คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437 หากไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมรถขณะเกิดเหตุ
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437เป็นกรณีที่เกี่ยวกับผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์ไปเกิดเหตุโดยตรงซึ่งจะต้องรับผิดต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล จำเลยไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์ขณะเกิดเหตุ เป็นแต่เพียงมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนเท่านั้น ทั้งเป็นกรณีที่ยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลชนกัน จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องช่วงและดอกเบี้ยจากการชำระค่าสินไหมทดแทน: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์จ่ายเงินแทน ป. ผู้เอาประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าวจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าเวนคืนต้องระบุจำนวนเงินที่ควรได้รับและขอให้บังคับชำระเพิ่ม มิฉะนั้นฟ้องขาดสาระสำคัญ
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา26 วรรคหนึ่ง นั้น เพื่อให้ศาลบังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนให้ชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องว่า ค่าทดแทนที่ควรจะได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินค่าทดแทนที่เห็นว่าตนพึงได้รับมีเท่าใดและคำขอท้ายฟ้องก็เพียงขอให้บังคับจำเลยดำเนินการตามกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง คำฟ้องจึงขาดสาระสำคัญตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาให้จำเลยรับผิดได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเวนคืนต้องระบุจำนวนค่าทดแทนที่ชัดเจนและขอให้บังคับชำระ หากไม่บรรยายฟ้องครบถ้วน ศาลไม่รับฟ้อง
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 26วรรคหนึ่ง นั้น เพื่อให้ศาลบังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืน หรือควบคุมการเวนคืนให้ชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องว่า ค่าทดแทนที่ควรจะได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินค่าทดแทนที่เห็นว่าตนพึงได้รับมีเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องก็เพียงขอให้บังคับจำเลยดำเนินการตามกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง คำฟ้องจึงขาดสาระสำคัญตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาให้จำเลยรับผิดได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ ต้องระบุจำนวนค่าทดแทนที่ต้องการ และขอให้บังคับชำระเพิ่ม
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคแรก โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่าค่าทดแทนที่ตนควรได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัย เมื่อคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายถึงจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เห็นว่าตนเองพึงได้รับแต่ประการใดไม่ ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็เพียงแต่ขอให้จำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามบทกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญของการฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่มีทางที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดได้ และแม้โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยว่าการที่จำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่ถูกต้องเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุดังกล่าว ศาลจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การลดค่าปรับ, สิทธิริบผลงาน, สัญญาจ้างเหมา
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์ จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ตาม สัญญา จ้าง เหมา มี สาระ สำคัญ ว่า ถ้า จำเลย ทำ ผิด สัญญา ข้อหนึ่ง ข้อใด โจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา นี้ ได้ และ มี อำนาจจ้าง ผู้อื่น ทำงาน ต่อ จาก จำเลย ได้ ด้วย โดย จำเลย ยอม จ่าย เงินค่าจ้าง และ ค่าใช้จ่าย อื่นใด ตาม จำนวน ที่ โจทก์ ต้อง เสีย ไปโดย สิ้นเชิง และ ถ้า ผู้ว่าจ้าง บอกเลิก สัญญา แล้ว ผู้รับจ้าง ยอม ให้ เรียก ค่าเสียหาย อัน พึง มี ได้ อีก ด้วย ดังนั้น แม้ ยัง ไม่ ปรากฏ ว่า ผู้รับจ้าง ราย ใหม่ หลังจาก โจทก์ บอกเลิก สัญญา ได้ ทำการ ก่อสร้าง งาน ตาม สัญญา ต่อ จาก จำเลย จน งาน แล้ว เสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ ตาม ข้อความ ใน สัญญา จ้างเหมา นั้นเอง เห็นเจตนารมณ์ ได้ ว่า ถ้า หาก จำเลย ผิดสัญญา โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ที่จะ จ้าง บุคคลอื่น ทำการ ก่อสร้าง งาน แทน จำเลย โดย จำเลย ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย และ โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ ต้องเสีย ค่าจ้าง แพง กว่า เดิม โดย มิพัก ต้อง รอ ให้งาน ก่อสร้าง ที่กระทำ ภายหลัง ต้อง สำเร็จ เสียก่อน เพราะ เป็น ที่ เห็น ได้ชัดว่า เป็น ความเสียหาย อันเกิด จากการ ผิดสัญญา ของ จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาจ้างเหมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้ แม้รวมสิทธิริบผลงาน
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ตามสัญญาจ้างเหมามีสาระสำคัญว่า ถ้าจำเลยทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำงานต่อจากจำเลยได้ด้วย โดยจำเลยยอมจ่ายเงินค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่นใดตามจำนวนที่โจทก์ต้องเสียไปโดยสิ้นเชิง และถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้เรียกค่าเสียหายอันพึงมีได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ยังไม่ปรากฏว่าผู้รับจ้างรายใหม่หลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทำการก่อสร้างงานตามสัญญาต่อจากจำเลยจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ตามข้อความในสัญญาจ้างเหมานั้นเองเห็นเจตนารมณ์ได้ว่าถ้าหากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างงานแทนจำเลย โดยจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ต้องเสียค่าจ้างแพงกว่าเดิม โดยมิพักต้องรอให้งานก่อสร้างที่กระทำภายหลังต้องสำเร็จเสียก่อน เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็น หากไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้หาได้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็นฟ้อง: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้หากกระทบความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยเรื่องสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็นข้อพิพาท และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
ปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนถึงแม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
of 24