คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับฟังข้อเท็จจริงเรื่องยักยอกเงิน, อายุความไม่ขาด, และไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุน ส่วนโจทก์มี อ.และ ส. เบิกความเกี่ยวกับสินค้าของจำเลยถูกต้องตรงกันว่าสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เศษผ้าต้องชำระอากรในประเภทพิกัด60.01 พยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยโดยปราศจากความจริง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่าพยานจำเลย การกระทำของตัวแทนที่กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดจะอ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินของผู้เยาว์โดยได้รับอนุญาตจากศาล และผลผูกพันต่อผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีวัตถุประสงค์ค้าผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยมีจำเลยที่ 2 และนาง อ. บิดามารดาของจำเลยที่ 3เป็นหุ้นส่วนเพียงสองคน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในขณะนั้นทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3บุตรผู้เยาว์ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่กู้จากโจทก์เพื่อนำเงินไปลงทุนสร้างปั๊มน้ำมัน ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 3 โดยชอบย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินดังกล่าวนาง อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะได้ลงนามร่วมกับจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ได้ก็ตาม แต่นาง อ. ก็ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่ นาง อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาล การกระทำของนาง อ. ดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลผูกพันต่อบุตรผู้เยาว์หลังบรรลุนิติภาวะ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3ผู้เยาว์ได้จำเลยที่ 3 เบิกความในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 จะสร้างปั๊มน้ำมันจึงจำต้องจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3เพื่อหาเงินมาลงทุน เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินดังกล่าวไปประกันเงินที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 กู้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังเข้าทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้หรือเบิกเงินเกินบัญชี และทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นครั้งที่ 2ต่อโจทก์ เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อีก แสดงว่าจำเลยที่ 3รู้ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 และ อ.บิดามารดาของจำเลยที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจโดยตรง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 แม้ อ. มารดาจำเลยที่ 3 จะร่วมลงชื่อกับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เป็นผู้จำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 แทนจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตามแต่ อ. ก็เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายของจำเลยที่ 3 ด้วยคนหนึ่ง ทั้งสัญญาที่อ. ร่วมลงนามก็ไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากคำสั่งอนุญาตของศาลการกระทำของ อ. ไม่ทำให้นิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 3 ต้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับ: ข้อจำกัดในการเลือกใช้สิทธิ
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือ ในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลิกสัญญาซื้อขายและการเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับหรือค่าชดใช้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามสัญญา
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นและการพักการโอนหุ้น: การฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องอาศัยสถานะผู้ถือหุ้นที่ถูกต้อง
ในวันประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 จำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม โดยจำเลยปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อจะเรียกประชุมวิสามัย* โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ การประชุมวิสามัญครั้งที่ 3/2529 เป็นเพียงการลงมติรับรองมติของที่ประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 เป็นมติพิเศษ ซึ่งโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่ามีการนัดเรียกหรือประชุมหรือลงมติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอย่างไร โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นเรื่องที่ได้พิจารณากันในการประชุมครั้งก่อนมาขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ไม่ได้ การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้ และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยมีมติให้ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้แทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่าผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้นโดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยรถยนต์ ต้องระบุความสัมพันธ์ผู้ขับขี่-ผู้เอาประกัน เพื่อให้จำเลยรับผิด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาที่คู่ความฎีกาข้อหนึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่คดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เหลือต่อไปได้ โดยหาต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดไม่ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้มีฐานะและนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อต้องร่วมรับผิดในศาลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วยจึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นฟ้องเคลือบคลุม
of 24