พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไร และหน้าที่เสียภาษี
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไรอันเข้าลักษณะประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ และให้ปลดภาษีการค้าแก่โจทก์ แต่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ศาลจำต้องถือตาม
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาท จำนวน 3 โฉนด เป็นเงิน 7,000,000 บาทจาก ส. ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2528 โจทก์ได้ จ่ายเงินเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นค่าถมที่ดินและค่าจ้างเหมารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ปรับ ขุด ถอน และขนต้นไม้ไปทิ้ง เป็นเงิน 3,400,000 บาท เห็นได้ชัดว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วปรับปรุงไว้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ถือครองเพียง 3 ปีเศษ แล้วขายไปเป็นเงิน 16,340,000 บาท พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวรวมกับเงินได้อื่นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 48 (4)
โจทก์มีพฤติการณ์เป็นผู้ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีและการที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าที่ให้ปลดภาษีการค้าไปแล้ว นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือ ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด
กรณีเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และ จะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าแช่แข็งใช้ไนโตรเจนเหลว จัดเป็นเครื่องทำความเย็น มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัท ผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "FreezingTunnel" หรือ"FoodFreezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "BeltConveyor" แปลว่าเครื่องสายพาน ลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาทเป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพาน ลำเลียงเท่านั้นและลูกค้าทุกรายที่ซื้อสินค้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ถนอมอาหารโดยวิธีแช่แข็ง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมศุลกากรได้มีวินิจฉัยว่าสินค้าดังกล่าวอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 แสดงให้เห็นว่าสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพาน และระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็นสินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพาน ลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้นและถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็น ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ ก็ตาม แต่ก็สามารถ ทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้ง และต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่อง แล้วนำสินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาท จึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนอันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า: เครื่องแช่แข็งอาหาร (Freezing Tunnel) มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "Freezing Tunnel" หรือ "Food Freezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Belt Conveyor" แปลว่า เครื่องสายพานลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาท เป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพานลำเลียงเท่านั้น และสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพานและระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็น สินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพานลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้น และถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะ ไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ก็ตาม แต่ก็สามารถทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้งและต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่องแล้วนำ สินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาทจึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆ ซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน อันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 มิใช่เป็นเครื่องลำเลียงอาหารสด ประเภทพิกัด 8428.33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุน ไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่องด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า
++ โจทก์ได้ยืมเงินจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อที่ดินให้เช่า หลังจากบริษัทเอสโซ่เช่าที่ดินจากโจทก์แล้ว โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวให้บริษัทเอสโซ่และได้นำดอกเบี้ยนั้นไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็นเงิน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาท และ3,150,823 บาท ตามลำดับ บริษัทเอสโซ่หักเงินของโจทก์ไว้เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากค่าเช่าซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์และได้นำส่งชำระให้จำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำนวน 340,299.05 บาท 4,042,032.83 บาทและ 9,269,739.75 บาท ตามลำดับ
++ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีดังกล่าวจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 วันที่ 1 กรกฎาคม2536 และวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามลำดับ
++ ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน2535 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จำนวน340,299.05 บาท และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้แก่โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จำนวน 4,042,032.83 บาท
++ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2538 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งคืนเงินสองจำนวนดังกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับภาษีคืนตามที่ยื่นคำร้องไว้โจทก์จึงคืนเงินสองจำนวนนั้นให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538
++ ส่วนภาษีซึ่งโจทก์ขอคืนในรอบระยะเวลาบัญชี 2536จำเลยออกหนังสือลงวันที่ 11 มกราคม 2539 แจ้งไม่คืนให้โจทก์ และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาทและ 3,150,823 บาท ตามลำดับ แต่โจทก์มีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วเป็นจำนวน 9,124,865.14 บาท 125,744,644.20 บาทและ 175,127,124 บาท ตามลำดับ คิดเป็นค่าภาษีจำนวน 3,193,702.80บาท 37,723,393.26 บาท และ 52,538,137.20 บาท ตามลำดับโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 482,049.05 บาท 4,731,824.33บาท และ 10,214,986.65 บาท ตามลำดับ ดังนั้น จึงต้องชำระหนี้อีกจำนวน 2,711,653.75 บาท 32,991,568.93 บาท และ42,323,150.55 บาท ตามลำดับ เบี้ยปรับจำนวน 2,711,653.75 บาท32,991,568.93 บาท และ 42,323,150.55 บาท ตามลำดับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,382,943.41 บาท 10,887,217.75 บาท และ12,062,097.91 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 6,806,250.91 บาท 76,870,355.61 บาท และ96,708,399 บาท ตามลำดับ
