พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบหุ้นและฟ้องชำระหนี้ส่วนที่ขาด แม้การขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าหนี้
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและการเวนคืน: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้เวนคืนได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 18 (1) บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพื่มจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน
แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย หาใช่ทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่เมื่อก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษานั้น ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กรณีจึงมีเหตุรอนสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ และตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่บุคคลดังต่อไปนี้(1) เจ้าของทรัพย์ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน ฯลฯ โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญา ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ประเด็นนั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษให้เพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหาดังกล่าวจึงจะถึงที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย ถือเป็นการไม่ชอบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลดโทษแก่จำเลย โดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ก็ต้องวินิจฉัยดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยประเด็นความผิด หากจำเลยอุทธรณ์ขอลดโทษ แม้ไม่โต้แย้งความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษให้เพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหาดังกล่าวจึงจะถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญา ศาลพิจารณาตามรูปคดี
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวถึงคำขอบังคับไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนศาลจะบังคับให้จำเลยทั้งสามต้องปฏิบัติตามคำขอบังคับของโจทก์หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาลตามรูปคดี ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินในเครือบริษัทและการนำผลขาดทุนสะสมมาหักลดหย่อนภาษี
โจทก์เป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ได้โอนขายที่ดินให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ตามมติของคณะกรรมการโจทก์และคณะกรรมการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด พร้อมทั้งได้โอนสิทธิเรียกร้องกับหนี้สิน และโอนพนักงานของโจทก์ไปให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดด้วย โดยโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการ-ลงทุน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการโอนทรัพย์สินในระหว่างบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย จำกัด ด้วยกัน แม้จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันแต่ก็มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการโอนอันมีเหตุสมควรเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอน
รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2521 โจทก์ปรับปรุงโครงสร้างของการประกอบกิจการของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการด้านการค้าต่างประเทศจึงโอนกิจการด้านการตลาดภายในประเทศ ทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งพนักงานของโจทก์ให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี-เงินได้ของโจทก์ ได้ระบุยอดขาดทุนสุทธิไว้ 10 ล้านบาทเศษ เมื่อโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิสะสมสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ.2521 และมียอดยกมาในปีพ.ศ.2522 จำนวน 10 ล้านบาทเศษจริง โจทก์จึงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิจำนวนนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพ.ศ.2522 ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (10)
รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2521 โจทก์ปรับปรุงโครงสร้างของการประกอบกิจการของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการด้านการค้าต่างประเทศจึงโอนกิจการด้านการตลาดภายในประเทศ ทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งพนักงานของโจทก์ให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี-เงินได้ของโจทก์ ได้ระบุยอดขาดทุนสุทธิไว้ 10 ล้านบาทเศษ เมื่อโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิสะสมสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ.2521 และมียอดยกมาในปีพ.ศ.2522 จำนวน 10 ล้านบาทเศษจริง โจทก์จึงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิจำนวนนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพ.ศ.2522 ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินระหว่างบริษัทในเครือเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจและการนำผลขาดทุนสะสมมาหักลดหย่อนภาษี
โจทก์เป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ได้โอนขายที่ดินให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ตามมติของคณะกรรมการโจทก์และคณะกรรมการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดพร้อมทั้งได้โอนสิทธิเรียกร้องกับหนี้สิน และโอนพนักงานของโจทก์ไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ด้วย โดยโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการโอนทรัพย์สินในระหว่างบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยจำกัด ด้วยกัน แม้จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันแต่ก็มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่ การโอนที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการโอนอันมีเหตุสมควรเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่มีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาต*ลาดในวันที่โอน รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2521 โจทก์ปรับปรุงโครงสร้างของการประเมินกิจการของโจทก์เพื่อดำเนินกิจการด้านการค้าต่างประเทศจึงโอนกิจการด้านการตลาดภายในประเทศ ทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งพนักงานของโจทก์ให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ ได้ระบุยอดขาดทุนสุทธิไว้ 10 ล้านบาทเศษ เมื่อโจทก์มีผลขาดทุนสุทธิสะสมสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2521 และมียอดยกมาในปี พ.ศ. 2522จำนวน 10 ล้านบาทเศษจริง โจทก์จึงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิจำนวนนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2522 ได้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินระหว่างบริษัทในเครือด้วยราคาต่ำกว่าตลาด มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาตามตลาด
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทบริษัทการค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยปีแรกโจทก์จะต้องส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท ปีที่สองไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ปีที่สามกับปีต่อ ๆ ไปต้องไม่น้อยกว่า500 ล้านบาท การที่โจทก์จำเป็นต้องโอนกิจการด้านการตลาดภายในประเทศพนักงานของโจทก์อีกกว่า 700 คน รวมทั้งสินทรัพย์และหนี้สินจำนวน300 ล้านบาทเศษ ไปให้บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ก็เพื่อไปทำกิจการด้านการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศให้ได้ตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และแม้โจทก์กับบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน แต่ก็มีส่วนได้เสียผูกพันกันอยู่ เนื่องจากเป็นบริษัทในเครือซีเมนต์ไทยเดียวกันโดยบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ในขณะนั้นเกือบร้อยละ 70 ของหุ้นจดทะเบียนทั้งสิ้น 120,000,000 บาทดังนั้นที่โจทก์โอนขายที่ดินให้แก่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดในราคาตามบัญชีซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด จึงเป็นการโอนโดยมีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินย่อมไม่มีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอน