พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายต่อเนื่องและการร่วมกันทำร้ายผู้อื่น ศาลฎีกาพิจารณาพฤติการณ์ปัจจุบันทันด่วนและการสมคบคิด
พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนต่อเนื่องจากการที่ผู้ตายใช้ศอกกระแทกหน้าอกจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยชกต่อยผู้ตาย 1 ทีแล้ววิ่งหนีจากนั้น ส. จึงเข้าซ้ำเติมใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย ซึ่งจำเลยและ ส. ต่างคนต่างทำร้ายผู้ตายโดยมิได้สมคบกันมาก่อน ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับ ส. ฆ่าผู้ตายคงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยชกผู้ตาย 1 ที จำเลยจึงต้องมีความผิดแต่เฉพาะการกระทำของตนเองฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์และการประเมินราคาในคดีบังคับคดี การปิดประกาศยึดทรัพย์และการประเมินราคาที่โปร่งใสถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
หลักปฏิบัติในการบังคับคดีตามที่ ป.วิ.พ.บัญญัติไว้เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ มิได้มีข้อกำหนดว่าการยึดทรัพย์จะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าของทรัพย์และหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทแล้วก็ปิดประกาศการยึดไว้ ณ ที่ยึดซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยทราบถึงการยึดทรัพย์โดยชอบแล้ว การยึดทรัพย์พิพาทย่อมชอบด้วยกฎหมาย
การประเมินราคาทรัพย์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินโดยอาศัยหลักเกณฑ์เทียบเคียงกับราคาประเมินของกรมที่ดินและยังจัดให้สำนักงานวางทรัพย์กลางทำการประเมินอีกครั้งหนึ่งก็ได้ราคาใกล้เคียงกัน ราคาทรัพย์ที่พนักงานบังคับคดีประเมินไว้จึงมิได้เกิดจากการสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำลง ประกอบกับในการขายทอดตลาดก็ไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลทรัพย์พิพาทมีการสมคบกันกดราคาลง การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย
การประเมินราคาทรัพย์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินโดยอาศัยหลักเกณฑ์เทียบเคียงกับราคาประเมินของกรมที่ดินและยังจัดให้สำนักงานวางทรัพย์กลางทำการประเมินอีกครั้งหนึ่งก็ได้ราคาใกล้เคียงกัน ราคาทรัพย์ที่พนักงานบังคับคดีประเมินไว้จึงมิได้เกิดจากการสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำลง ประกอบกับในการขายทอดตลาดก็ไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลทรัพย์พิพาทมีการสมคบกันกดราคาลง การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การยึดทรัพย์และการประเมินราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย การขายทอดตลาดที่โปร่งใส
หลักปฏิบัติในการบังคับคดีตามที่ ป.วิ.พ. บัญญัติไว้เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ มิได้มีข้อกำหนดว่าการยึดทรัพย์จะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าของทรัพย์และหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทแล้วก็ปิดประกาศการยึดไว้ ณ ที่ยึดซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยทราบถึงการยึดทรัพย์โดยชอบแล้ว การยึดทรัพย์พิพาทย่อมชอบด้วยกฎหมาย การประเมินราคาทรัพย์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินโดยอาศัยหลักเกณฑ์เทียบเคียงกับราคาประเมินของกรมที่ดินและยังจัดให้สำนักงานวางทรัพย์กลางทำการประเมินอีกครั้งหนึ่งก็ได้ราคาใกล้เคียงกัน ราคาทรัพย์ที่พนักงานบังคับคดีประเมินไว้จึงมิได้เกิดจากการสมคบกับโจทก์กดราคาให้ต่ำลง ประกอบกับในการขายทอดตลาดก็ไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลทรัพย์พิพาทมีการสมคบกันกดราคาลง การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์และการพิจารณาเลื่อนคดีเนื่องจากความป่วยไข้ของคู่ความ
ศาลชั้นต้นเพียงแต่ส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยทราบมิได้กำหนดให้จำเลยแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามกฎหมายด้วยเป็นการที่ศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ แต่เมื่อระยะเวลาล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว การที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์ขอเลื่อนอ้างว่าป่วยการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ยังมีพยานปากอื่นที่สามารถนำมาเบิกความไปพลางก่อนได้และทนายโจทก์ก็ไม่มาศาลในวันนั้น ส่อให้เห็นว่าโจทก์เจตนาประวิงคดีนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพยานปากอื่นของโจทก์และทนายโจทก์มาหรือไม่มาศาลนั้นหาใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาสมควรให้เลื่อนคดีเพราะคู่ความอ้างเหตุป่วยเจ็บไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบนั้นเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์: ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสอง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง จำเลยต้องได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาความผิด
