ตราบใดที่ยังมิได้จำหน่าย ที่ดินพิพาทและโรงงานก็ยังคงเป็นของเจ้ามรดก ซึ่งอาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดได้ทั้งสิ้น
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทตามพินัยกรรม ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ย่อมต้องถือว่าการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น อายุความยังไม่เริ่มต้นนับ ฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก ผู้มีประทานบัตรยังคงมีสิทธิครอบครองได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตาม ป.ที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและการทำเหมืองแร่: สิทธิแยกต่างหาก โอนสิทธิได้ แม้ประทานบัตรหมดอายุ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ได้รับโอนประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ มาจากบริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อปี 2514 โจทก์ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ แม้บริษัท ซ.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจะได้ที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินนั้นจะไม่มีผลเสียเลย กฎหมายเพียงแต่จำกัดสิทธิมิให้บริษัท ซ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94เมื่อบริษัท ซ. โอนสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครองครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์แต่จำเลยทั้งสองและบริวารยังขืนอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปโดยไม่ยอมส่งมอบคืนโจทก์ จึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดกตามพินัยกรรม, อายุความ, และสถานะทายาทที่ถูกตัดสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย ซึ่งตามกฎหมายเจ้ามรดกและจำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ จ.สามีของโจทก์ที่ 1 เพียงหนึ่งในสี่ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดไม่เกินไปจากส่วนที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าของ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมได้ ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับตามกฎหมาย ขณะทำพินัยกรรมไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกทราบว่า จ.สามีของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ไม่มีทางได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทย เนื่องจากเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวเช่นเดียวกันเคยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยมาก่อน จึงเข้าใจว่า จ. คงขออนุญาตรับมรดกในส่วนของที่ดินพิพาทได้เช่นเดียวกันทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 46 ก็บัญญัติให้คนต่างด้าวมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ตามสนธิสัญญาต่าง ๆ และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้ จ.จะไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ถือครองที่ดินได้ จ. ก็ยังมีสิทธินำที่ดินพิพาทซึ่งรับมรดกมาจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 94 ดังนี้พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงมิได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ แม้จำเลยจะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นทั้งหมดโดยจำเลยไม่ได้รับมรดกเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ยกอายุความ 10 ปีตามมาตรา 1755 มาใช้ยันต่อ จ. ผู้รับพินัยกรรมและโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ จ. ได้
of 5