พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7397/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาทนายความและการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ทนายความโจทก์ย่อมอยู่ในฐานะโจทก์ การที่ ส. ทนายโจทก์ระบุภูมิลำเนาใหม่ไว้ท้ายคำฟ้องอุทธรณ์ โดยมิได้มีการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความต่อศาลชั้นต้นเท่ากับ ส. ยินยอมให้ถือว่าภูมิลำเนาแห่งใหม่ที่ระบุไว้ท้ายคำฟ้องอุทธรณ์นั้นเป็นภูมิลำเนาของ ส. อีกแห่งหนึ่งซึ่งศาลอาจส่งหมายเรียกหรือหมายนัดได้นับแต่ยื่นอุทธรณ์เป็นต้นไปกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 45 เดิมซึ่งให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของ ส. เมื่อพนักงานเดินหมายไม่อาจส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ให้ ส. ทนายโจทก์โดยวิธีธรรมดา จึงได้ปิดหมายนัดไว้ที่บ้านตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ท้ายคำฟ้องอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วการส่งหมายนัดจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74(2) ประกอบมาตรา 79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถยนต์ที่ถูกลักมาพร้อมแผ่นป้ายทะเบียนปลอม มีความผิดฐานรับของโจรและใช้เอกสารปลอมแยกกระทง
แม้ตามพยานหลักฐานจะไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้ปลอมแปลงแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แต่การที่จำเลยขับรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปและติดแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นแผ่นป้ายการเขียนปลอมไปตามทางสาธารณะ โดยมุ่งหมายให้ประชาชนผู้พบเห็นเข้าใจว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ของทางราชการ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 อีกกระทงหนึ่งซึ่งแยกออกจากกระทงความผิดฐานรับของโจร แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6819/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม แม้ไม่ใช่ผู้ปลอมแปลงเอง ก็เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและรับของโจร
แม้ตามพยานหลักฐานจะไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้ปลอมแปลงแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แต่การที่จำเลยขับรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปและติดแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นแผ่นป้ายการเขียนปลอมไปตามทางสาธารณะ โดยมุ่งหมายให้ประชาชนผู้พบเห็นเข้าใจว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ของทางราชการ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 อีกกระทงหนึ่งซึ่งแยกออกจากกระทงความผิดฐานรับของโจร
แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
แม้ฎีกาของจำเลยในส่วนที่ว่าศาลฎีกาสมควรพิพากษาลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดทั้งสองฐานหรือไม่ จะเป็นฎีกาในดุลพินิจของศาลอันเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ก็ตามแต่เมื่อจำเลยฎีกาในข้อแรกเป็นปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยและลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ให้เหมาะสมแก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6812/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะผู้ขนส่งร่วม: หลักฐานการเป็นตัวแทนและความรับผิดชอบในสัญญาขนส่ง
ตอนบนของเอกสารรายการขนสินค้าจากเรือระบุเพียงว่าบริษัท ท.แต่ไม่ปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าบริษัท ท.เป็นตัวแทนของจำเลย และผู้ลงนามตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวที่ระบุว่าเป็นผู้จดรายการก็ไม่ปรากฏว่าเป็นพนักงานของจำเลยหรือตัวแทนของจำเลย นอกจากนี้ตามเอกสารแสดงรายการขนสินค้าจากเรือไปโรงพักสินค้าที่ลงนามเป็นผู้จดรายการนั้นก็ไม่ปรากฏว่า ป.เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยและใบแจ้งขอทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ามี อ.ผู้แทนบริษัท อ.เป็นผู้แจ้ง หาใช่จำเลยหรือตัวแทนจำเลยเป็นผู้แจ้งไม่ ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเรือเข้าแก่ผู้รับตราส่งและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งร่วมกับผู้ขนส่งสินค้าทอดแรกและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ.มาตรา 618 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6812/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: จำเลยไม่เป็นผู้ขนส่งร่วม แม้แจ้งกำหนดเรือและรับใบปล่อยสินค้า
ตอนบนของเอกสารรายการขนสินค้าจากเรือระบุเพียงว่าบริษัทท.แต่ไม่ปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าบริษัทท.เป็นตัวแทนของจำเลย และผู้ลงนามตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวที่ระบุว่าเป็นผู้จดรายการก็ไม่ปรากฏว่าเป็นพนักงานของจำเลยหรือตัวแทนของจำเลย นอกจากนี้ตามเอกสารแสดงรายการขนสินค้าจากเรือไปโรงพักสินค้าที่ลงนามเป็นผู้จดรายการนั้นก็ไม่ปรากฏว่า ป. เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยและใบแจ้งขอทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ามี อ. ผู้แทนบริษัทอ. เป็นผู้แจ้ง หาใช่จำเลยหรือตัวแทนจำเลยเป็นผู้แจ้งไม่ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเรือเข้าแก่ผู้รับตราส่งและให้ผู้รับตราส่งนำใบตราส่งไปแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งร่วมกับผู้ขนส่งสินค้าทอดแรกและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษี: การโอนสำนวนตรวจสอบภาษีทำให้เจ้าพนักงานสรรพากรเขต 3 มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีได้
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การโอนสำนวนและผู้มีอำนาจ
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาทดแทนต้องเป็นธรรม โดยอ้างอิงราคาตลาดและราคาซื้อขายจริงในบริเวณใกล้เคียง พร้อมดอกเบี้ย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้ว ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ฯลฯการที่คณะกรรมการของจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนค่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา 21(3) โดย ไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับด้วย กรณีจึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องพิจารณาราคาตลาดจริง ไม่ใช่ราคาประเมินทุนทรัพย์ ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 นั้น ถ้ามิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะแล้ว ให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ฯลฯการที่คณะกรรมการของจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนค่าที่ดินให้แก่โจทก์โดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามมาตรา 21 (3) โดยไม่คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ฯ พ.ศ.2530ใช้บังคับด้วย กรณีจึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน
เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคท้าย
เมื่อศาลวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงทำร้าย: ลดโทษฐานฆ่าโดยเจตนา
จำเลยเห็น ส. กับ บ. ซึ่งยืนอยู่ข้างประตูหลังรถคนละด้านกับคนขับ แต่ก็ยังใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงจ้องยิงไปที่รถยนต์ ขณะที่ บ.ซึ่งกำลังจะขึ้นรถยนต์จำเลยย่อมเล็งเห็นผลหรือคาดหมายได้ว่ากระสุนปืนซึ่งจำเลยยิงไป อาจถูก ส.หรือท.ซึ่งนั่งอยู่ภายในรถยนต์ได้เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงไปถูก ส.เป็นเหตุให้ส.ถึงแก่ความตาย และ ท.ได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่า ท.โดยเจตนา แม้จะฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดขณะมึนเมาเพราะเสพสุราก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66 ก่อนเกิดเหตุ บ.ซึ่งเป็นปลัดอำเภออาวุโสเคยข่มขู่จำเลยซึ่งเป็นปลัดอำเภอหลายครั้ง ในคืนเกิดเหตุ บ.เมาสุราขึ้นไปเรียกจำเลยบนบ้านขณะจำเลยเข้านอนแล้วและด่าจำเลยซึ่งออกมาพบว่า "ไอ้เหี้ยมึงซ่านักหรือ" แล้วยังได้ตบจำเลยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปทางรถเปอร์โยต์ หลังจาก บ.เดินลงบันไดไปจนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72