++ นอกจากนี้ โจทก์ยังยื่นประมาณการกำไรสุทธิรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มจำนวน 26,874.69 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 134,373.45 บาทสำหรับเบี้ยปรับลดให้ร้อยละห้าสิบคงเหลือจำนวน 67,186.73 บาท
++ รวมเป็นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับจำนวน 94,061 บาท ปรากฏตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1016/2/100641 ที่ 1016/2/100640ที่ 1016/2/100826 และที่ 1016/2/100825 เอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 57 ถึง 60
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏตามอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ถึง 143
++ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่สภ.1(กม.3)/2540/166 เลขที่ สภ.1(กม.3)/2540/167 และเลขที่241/2540/สภ.1(กม.4) เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 149 ถึง 152
++
++คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่สามารถนำที่ดินออกให้เช่าได้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
++
++ เห็นว่า การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าซื้อที่ดิน เงินที่กู้ยืมมานั้นเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโจทก์ เมื่อเงินที่กู้ยืมมานั้นมีภาระต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมมาจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน และจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์หาได้ไม่
++ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5)
++ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น
++ เห็นว่าแนวปฏิบัติที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการยื่นแบบแสดงรายการในคดีนี้มาจากแนวความคิดในหลักการทางบัญชีซึ่งแตกต่างจากประมวลรัษฎากรดังได้ความตามคำเบิกความของนางสาวประไพ อารยะรังสฤษฏ์ รองอธิบดีของจำเลย พยานจำเลยเบิกความรับว่า ที่จำเลยวางแนวปฏิบัติมิให้ถือดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่าย ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 12/2528 ลงวันที่ 18กรกฎาคม 2528 ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 45 และ 46 นั้นได้รับการทักท้วงไม่เห็นด้วยจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 89 ถึง 91 กรณีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาจะเลี่ยงภาษี
++ ประกอบกับนางสาวอุไรวัลก์สกุลวานิชธนา พยานจำเลย ผู้พิจารณาและควบคุมการทำรายงานพิจารณาอุทธรณ์เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี
++ ดังนั้น กรณีจึงมีเหตุลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่งนั้นสมควรแล้ว
++ ส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ++
++ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ในกรณีที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า จากจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี นั้น
++ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 ที่จำเลยอ้างขึ้นมาเพื่อให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปในการเรียกเบี้ยปรับแต่กรณีการยื่นรายการและชำระภาษีโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้ที่กระทำผิดเงื่อนไขเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด
++ ดังนั้น แม้จะมีการออกหมายเรียกโจทก์เพื่อมาทำการไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19แล้วทำการประเมินตามมาตรา 20 ก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ได้อีก ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่องด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า
++ โจทก์ได้ยืมเงินจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อที่ดินให้เช่า หลังจากบริษัทเอสโซ่เช่าที่ดินจากโจทก์แล้ว โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวให้บริษัทเอสโซ่และได้นำดอกเบี้ยนั้นไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็นเงิน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาท และ3,150,823 บาท ตามลำดับ บริษัทเอสโซ่หักเงินของโจทก์ไว้เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากค่าเช่าซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์และได้นำส่งชำระให้จำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำนวน 340,299.05 บาท 4,042,032.83 บาทและ 9,269,739.75 บาท ตามลำดับ
++ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีดังกล่าวจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 วันที่ 1 กรกฎาคม2536 และวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามลำดับ
++ ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน2535 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จำนวน340,299.05 บาท และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้แก่โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จำนวน 4,042,032.83 บาท
++ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2538 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งคืนเงินสองจำนวนดังกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับภาษีคืนตามที่ยื่นคำร้องไว้โจทก์จึงคืนเงินสองจำนวนนั้นให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538
++ ส่วนภาษีซึ่งโจทก์ขอคืนในรอบระยะเวลาบัญชี 2536จำเลยออกหนังสือลงวันที่ 11 มกราคม 2539 แจ้งไม่คืนให้โจทก์ และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาทและ 3,150,823 บาท ตามลำดับ แต่โจทก์มีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วเป็นจำนวน 9,124,865.14 บาท 125,744,644.20 บาทและ 175,127,124 บาท ตามลำดับ คิดเป็นค่าภาษีจำนวน 3,193,702.80บาท 37,723,393.26 บาท และ 52,538,137.20 บาท ตามลำดับโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 482,049.05 บาท 4,731,824.33บาท และ 10,214,986.65 บาท ตามลำดับ ดังนั้น จึงต้องชำระหนี้อีกจำนวน 2,711,653.75 บาท 32,991,568.93 บาท และ42,323,150.55 บาท ตามลำดับ เบี้ยปรับจำนวน 2,711,653.75 บาท32,991,568.93 บาท และ 42,323,150.55 บาท ตามลำดับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,382,943.41 บาท 10,887,217.75 บาท และ12,062,097.91 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 6,806,250.91 บาท 76,870,355.61 บาท และ96,708,399 บาท ตามลำดับ
++ นอกจากนี้ โจทก์ยังยื่นประมาณการกำไรสุทธิรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มจำนวน 26,874.69 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 134,373.45 บาทสำหรับเบี้ยปรับลดให้ร้อยละห้าสิบคงเหลือจำนวน 67,186.73 บาท
