พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการยื่นคำร้องในชั้นศาล
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืนช. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดี - ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืน ช.จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงต่ออายุอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานจริง
แม้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบกำหนด12 เดือนแล้วไม่มีการต่ออายุสัญญากันใหม่ให้ถือว่าต่อสัญญากันอีกคราวละ 6 เดือนก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนด 12 เดือนแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีหรือโจทก์ยินยอมให้เบิกได้ คงมีแต่รายการโจทก์นำยอดดอกเบี้ยเข้าทบต้นเดือนละครั้ง จำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินเข้าฝากในบัญชีเลย จึงถือได้ว่าคู่กรณีได้ตกลงเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยปริยายตั้งแต่วันครบกำหนดตามสัญญาและโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันดังกล่าวแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจลดจำนวนได้ตามความเหมาะสม
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลมีอำนาจลดได้ตามความเหมาะสมแห่งกรณี
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน ม.31: การโอนที่ดินภายใต้เงื่อนไขห้ามโอน และข้อยกเว้น
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็นการเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะการตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้องบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของโจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนที่ดินตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน: การโอนหลังบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
การใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497มาตรา 31 วรรคหนึ่ง จะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิโอนที่ดินตามมาตรา 31 แม้บอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว ก็ยังต้องติดเงื่อนไขห้ามโอน
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลย เป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายและโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรมแต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสองว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็น การเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะ การตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้อง บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดิน ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้น มิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจ โอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึง ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็น ชื่อของโจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน แม้มีคณะกรรมการอื่นเข้ามาดูแล
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน อันเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายจากอุทกภัย แล้วให้ทำเรื่องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบการจ่ายเงิน แม้ต่อมาทางราชการได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายโดยไม่มีจำเลยเป็นกรรมการด้วยก็ตาม แต่คำสั่งในภายหลังก็ไม่มีการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามที่นายอำเภอมีคำสั่ง จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล-กฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานกับการข่มขืนใจผู้อื่นเพื่อเอาทรัพย์: การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านยังคงมีผลแม้มีคณะกรรมการอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ทั้งได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา แม้ต่อมาทางราชการจะได้ตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยขึ้นมาอีกคณะหนึ่งก็ไม่เป็นการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามคำสั่งของนายอำเภอ