คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันคู่กรณี & การระงับข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้นำสืบแจ้งชัดว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อมากกว่า ว.การที่พนักงานสอบสวนทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแม้เพียงเพื่อเปรียบเทียบปรับทั้งจำเลยและ ว. แต่เมื่อเอกสารนั้นมีข้อตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมรถยนต์ที่เสียหายโดยที่ขณะนั้นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยและ ว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850-852และเท่ากับเจ้าของรถยนต์แสดงออกหรือยอมให้ ว. แสดงออกว่า ว.เป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามมาตรา821ส่วนที่มีการทำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีขึ้นอีกหนึ่งฉบับในภายหลังเมื่อจำเลยและเจ้าของรถยนต์ไม่ได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามที่ทำบันทึกไว้จึงไม่มีผลบังคับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วในฐานะผู้รับช่วงสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & การระงับข้อพิพาท, ตัวแทน, และความสุจริต
จำเลยและว.ต่างขับรถยนต์โดยประมาทและต่างถูกร้อยตำรวจโทอ.พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับการที่ร้อยตำรวจโทอ.เปรียบเทียบปรับจำเลยและว. และค่าเสียหายของรถยนต์ทั้งสองคันได้มีการตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมโดยขณะนั้นช. เจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีการชนกันไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยและว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป การที่ช. ยินยอมให้ว. ตกลงระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่ากับช.แสดงออกหรือยอมให้ว. แสดงออกว่าว. เป็นตัวแทนของช. ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความช. จึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่มีเหตุควรเชื่อว่าว.เป็นตัวแทนของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821โจทก์จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามมาตรา789ไม่ได้ แม้ร้อยตำรวจโทอ. พนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเปรียบเทียบปรับจำเลยและว.แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่มุ่งจะระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน-ข้อยกเว้น & การรับช่วงสิทธิ
พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยและ ว. ฐานขับรถยนต์โดยประมาท และบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยและ ว. ตกลงกันว่าต่างคนต่างซ่อมรถเองไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป
เจ้าของรถที่ ว. ขับยินยอมให้ ว. แสดงออกว่าเป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าของรถนั้นจึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยมาเป็นของตน จะอ้างว่าการตั้งว. เป็นตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 ไม่ได้
หลังจาก ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้วเจ้าของรถที่ ว. ขับกับจำเลยไปตกลงกันใหม่ในเรื่องค่าเสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า คู่กรณีขอไปทำความตกลงกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของรถที่ ว. ขับนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยเพื่อให้โจทก์รับผิดตามสัญญาประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเจ้าของรถที่ ว. ขับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้ว
เมื่อมูลหนี้อันเกิดจากการละเมิดระงับไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถที่เอาประกันภัยไปก็ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินคดี, ทุนทรัพย์, และความซับซ้อนของคดี
เดิมจำเลยที่1ถูกบ.ฟ้องฐานละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนและเรียกทรัพย์คืนศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้แก่บ. จำเลยที่1และบ.ต่างยื่นฎีกาสำหรับจำเลยที่1ได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความร่วมกับทนายความคนเดิมของจำเลยที่1ดำเนินคดีในชั้นฎีกาโจทก์จึงได้ทำคำแก้ฎีกาและทำคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกายื่นต่อศาลส่วนคำฟ้องฎีกานั้นโจทก์ก็เป็นผู้ยกร่างฎีกาเป็นบางส่วนซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่1ไม่ต้องมีหลักประกันมาวางศาลและจำเลยที่1ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บ. เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในชั้นฎีกาถือได้ว่ามีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดีย่อมต้องพิจารณาจากคำฟ้องฎีกาและคำแก้ฎีกาเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้หาใช่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างเดียวไม่ การคิดจำนวนสินจ้างจำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีทั่วไปด้วยและโดยที่คดีที่โจทก์รับจ้างว่าความมีทุนทรัพย์เกือบถึง100,000,000บาทจำเลยที่1แพ้คดีศาลล่างทั้งสองศาลมาแล้วและโจทก์ตั้งที่ปรึกษาหลายคนเป็นคณะทำงานประกอบกับต้องทำงานอย่างรีบเร่งเพื่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยที่1ที่ประกอบธุรกิจธนาคารที่ถูกลูกค้าของธนาคารฟ้องฐานละเมิดหากจำเลยที่1จะจ้างทนายความอื่นก็น่าจะต้องเสียค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ้างโจทก์จึงเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์เป็นเงิน3,000,000บาทนั้นเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความ: การพิจารณาจากความซับซ้อนของคดี ทุนทรัพย์ และผลสำเร็จของงาน