++ รวมเป็นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับจำนวน 94,061 บาท ปรากฏตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1016/2/100641 ที่ 1016/2/100640ที่ 1016/2/100826 และที่ 1016/2/100825 เอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 57 ถึง 60
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏตามอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ถึง 143
++ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่สภ.1(กม.3)/2540/166 เลขที่ สภ.1(กม.3)/2540/167 และเลขที่241/2540/สภ.1(กม.4) เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 149 ถึง 152
++
++คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่สามารถนำที่ดินออกให้เช่าได้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
++
++ เห็นว่า การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าซื้อที่ดิน เงินที่กู้ยืมมานั้นเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโจทก์ เมื่อเงินที่กู้ยืมมานั้นมีภาระต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมมาจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน และจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์หาได้ไม่
++ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5)
++ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น
++ เห็นว่าแนวปฏิบัติที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการยื่นแบบแสดงรายการในคดีนี้มาจากแนวความคิดในหลักการทางบัญชีซึ่งแตกต่างจากประมวลรัษฎากรดังได้ความตามคำเบิกความของนางสาวประไพ อารยะรังสฤษฏ์ รองอธิบดีของจำเลย พยานจำเลยเบิกความรับว่า ที่จำเลยวางแนวปฏิบัติมิให้ถือดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่าย ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 12/2528 ลงวันที่ 18กรกฎาคม 2528 ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 45 และ 46 นั้นได้รับการทักท้วงไม่เห็นด้วยจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 89 ถึง 91 กรณีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาจะเลี่ยงภาษี
++ ประกอบกับนางสาวอุไรวัลก์สกุลวานิชธนา พยานจำเลย ผู้พิจารณาและควบคุมการทำรายงานพิจารณาอุทธรณ์เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี
++ ดังนั้น กรณีจึงมีเหตุลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่งนั้นสมควรแล้ว
++ ส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ++
++ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ในกรณีที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า จากจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี นั้น
++ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 ที่จำเลยอ้างขึ้นมาเพื่อให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปในการเรียกเบี้ยปรับแต่กรณีการยื่นรายการและชำระภาษีโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้ที่กระทำผิดเงื่อนไขเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด
++ ดังนั้น แม้จะมีการออกหมายเรียกโจทก์เพื่อมาทำการไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19แล้วทำการประเมินตามมาตรา 20 ก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ได้อีก ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, การประเมินต้องเป็นธรรม
ตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดระบุชื่อ พ. และหรือบริษัท ก. (โจทก์) ผู้รับประเมิน ย่อมหมายถึงว่า พ. หรือโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนตามที่มีชื่อระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว อยู่ในฐานะ ผู้รับประเมิน โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะพึงชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ทราบและมีหน้าที่ชำระค่าภาษีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุบ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคารตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ ไม่ได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสอง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้องคือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุบ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคารตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตามจำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ ไม่ได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสอง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้องคือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่าที่สมควร คำนวณจากสัญญาเช่าที่แท้จริง และการคืนเงินภาษีที่ถูกต้อง
ตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดระบุชื่อพ. และหรือบริษัท ก. (โจทก์) ผู้รับประเมิน ย่อมหมายถึงว่าพ. หรือโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนตามที่มีชื่อระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว อยู่ในฐานะผู้รับประเมิน โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะพึงชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ทราบและมีหน้าที่ชำระค่าภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารแนบท้ายสัญญาเช่ามีการระบุทั้งค่าเช่าและค่าบริการแยกไว้ชัดเจนทุกฉบับถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า ย่อมรับฟังได้ หาจำต้องระบุไว้ในสัญญาประธานว่ามีข้อสัญญาได้กำหนดให้มีเอกสารแนบท้ายสัญญา โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประธานนั้นไม่ และสัญญาเช่าคดีนี้ จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุ บ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคาร ตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตาม จำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บ ค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วัน อ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ไม่ได้ ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษา ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสองปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร แม้ไม่มีข้อห้ามในตอนแรก แต่มีข้อห้ามใช้บังคับในภายหลัง
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคารและประกาศกระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณา
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลพิพากษาๆได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 และมาตรา 13แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตร จากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดกับประกาศกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคาร
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9และมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้