พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีสินค้าที่ถูกทำลายจากอุบัติเหตุและการใช้ดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรเมื่อโจทก์ฟ้องเอง
กรณีที่สินค้าที่นำเข้าถูกเพลิงไหม้ เป็นการถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ขณะอยู่บนเรือ เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะสั่งยกเว้นภาษีได้ แต่เมื่อกรมศุลกากรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยผู้ซึ่งมีสิทธิที่จะร้องขอให้ยกเว้นภาษีเสียเองแล้ว ย่อมถือได้โดยปริยายว่า อธิบดีกรมศุลกากรได้ใช้ดุลพินิจไม่ยกเว้นค่าภาษีให้แก่จำเลย ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 95
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้นำของเข้าควรได้รับยกเว้นภาษีที่จะต้องเสีย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5),246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้นำของเข้าควรได้รับยกเว้นภาษีที่จะต้องเสีย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5),246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นค่าภาษีสินค้าที่เสียหายจากอุบัติเหตุทางเรือ ศาลมีอำนาจพิพากษายกเว้นได้ แม้เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากร
สินค้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอาจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียหรือคืนค่าภาษีที่ได้เสียแล้วสำหรับของนั้นได้ตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 95 แต่ในกรณีกรมศุลกากรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยย่อมถือได้โดยปริยายแล้วว่า อธิบดีกรมศุลกากรได้ใช้ดุลพินิจไม่ยกเว้นค่าภาษีให้แก่จำเลยตามมาตรา 95 ดังกล่าวแล้ว กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 95 ที่ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ยกเว้นค่าภาษีแก่จำเลยได้ แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สินค้าพิพาทถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ผู้นำเข้าควรได้รับการยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียแล้วพิพากษายกฟ้องเพื่อให้อธิบดีกรมศุลกากรใช้ดุลพินิจยกเว้นค่าภาษีที่จะต้องเสียให้แก่จำเลยหรือไม่ต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความ: ผู้ร้องยินยอมให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยทนายความที่แต่งตั้งโดยชอบ เมื่อไม่โต้แย้งในชั้นต้น จะมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์/ฎีกาไม่ได้
ทนายผู้คัดค้านยื่นใบแต่งทนายความลงชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้แต่งทนายพร้อมกับยื่นคำคัดค้านไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องได้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่ได้ลงลายมือชื่อแต่งตั้งทนายความโดยชอบและขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนแต่อย่างไร แต่กลับยินยอมให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณามาโดยตลอดจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี ผู้ร้องจึงยกขึ้นคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: พฤติกรรมสามีไม่ถึงขั้นประพฤติชั่วเป็นเหตุหย่า แม้มีพฤติกรรมหึงหวง ควบคุม และทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยสืบทราบว่าโจทก์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหญิงอื่นจึงเสพสุรา สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาท และติดตามควบคุมโจทก์ในวิทยาลัยที่โจทก์ทำงานอยู่นั้น แม้พฤติการณ์ของจำเลยจะก่อให้โจทก์เกิดความเบื่อหน่ายอับอายในหมู่เพื่อนอาจารย์และนักศึกษา แต่ก็เกิดจากความรักหึงหวงหวาดระแวงของจำเลยตามวิสัยสตรีเพศที่เป็นภริยาซึ่งอาจปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นได้ถ้าโจทก์ไม่แสดงความรำคาญใจและฝักใฝ่ในสตรีอื่นให้ปรากฏ ทั้งจำเลยเองก็ไม่สมัครใจหย่าตัดความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงยังไม่ถึงขั้นประพฤติชั่วที่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงหรือได้รับความดูถูกเกลียดชังเดือดร้อนเกินควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินโดยมีเงื่อนไขอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถือเป็นการให้มีค่าตอบแทน
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินเฉพาะส่วน ข้อ 4 จะมีข้อความระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน แต่ในข้อ 6 ยังมีข้อความระบุไว้อีกต่างหากว่า จำเลยที่ 2 ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเกิดแต่จำเลยที่ 1 อีก 3 คนด้วย ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรในระหว่างบุตรยังเป็นผู้เยาว์ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คน แทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดชอบด้วย อีกนัยหนึ่งก็คือจำเลยที่ 1 ใช้มูลค่าของที่ดินพิพาทส่วนของตนมอบแก่จำเลยที่ 2 ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำ จึงถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนทางอ้อม (อุปการะเลี้ยงดูบุตร) ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา ทำให้ไม่อาจเพิกถอนการโอนได้
แม้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินจะมีข้อความระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน แต่ยังมีข้อความระบุไว้อีกว่าจำเลยที่ 2ผู้รับให้ต้องรับอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ของจำเลยทั้งสองอีก 3 คนด้วย ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่า เป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้ง 3 คนแทนจำเลยที่ 1 ในส่วนที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบด้วย ถือได้ว่าการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทน จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทนก่อนที่จำเลยที่ 1 จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาต่อโจทก์ โดยที่จำเลยที่ 2มิได้รู้ถึงหนี้ดังกล่าวมาก่อน จำเลยที่ 2 จึงมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของภริยา: ไม่จำกัดเฉพาะคดีสินสมรส การวินิจฉัยหนี้เป็นสินสมรสเกินคำให้การ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี หญิงมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะแต่การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสคงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหอเป็นสินสอด: สิทธิในทรัพย์สินจากการแต่งงานและการบังคับคดี
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหอเป็นสินสอด: การบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เป็นสินสอดต้องตกเป็นของผู้ร้อง
มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรสาวของผู้ร้องให้แต่งงานกับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกทองคำและเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนบิดามารดาฝ่ายหญิงที่ให้บุตรสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องขอให้ปล่อยเรือนหอที่โจทก์ยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหอเป็นสินส่วนแบ่งหลังการแต่งงาน: สิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้