เดิมจำเลยที่ 1 ถูก บ.ฟ้องฐานละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนและเรียกทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ บ. จำเลยที่ 1 และ บ.ต่างยื่นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความร่วมกับทนายความคนเดิมของจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีในชั้นฎีกาโจทก์จึงได้ทำคำแก้ฎีกาและทำคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกายื่นต่อศาลส่วนคำฟ้องฎีกานั้นโจทก์ก็เป็นผู้ยกร่างฎีกาเป็นบางส่วน ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องมีหลักประกันมาวางศาล และจำเลยที่ 1 ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ บ. เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในชั้นฎีกาถือได้ว่ามีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่
การที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดี ย่อมต้องพิจารณาจากคำฟ้องฎีกาและคำแก้ฎีกาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ หาใช่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างเดียวไม่
การคิดจำนวนสินจ้างจำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีทั่วไปด้วย และโดยที่คดีที่โจทก์รับจ้างว่าความมีทุนทรัพย์เกือบถึง 100,000,000 บาท จำเลยที่ 1แพ้คดีศาลล่างทั้งสองศาลมาแล้ว และโจทก์ตั้งที่ปรึกษาหลายคนเป็นคณะทำงานประกอบกับต้องทำงานอย่างรีบเร่ง เพื่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยที่ 1ที่ประกอบธุรกิจธนาคารที่ถูกลูกค้าของธนาคารฟ้องฐานละเมิด หากจำเลยที่ 1จะจ้างทนายความอื่นก็น่าจะต้องเสียค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ้างโจทก์ จึงเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์เป็นเงิน 3,000,000 บาท นั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย
การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ที่ดินจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา526บันทึกข้อตกลงระหว่างป. กับจำเลยที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทยินยอมยกที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งให้โจทก์ด้วยแต่มิได้จดทะเบียนจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทโดยอาศัยบันทึกดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องเป็นทรัพย์สินที่ให้ในวันทำสัญญาเท่านั้น
มัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นเมื่อวันที่3มีนาคม2532ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาทเงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำที่จะต้องริบเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่มัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วนล่วงหน้าซึ่งชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้นจึงริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'มัดจำ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการคืนเงินค่าที่ดินล่วงหน้าเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
ถ้อยคำที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377บัญญัติว่า"เมื่อเข้าทำสัญญาถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ"แสดงว่ามัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่6มีนาคม2532ระบุข้อความว่า"ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาท"เงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาบางส่วนล่วงหน้าซึ่งจะชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การชำระเงินหลังวันทำสัญญาไม่ถือเป็นมัดจำ และผลกระทบต่อการคืนเงินเมื่อเลิกสัญญา
มัดจำตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญานั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาระบุ ในวันทำสัญญาผู้จะซื้อได้ชำระเงิน 200,000 บาท และในวันที่ 20 มีนาคม 2532 ชำระอีก3,300,000 บาท เฉพาะเงิน 200,000 บาท ที่ผู้ซื้อให้ผู้จะขายยึดเป็นประกันเท่านั้นที่เป็นมัดจำ ส่วนเงิน 3,300,000 บาท ซึ่งชำระหลังวันทำสัญญาไม่ใช่มัดจำเป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วน
เงินที่จำเลยจะต้องใช้คืนโจทก์เพราะเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่เวลาที่รับเงินไว้ ส่วนโจทก์ซึ่งได้รับโอนที่ดินบางส่วนจากจำเลยมาแล้วก็ต้องโอนคืนเฉพาะที่ยังมีชื่อทางทะเบียนเป็นของโจทก์ส่วนที่ดินซึ่งโจทก์ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับโอนไปจากจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแทนเพื่อไม่ให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งรับโอนโดยสุจริตพร้อมดอกเบี้ยอัตรานับจากวันที่โจทก์ให้บุคคลภายนอกรับโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับตราส่งตกลงชำระค่าระวางแบบ ซีวาย/ซีวาย มีสิทธิรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเมื่อไม่รับสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัท ก. ในประเทศ สหรัฐอเมริกาแล้วว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าทางทะเลแบบ ซีวาย/ซีวาย โดยบริษัท ก.เป็นฝ่ายนำตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามามอบให้โจทก์บรรทุกลงเรือเมื่อมาถึงท่าเรือกรุงเทพฯซึ่งเป็นท่าปลายทางจำเลยมีหน้าที่ไปขนถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ภายใน7วันแล้วส่งตู้คอนเทนเนอร์คืนโจทก์จำเลยจะชำระราคาสินค้าให้บริษัท ก.โดยผ่านทางธนาคารแล้วจำเลยจะรับใบตราส่งจากธนาคารไปแลกใบสั่งปล่อยสินค้าจากโจทก์เพื่อไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อมาโจทก์ขนส่งสินค้าพิพาทไปถึงท่าเรือปลายทางและพร้อมที่จะส่งมอบสินค้าโดยยกตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือทั้งได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าระวางและค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ไปรับสินค้าตามข้อตกลงการที่จำเลยจะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าหรือไม่หามีผลต่อความรับผิดที่จำเลยมีตามข้อตกลงไม่ปัญหาว่าเมื่อผู้รับตราส่งยังไม่ได้เรียกให้ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าโดยวิธีนำใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าจะทำให้ผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับโอนสิทธิหน้าที่อันเกิดจากสัญญารับขนหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 24