คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปราโมทย์ บุนนาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาชำระหนี้และการต่ออายุสัญญากู้ของผู้กู้มีผลผูกพันผู้ค้ำประกันตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่าถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกูัให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเอง แม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมของผู้ค้ำประกันต่อการต่ออายุสัญญากู้ แม้ไม่มีข้อความระบุโดยตรง หากมีข้อตกลงเกี่ยวกับการผ่อนเวลาชำระหนี้ ย่อมถือว่ายินยอม
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลา การชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเองแม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครอง และภารจำยอม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมในการแบ่งมรดกและกำหนดภารจำยอมใหม่
โจทก์ทั้งสองได้รับส่วนแบ่งมรดกคือบ้านและที่ดินที่ใช้ปลูกบ้านและได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสองการที่โจทก์ทั้งสองผ่านที่ดินของจำเลยและทายาทอื่นออกสู่ทาสาธารณะโดยโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกทางอื่นเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสองจึงได้ภารจำยอมในการผ่านที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยและทายาทอื่น แต่ทางภารจำยอมที่โจทก์ทั้งสองแสดงไว้แตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์และมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่ที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์เกินความจำเป็น ศาลเห็นสมควรกำหนดทางภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมและเป็นธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเงินที่ อ. ซื้อที่ดินพิพาทที่ส่วนที่เป็นมรดกรวมอยู่ด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมทำให้เสียสิทธิของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเวนคืนต้องระบุค่าทดแทนที่ชัดเจนและขอให้บังคับชำระเพิ่ม มิฉะนั้นคำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยกำหนดค่าทดแทนเฉพาะที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นเงิน 180,000 บาท ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ต่อกระทรวงมหาดไทยจำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ จำเลยมีคำวินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์อีก 120,000 บาท ซึ่งยังไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามความในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง และวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ดังนั้นเมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้อง เป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงต้องบรรยายว่าค่าทดแทนที่ตนควรได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัยตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงจำนวนค่าทดแทนที่โจทก์เห็นว่าตนเองพึงได้รับทั้งเพียงแต่ขอให้จำเลยดำเนินการให้เป็นไปตามบทกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเท่านั้น จึงขาดสาระสำคัญของการฟ้องคดีตามบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ไม่มีทางที่จะพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดได้ และแม้โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยว่าการที่จำเลยในฐานะผู้วินิจฉัยอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยไม่ถูกต้อง เป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้มีคำขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีผลให้มีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองแทนทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังอันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วยดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ.นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ.อีกด้วยแม้นายอ. นาง ก. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนายอ. บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ. อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1629 โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.อ้างว่านายอ. ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนายอ. ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ. จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรมของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและการเพิกถอนนิติกรรมรับมรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง อันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินจากข้อตกลงก่อนการซื้อขายที่ดิน: สิทธิมีผลเฉพาะคู่กรณีเดิม
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่าง บ. กับจำเลยก่อนที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีลักษณะที่ บ. ยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิม เป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน เป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ คงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้น ไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ.กับจำเลยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินฮวงซุ้ยบนที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รายใหม่
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่างจำเลย กับ บ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทของจำเลยจากการขายทอดตลาดโดยยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ยซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิมเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 แต่เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกคงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้นและไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ. กับจำเลยมาก่อนหรือไม่หรือซื้อที่ดินพิพาทมาด้วยราคาต่ำก็ตาม ก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินจากข้อตกลงที่ไม่จดทะเบียน: สิทธิใช้ประโยชน์ได้เฉพาะคู่กรณี
ข้อตกลงและทางปฏิบัติระหว่าง บ. กับจำเลยก่อนที่ดินพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีลักษณะที่ บ. ยอมให้จำเลยมีสิทธิเป็นเจ้าของฮวงซุ้ย ซึ่งได้ก่อสร้างบนที่ดินพิพาทนั้นมาแต่เดิม เป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยโดยทางนิติกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1410 ข้อตกลงดังกล่าวมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ คงใช้ได้ในฐานะบุคคลสิทธิระหว่างคู่กรณีคือ บ. กับจำเลยเท่านั้น ไม่ว่าโจทก์ผู้รับซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. จะรู้ถึงข้อความระหว่าง บ. กับจำเลยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญา, การโอนกรรมสิทธิ์, และผลกระทบต่อทายาท
การที่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนจะถึงกำหนดการโอนเท่ากับจำเลยได้สละเงื่อนเวลาที่จะไปโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนกำหนดเวลาตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ไปโอนให้โจทก์ตามนัด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้
of 24