พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายก่อนกำหนด และผลของการทำสัญญาซื้อขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม
การที่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนจะถึงกำหนดการโอนเท่ากับจำเลยได้สละเงื่อนเวลาที่จะไปโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกกล่าวให้จำเลย-ทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนกำหนดเวลาตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ไปโอนให้โจทก์ตามนัด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้
การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องในคดีขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าโจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องในคดีสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาพิพากษาแก้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5403/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง: สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกัน
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า โจทก์ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวตามกฎหมายอาญา: จำเลยยิงผู้ตายในสถานการณ์ที่ไม่มีภัยอันตรายใกล้ถึง
ผู้ตายไปถามหาจำเลยกับบุตรและมารดาจำเลย บุตรจำเลยวิ่งหนีส่วนมารดาจำเลยแจ้งว่าจำเลยไม่อยู่บ้าน ผู้ตายเดินไปห่างบ้านจำเลยประมาณ 2 วา แล้วยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อระบายอารมณ์ การที่จำเลยยิงผู้ตาย ขณะที่จำเลยแอบอยู่ในครัวโดยที่ไม่ปรากฏว่าผู้ตายได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา: ศาลแต่งตั้งผู้อนุบาลร่วมได้ หากคำร้องขอไว้ชัดเจน
คำร้องของผู้คัดค้านซึ่งถือเสมือนเป็นคำฟ้องนอกจากจะมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้อนุบาล ต.คนไร้ความสามารถตามที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังขอให้แต่งตั้งผู้คัดค้านซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายในการเป็นผู้อนุบาลเป็นผู้อนุบาล ต. อีกด้วย ศาลจึงมีคำพิพากษาแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านร่วมกับผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ ต. ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำสั่งศาลในการแต่งตั้งผู้อนุบาล: การแต่งตั้งร่วมเป็นไปตามคำร้อง
คำร้องของผู้คัดค้านซึ่งถือเสมือนเป็นคำฟ้องนอกจากจะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้อนุบาล ต.แล้ว ยังขอให้แต่งตั้งผู้คัดค้านซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายในการเป็นผู้อนุบาล ต.เพื่อรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของ ต.อีกด้วย คำพิพากษาที่แต่งตั้งให้ผู้คัดค้านร่วมกับผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ ต.จึงไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ราคาที่ดินที่ศาลคำนวณสูงกว่าที่ตกลงกัน แต่โจทก์ไม่คัดค้านถือเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์
โจทก์ขอบังคับให้จำเลยขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา 1,695,620บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาไร่ละ 40,000 บาท เมื่อคิดคำนวณแล้วมากกว่าราคาที่โจทก์จำเลยตกลงกันตามสัญญาจะซื้อจะขายประมาณ 50,000 บาทโจทก์ไม่อุทธรณ์และฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์ไม่ใช่โจทก์ซึ่งโจทก์ก็รับในคำแก้ฎีกากรณีจึงไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ตามที่จำเลยฎีกา