คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์หลังทำสัญญาและการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้เงินในขณะทำสัญญาหรือขณะยื่นคำฟ้องไม่ เมื่อสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน และขีดฆ่าแล้วก่อนโจทก์ส่งสัญญาดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานโจทก์ ย่อมรับฟังสัญญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยลงชื่อในเอกสารสัญญากู้เงิน โดยสำคัญผิดและได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวแล้วนิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นโมฆะนั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่าจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยชอบ การที่จำเลยอ้างว่าลงชื่อในเอกสารโดยสำคัญผิดจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว อันนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าเอกสารสัญญากู้เงินที่จำเลยบอกล้างแล้วจะนำมาใช้บังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามเอกสารดังกล่าวได้หรือไม่ เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ชั้นฎีกาของจำเลยไม่เกินสองแสนบาท จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดในละเมิด: จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างที่ก่อละเมิด
จำเลยที่ 3 มีรถสำหรับท่องเที่ยวเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าขณะที่ ส. ผู้แทนโจทก์และคณะทำสัญญาเช่ารถ จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบว่ารถมีไม่พอให้เช่า จึงต้องเช่ารถจากจำเลยที่ 2 เพื่อบริการแก่คณะของโจทก์แทน และจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่ารถจัดให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถพาคณะของโจทก์ไปยังจุดหมายตามข้อตกลง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมบริการกับจำเลยที่ 3โดยรับผลประโยชน์ร่วมกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันทางละเมิด: การเช่าช่วงรถและขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 3 มีรถสำหรับท่องเที่ยวเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าขณะที่ ส.ผู้แทนโจทก์และคณะทำสัญญาเช่ารถ จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบว่ารถมีไม่พอให้เช่า จึงต้องเช่ารถจากจำเลยที่ 2 เพื่อบริการแก่คณะของโจทก์แทน และจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่ารถจัดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถพาคณะของโจทก์ไปยังจุดหมายตามข้อตกลง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมบริการกับจำเลยที่ 3 โดยรับผลประโยชน์ร่วมกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์ที่ถูกบังคับคดีโดยวิธีปลอดจำนอง แม้ผู้ร้องและโจทก์เป็นคนเดียวกัน
ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกับโจทก์ในคดีนี้ยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ถูกบังคับคดีขายทอดตลาดโดยวิธีปลอดจำนองไปแล้วในคดีนี้ จึงขอให้ศาลกันส่วนหนี้จำนองของผู้ร้องจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวดังนี้ บุริมสิทธิของผู้ร้องเป็นบุริมสิทธิที่จะบังคับ และได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เพียงไม่เกินวงเงินจำนองผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์จำนองโดยขอกันส่วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องโดยยังไม่ได้ไต่สวนว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และมีสิทธิขอรับชำระหนี้เพียงใด โดยให้เหตุผลว่า การขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 จะต้องยื่นก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์ ผู้ร้องยื่นคำร้องภายหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ไปแล้ว ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนอง จึงไม่ชอบ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องของผู้ร้องต่อไปแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่นาคืนของผู้เช่า: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ก่อนฟ้องร้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เช่านาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาจากผู้ให้เช่าโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2528 มาตรา 53 และมาตรา 54 โจทก์จำต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 54 มาตรา 56 และมาตรา 57กล่าวคือโจทก์ต้องร้องขอต่อ คชก. ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยขายที่นาแก่โจทก์เสียก่อนตามมาตรา 54 วรรคสอง เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยประการใด โจทก์ไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก. จังหวัดภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย มิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นถึงที่สุดตามมาตรา 56 หาก คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว โจทก์ยังไม่พอใจโจทก์จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้ตามมาตรา 57 การที่โจทก์ขอซื้อที่นาจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยทันทีโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากความประมาท ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีต-ประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบท-กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่ บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้า มรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อน จึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์-อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากคลื่นลมแรง มิใช่เหตุสุดวิสัย หากการผูกรัดไม่มั่นคง
จำเลยผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลบรรทุกสินค้าไม่รัดกุมพอ ใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ อีกทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง หากจะหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้แต่ยังเดินเรือต่อไป เมื่อมีคลื่นลมแรงจัดซัดน้ำทะเลเข้าหาตัวเรือและดาดฟ้าเรือกระแทกตู้คอนเทนเนอร์จนลวดสลิงและโซ่ที่ใช้ผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกสินค้าของโจทก์อาจจะยืดหรือขาดทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกลงไปในทะเล กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้นที่จองซื้อแล้วไม่ชำระเงิน และสิทธิของบริษัทในการเรียกค่าหุ้นส่วนที่ขาด
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วยหรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม. ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม. หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบหุ้นและฟ้องชำระหนี้ส่วนที่ขาด แม้การขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าหนี้
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 24