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4 เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสองสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตามข้อตกลงหย่าขาดจากกันโดยความยินยอม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ (1) ว่าโจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้หรือไม่ โดยมิได้ระบุเจาะจงว่าเหตุฟ้องหย่าดังกล่าวคือเหตุตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516เมื่อการฟ้องคดีเพื่อหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากเหตุตามมาตรา 1516 แล้วยังมีกรณีตามมาตรา 1515 อีกด้วย ฉะนั้นเมื่อมีการหย่าโดยความยินยอมแล้วแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยความยินยอมดังกล่าวย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามนัยมาตรา 1515 อีกฝ่ายหนึ่งจึงมีเหตุฟ้องให้ศาลพิพากษาให้มีผลเป็นการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามหนังสือยินยอมได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยทำบันทึกด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าพยาน 2 คน นอกเหนือไปจากเหตุตามมาตรา 1516 ดังนั้น การที่ศาลยกเอาบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานการหย่าโดยความยินยอมแล้วพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สิทธิฟ้องร้องที่ระงับสิ้นไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีตามมาตรา 1529คือ สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516(1)(2)(3) หรือ (6)หรือมาตรา 1523 เป็นคนละกรณีกับการฟ้องขอให้จดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมตามมาตรา 1514 วรรคสองและมาตรา 1515 ซึ่งมีอายุความฟ้องร้องภายในสิบปีนับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกตกลงการหย่าฉะนั้นเมื่อนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกินสิบปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับตามข้อตกลงหย่าขาดจากกัน โดยอาศัยความยินยอมและบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
การฟ้องหย่า นอกจากมีเหตุฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516แล้ว ยังมีกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 ดังนั้นถ้ามีการหย่าโดยความยินยอมแล้ว แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไปจดทะเบียนหย่า การหย่าโดยความยินยอมยังไม่สมบูรณ์ อีกฝ่ายหนึ่งจึงฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาให้มีผลเป็นการหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามหนังสือยินยอมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยทำบันทึกด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกัน ต่อหน้าพยาน 2 คน โจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่าตามบันทึกที่ตกลงกัน จำเลยบ่ายเบี่ยงและคำขอท้ายฟ้องระบุว่าขอให้จำเลยจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่าก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกเอาบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมาวินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานการหย่าโดยความยินยอม โจทก์จึงฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนได้ และพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับโจทก์นั้น จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ข้อความในบันทึกข้อตกลงการหย่า นอกจากมีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินและการดูแลบุตร ยังมีข้อความระบุว่า "ผู้เป็นภรรยาพอใจไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากสิ่งที่ได้ตกลงกันมาแล้ว เพื่อเป็นหลักฐานการหย่าร้างครั้งนี้จึงให้มีพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" ซึ่งมีข้อความระบุถึงการหย่าไว้แล้ว เมื่อมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน จึงครบถ้วนเป็นข้อตกลงหย่าด้วยความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514วรรคสอง แล้ว สิทธิฟ้องร้องที่ระบุไว้ในมาตรา 1529 คือสิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1)(2)(3)หรือ (6) หรือมาตรา 1523 เป็นคนละกรณีกับการฟ้องขอให้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 วรรคสอง มาตรา 1515ซึ่งมีอายุความฟ้องร้องภายในสิบปี นับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายทำบันทึกข้อตกลงการหย่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอาญา: ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และการคำนวณอายุความในคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่15 สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกันจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