คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติถอดถอนสมาชิกภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต้องชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยมีมติให้ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ทั้งสองอันมีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นพยานในคดีที่นางสาว ก. ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยสั่งเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีต้องชำระเงินค่าเสียหายแก่นางสาว ก. ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และมีคำขอบังคับโดยขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ทั้งมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า การลงมติดังกล่าวไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่คำฟ้องโจทก์ไม่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยข้อบังคับอย่างไร การกระทำที่ไม่ชอบนั้นเป็นอย่างไร การกระทำอย่างไรไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 นั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณาและการวินิจฉัยปัญหานี้เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยพิเคราะห์จากคำฟ้องโดยตรง โจทก์จะนำสืบหรือไม่อย่างไรจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยถึง เมื่อคำฟ้องโจทก์มีสาระครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้วจึงไม่เคลือบคลุม การที่โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือยอมรับมติของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยในการเลิกจ้างนางสาว ก. เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ที่ 1กับจำเลย นางสาว ก. มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย การฟ้องคดีเป็นสิทธิส่วนตัว โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะบังคับไม่ให้นางสาว ก.ฟ้องคดีได้ ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยหรือทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นเหตุให้ที่ประชุมลงมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ที่ 1 มติของที่ประชุมดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนสมาชิกภาพต้องมีเหตุผลอันสมควร การกระทำที่ไม่สามารถควบคุมการฟ้องคดีของผู้อื่นไม่ถือเป็นเหตุให้ถอดถอนได้
โจทก์ที่ 1 เป็นสมาชิกและคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยการที่โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือยอมรับมติของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยในการเลิกจ้างนางสาว ก. และรับว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆทางกฎหมายอีกนั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ที่ 1 กับคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย การที่นางสาว ก. ฟ้องจำเลยในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเรียกค่าเสียหายนั้นก็เป็นสิทธิส่วนตัวของนางสาว ก. โจทก์ไม่มีอำนาจบังคับนางสาว ก. มิให้ฟ้องคดีการที่นางสาว ก. ฟ้องจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 แสดงตนเป็นปรปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยหรือทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยที่ให้ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัญญาพ้นวิสัยจากการบอกเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเป็นอันตกไป
แม้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายเงินให้ภายใน 40 วัน นับแต่เจ้าของงานได้ผ่านการตรวจรับงานในงวดนั้นแล้ว และจะคืนเงินประกันผลงานหลังจากเจ้าของงานได้รับมอบงานงวดสุดท้ายของจำเลย และออกหนังสือรับรองการมอบงานแล้วรวมกับระยะเวลาการประกันผลงานอีก 1 ปี เมื่อเงื่อนไขดังกล่าวไม่อาจที่จะปฏิบัติได้ เพราะจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับเจ้าของงานแล้ว การตรวจรับงานงวดที่ 3 งวดที่ 4 และงวด-สุดท้ายจึงไม่อาจมีขึ้นได้ เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการพ้นวิสัย และถือว่าเงื่อนไขในข้อตกลงดังกล่าวไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: เงื่อนไขการจ่ายเงินและการคืนเงินประกันผลงานเป็นโมฆะเนื่องจากเหตุสุดวิสัยจากการบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายเงินให้ภายใน 40 วัน นับแต่เจ้าของงานได้ผ่านการตรวจรับงานในงวดนั้นแล้ว และจะคืนเงินประกันผลงานหลังจากเจ้าของงานได้รับมอบงานงวดสุดท้ายของจำเลย และออกหนังสือรับรองการมอบงานแล้วรวมกับระยะเวลาการประกันผลงานอีก 1 ปี เมื่อเงื่อนไขดังกล่าวไม่อาจที่จะปฏิบัติได้ เพราะจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับเจ้าของงานแล้ว การตรวจรับงานงวดที่ 3 งวดที่ 4 และงวดสุดท้ายจึงไม่อาจมีขึ้นได้ เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นการพ้นวิสัย และถือว่าเงื่อนไขในข้อตกลงดังกล่าวไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปิดทางในสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ไม่ได้จดทะเบียนก็ใช้ได้ระหว่างคู่สัญญา
หลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียง7 วัน จำเลย สามีจำเลย และบุตรร่วมกันตั้งบริษัทจำเลยร่วมโดยจำเลยสามีจำเลย และบุตรเป็นกรรมการบริษัท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 เพราะขณะนั้นจำเลยร่วมยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจเชิดผู้ใดเป็นตัวแทนได้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองฉบับ จำเลย สามีจำเลยและบุตรรู้เห็นการทำสัญญาทั้งสองฉบับวัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือการโอนที่ดินพิพาทในราคาและกำหนดเวลาเดียวกัน ทั้งเมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้ว ได้มีการเปิดทางให้ตามที่มีข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนานถึง 2 ปีเศษ แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจำเลยร่วมเป็นผู้ซื้อมิใช่จำเลย และไม่มีข้อตกลงเปิดทางก็ตาม โดยพฤติการณ์ย่อมแสดงว่าจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยร่วม และเท่ากับเป็นการตกลงโดยปริยายของจำเลยร่วมยอมรับและถือเอาข้อตกลงเรื่องเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมด้วย ข้อตกลงเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิ ถ้าไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 แต่ก็เป็นอันใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาซึ่งรวมทั้งโจทก์กับจำเลยร่วมด้วยในฐานะบุคคลสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, ตัวแทนเชิด, ข้อตกลงเปิดทาง, ภาระจำยอม, สิทธิระหว่างคู่สัญญา
หลังจากโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียง7 วัน จำเลย สามีจำเลย และบุตรร่วมกันตั้งบริษัทจำเลยร่วม โดยจำเลยสามีจำเลย และบุตรเป็นกรรมการบริษัท ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 821เพราะขณะนั้นจำเลยร่วมยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ไม่อาจเชิดผู้ใดเป็นตัวแทนได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองฉบับ จำเลย สามีจำเลยและบุตรรู้เห็นการทำสัญญาทั้งสองฉบับ วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน คือการโอนที่ดินพิพาทในราคาและกำหนดเวลาเดียวกัน ทั้งเมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้ว ได้มีการเปิดทางให้ตามที่มีข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนานถึง 2 ปีเศษ แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจำเลยร่วมเป็นผู้ซื้อมิใช่จำเลย และไม่มีข้อตกลงเปิดทางก็ตาม โดยพฤติการณ์ย่อมแสดงว่าจำเลยทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยร่วม และเท่ากับเป็นการตกลงโดยปริยายของจำเลยร่วมยอมรับและถือเอาข้อตกลงเรื่องเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมด้วย
ข้อตกลงเปิดทางตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท มีลักษณะคล้ายภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิ ถ้าไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 แต่ก็เป็นอันใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาซึ่งรวมทั้งโจทก์กับจำเลยร่วมด้วยในฐานะบุคคลสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า ขวาน-ค้อนขนาดเล็ก บาดแผลหายได้ ไม่เป็นอันตรายฉกรรจ์
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็ก เฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตรลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วัน ไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง
โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ แต่เจตนาไม่ถึงฆ่า ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็กเฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกระโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วันไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
of 24