พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าว: ผลของโมฆะและสิทธิในการจำหน่าย
คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา97โจทก์จึงมีสิทธิอ้างจำเลยที่2เป็นพยานฝ่ายโจทก์และจะให้นำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรการที่โจทก์อ้างจำเลยที่2ให้เบิกความเป็นพยานโจทก์ก่อนพยานอื่นจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขณะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ย. โจทก์เป็นคนต่างด้าวนิติกรรมการซื้อขายเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)แต่ไม่ทำให้นิติกรรมเสียเปล่าไปซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา94ให้อำนาจที่จะจำหน่ายที่ดินนั้นได้และการบังคับให้จำหน่ายหมายความเฉพาะกับที่ดินพิพาทเท่านั้นไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างพิพาทด้วยเพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมของคนต่างด้าวและสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการโอนที่ดิน
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีผลผูกพัน ไม่จำกัดเฉพาะคำขอเดิม หากไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพียงแต่ต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้นๆ หากข้อตกลงนั้นมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาไปตามยอมไม่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาดโดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้วคำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้ หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516,2170/2519 และ2487/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ไม่จำกัดเฉพาะคำขอในฟ้อง หากไม่ขัดกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามยอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพียงแต่ต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้นๆ หากข้อตกลงนั้นมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาไปตามยอม ไม่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การ ที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาด โดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว คำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้
หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516, 2170/2519 และ 2487/2523)
โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การ ที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาด โดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว คำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้
หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516, 2170/2519 และ 2487/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้ที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมาย ยังมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตามเงื่อนไขที่กำหนด
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวศาลพิพากษาตามยอม แม้โจทก์จะถือหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 94 ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 อยู่คำพิพากษาตามยอมจึงหาฝ่าฝืนหรือขัดต่อมาตรา 86 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวซื้อที่ดินผิดกฎหมาย สิทธิในที่ดินเป็นโมฆะ แต่มีผลบังคับใช้ได้ในบางส่วน
โจทก์เป็นคนต่างด้าวร่วมกับพวกซึ่งเป็นคนต่างด้าวอีกคนหนึ่งซื้อที่ดินตาม น.ส.3 แปลงหนึ่งโดยตกลงให้จำเลยมีชื่อถือสิทธิแทน การกระทำดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 จึงเป็นโมฆะ แต่มาตรา 94 แห่งกฎหมายดังกล่าวให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นเสียภาษีภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดให้ ความเป็นโมฆะดังกล่าวจึงไม่เสียเปล่า ยังมีผลตามกฎหมายอยู่ หากแต่ว่าคนต่างด้าวจะถือสิทธิเอาที่ดินเป็นของตนไม่ได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นโจทก์ย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยซึ่งมีชื่อถือสิทธิในที่ดินนั้นถือสิทธิทดแทนตนและบังคับจำเลยให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้แก่ตนได้แต่จะขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ตนไม่ได้
ฎีกาจำเลยกล่าวแต่เพียงว่ามีความสงสัยในคำวินิจฉัยของศาลล่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาจำเลยกล่าวแต่เพียงว่ามีความสงสัยในคำวินิจฉัยของศาลล่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างว่าไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยคนต่างด้าว การถือครองแทน และสิทธิในการบังคับจำหน่าย
โจทก์เป็นคนต่างด้าวร่วมกับพวกซึ่งเป็นคนต่างด้าวอีกคนหนึ่งซื้อที่ดินตาม น.ส.3 แปลงหนึ่งโดยตกลงให้จำเลยมีชื่อถือสิทธิแทน การกระทำดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 จึงเป็นโมฆะ แต่มาตรา 94 แห่งกฎหมายดังกล่าวให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นเสียภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดให้ ความเป็นโมฆะดังกล่าวจึงไม่เสียเปล่า ยังมีผลตามกฎหมายอยู่หากแต่ว่าคนต่างด้าวจะถือสิทธิเอาที่ดินเป็นของตนไม่ได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นโจทก์ย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยซึ่งมีชื่อถือสิทธิในที่ดินนั้นถือสิทธิแทนตนและบังคับจำเลยให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้แก่ตนได้แต่จะขอให้ แสดงกรรมสิทธิ์และให้จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ตนไม่ได้
ฎีกาจำเลยกล่าวแต่เพียงว่ามีความสงสัยในคำวินิจฉัยของศาลล่าง มิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ฎีกาจำเลยกล่าวแต่เพียงว่ามีความสงสัยในคำวินิจฉัยของศาลล่าง มิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในข้อโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างว่า ไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ และผลกระทบของประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 และ 97
โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและทำการก่อสร้างโกดังขึ้นบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเป็นเพราะกรรมการคนหนึ่งในบริษัทโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึงตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนคนต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ ที่พิพาทรายนี้ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 แม้ต่อมามีคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 (5) เสียก็ตามคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าวก็หามีผลย้อนหลังไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินได้แต่อย่างใด ผลต่อไปต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องนี้โดยเฉพาะจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่พิพาทเสีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินกรณีมีบุคคลต่างด้าวเป็นกรรมการบริษัท: การโอนชื่อและผลกระทบจากคำสั่งคณะปฏิวัติ
โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและทำการก่อสร้างโกดังขึ้นบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเป็นเพราะกรรมการคนหนึ่งในบริษัทโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึงตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคลซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนคนต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ ที่พิพาทรายนี้ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 แม้ต่อมามีคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97(5) เสียก็ตามคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าวก็หามีผลย้อนหลังไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินได้แต่อย่างใด ผลต่อไปต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องนี้โดยเฉพาะจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่พิพาทเสีย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)