คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อขึ้นเมื่อทราบภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้เจตนาจะพยุงฐานะของลูกหนี้แม้จะกระทำโดยสุจริตก็ตาม เมื่อหนี้ที่ก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94 (2)แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้ง แต่ถ้าตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฏว่าเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลก็มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 ประกอบด้วยมาตรา 106 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการผ่อนชำระงวด การสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ของสัญญากู้ยืมลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายนั้นถือได้ว่าบ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยที่1ที่2และส. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ. ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส.ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย การที่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและการที่บ. ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ฉะนั้นการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ. ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 5 ปีนับจากวันผิดนัด
การที่ บ.ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาท งวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน47,450 บาท แล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มกราคม2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ.ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/33 (2)
โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 9มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้ว และที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับ บ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างขนส่งน้ำมัน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
สัญญาว่าจ้างได้ตกลงกันให้จำเลยต้องให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันไม่น้อยกว่าเดือนละสองหรือสามเที่ยวมีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเพียงเที่ยวเดียว โดยไม่ให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเดือนละสองหรือสามเที่ยวภายในกำหนดเวลา ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาหลังจากขนส่งน้ำมันให้จำเลยเสร็จเที่ยวแรกแล้ว 3 เดือนเศษ การบอกเลิกสัญญาว่าจ้างของโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยว่าจ้างโจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกเพราะเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือการที่จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ว่าจ้างโจทก์ให้บรรทุกน้ำมัน และคำขอบังคับคือค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชดใช้ ส่วนที่ว่าโจทก์คิดค่าเสียหายมาอย่างไร เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ที่จะพึงได้เป็นค่าเสียหายของโจทก์ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (3) เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้เช็คเป็นโมฆะ และไม่มีผลผูกพันทางหนี้
หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจำเลยก็น่าจะเขียนวันที่สั่งจ่ายใหม่ด้วยลายมือของตนเองเหมือนกันที่ได้กรอกข้อความลงในรายการตามเช็คต่อหน้าโจทก์ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องใช้ตราประทับลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คในเมื่อวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกจำเลยก็เขียนด้วยลายมือของตนเองและเมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อที่กำกับไว้ใต้ตราประทับกับลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกและประทับตราลงวันที่ใหม่เมื่อเช็คพิพาทมีแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ปรากฏตัวผู้แก้ไขและการแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยจำเลยผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยเช็คดังกล่าวจึงเป็นอันเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเมื่อเช็คอันเป็นมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คได้จำเลยจึงมิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา9ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยจำนอง: แม้หนี้ประธานขาดอายุความ ยังบังคับชำระจากทรัพย์สินจำนองได้ แต่คิดดอกเบี้ยย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี
การจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา745 และ 193/27 บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่าแม้หนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้ว ก็ยังบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้แต่ดอกเบี้ยที่ค้างให้คิดย้อนหลังขึ้นไปได้เพียงห้าปี หากหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็มีกำหนดอายุความห้าปีเช่นกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (1)ดังนั้น ศาลชอบที่จะคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้ย้อนหลังไปมีกำหนดห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นอายุความจำนอง: ดอกเบี้ยค้างชำระคิดย้อนหลังได้ 5 ปี แม้หนี้ประธานไม่ขาดอายุความ
การจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันหนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/27และมาตรา745บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่าแม้หนี้ที่ประกันหรือหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้วก็ยังบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองได้แต่ดอกเบี้ยที่ค้างให้คิดย้อนหลังขึ้นไปได้เพียงห้าปีหากหนี้ประธานไม่ขาดอายุความสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างชำระก็มีกำหนดอายุความห้าปีเช่นกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ยุติและการไม่มีสิทธิอุทธรณ์หลังแจ้งการประเมิน ทำให้จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีค้างชำระ
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ประเมินภาษีเงินได้กับภาษีการค้าและแจ้งให้จำเลยทราบแล้วแต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงเป็นอันยุติ จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรตามที่มีการประเมิน เมื่อจำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายเพราะไม่ชำระค่าภาษีดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ประเมินภาษีไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่ครบองค์คณะเป็นโมฆะ และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา149ระบุว่าศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเว้นแต่ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายและพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา23วรรคหนึ่งระบุว่าศาลชั้นต้นนอกจากศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นของผู้พิพากษานายเดียวที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา107จึงถือว่าไม่ครบองค์คณะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 (5)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีล้มละลาย: คำสั่งศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 149 ระบุว่า ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เว้นแต่ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่งระบุว่า ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นของผู้พิพากษานายเดียวที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 107 จึงถือว่าไม่ครบองค์คณะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
of 57