พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีล้มละลาย: คำสั่งศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 149 ระบุว่า ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เว้นแต่ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่งระบุว่า ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นของผู้พิพากษานายเดียวที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 107 จึงถือว่าไม่ครบองค์คณะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ผู้อื่นไม่มีสิทธิร้องขอ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่เห็นชอบด้วยกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้เนื่องมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติยอมรับข้อเสนอของจำเลยอื่นๆในคดีแพ่งคำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา36ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้บุคคลอื่นไม่มีสิทธิร้องขอผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างศาลสามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ทายาทไม่มีสิทธิร้องขอ
ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่เห็นชอบด้วยกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้เนื่องจากผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติยอมรับข้อเสนอของจำเลยอื่น ๆ ในคดีแพ่งซึ่งเป็นมติที่ไม่ชอบ คำร้องของผู้ร้องมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36 ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดี หากโจทก์ทราบว่าจะต้องแพ้คดี และมีเจตนาทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การที่ศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองหมายความว่าให้ศาลพิจารณาถึงความสุจริตของโจทก์ในการดำเนินกระบวนพิจารณาประกอบด้วยหากปรากฎต่อศาลว่าการที่โจทก์ขออนุญาตถอนฟ้องอาจทำให้เสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งงดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษาโดยโจทก์แถลงรับข้อเท็จจริงว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่าคำฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวอ้างถึงกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้กระทำการไว้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีเห็นได้ชัดว่าโจทก์รู้ดูว่าจะต้องแพ้คดีพฤติการณ์ขอถอนฟ้องคดีของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตซึ่งทำให้จำเลยเสียเปรียบการที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-899/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด
คำว่า"เหตุสุดวิสัย"ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำให้ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่29กันยายน2538ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยหากจำเลยจะดำเนินคดีต่อไปให้วางค่าธรรมเนียมศาลภายใน10วันจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งวันที่9ตุลาคม2538ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมาวันที่16ตุลาคม2538จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปมีกำหนด10วันอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งที่ศาลไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยถือว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ที่จำเลยจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อยื่นคำขอขยายระยะเวลาวางเงินภายหลังพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลเรื่องวันหยุดและพนักงานลาพัก ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์วันที่5มีนาคม2539โจทก์ยื่นคำร้องขอถ่ายคำเบิกความพยานและคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตวันที่15เดือนเดียวกันวันที่4เมษายน2539โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์30วันโดยอ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอถ่ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์วันที่23เดือนเดียวกันซึ่งเมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ของระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้มีเวลาถึงประมาณ50วันโจทก์มีอาชีพเป็นทนายความสามารถทำอุทธรณ์ได้เองและยังแต่งตั้งทนายความอีกคนหากโจทก์หรือทนายโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดทั้งรูปคดีไม่สลับซับซ้อนการที่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ขยายให้แล้วจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก10วันโดยอ้างเหตุว่านับแต่ต้นเดือนเมษายน2539มีวันหยุดราชการและวันหยุดตามประเพณีหลายวันพนักงานพิมพ์ดีดและพนักงานอื่นในสำนักงานของโจทก์ขอลาหยุดต่อเนื่องกันหลายวันทำให้คดีที่จะต้องเตรียมและจัดพิมพ์ค้างอยู่หลายคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอยๆแม้ไม่มีพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์อุทธรณ์ให้โจทก์ก็สามารถเขียนด้วยหมึกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสองกรณีของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโทรมหญิง: พยานหลักฐานสอดคล้อง การยินยอมไม่สมเหตุสมผล
จำเลยที่2และผู้เสียหายรู้จักกันมาก่อนจำเลยทั้งสองชวนผู้เสียหายไปรับประทานอาหารด้วยความสนิทสนมคุ้นเคยกันเช่นนี้จึงเป็นธรรมดาที่ผู้เสียหายจะเชื่อถือและไว้วางใจจำเลยที่2ไม่คิดว่าจะถูกจำเลยที่2พาไปข่มขืนกระทำชำเราเมื่อผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปจึงยังไม่รู้และไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือและเมื่อไปถึงบริเวณทุ่งนาที่เปลี่ยวจำเลยที่2ทำร้ายร่างกายโดยตบหน้าผู้เสียหายและพูดขู่ว่าถ้าไม่ยอมให้ร่วมประเวณีก็จะพาเพื่อนอีก10คนมาร่วมกันข่มขืนผู้เสียหายจึงเกิดความกลัวไม่กล้าขัดขืนและร้องขอความช่วยเหลือและหากผู้เสียหายยินยอมจริงแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ทันทีที่พบบิดาผู้เสียหายผู้เสียหายก็เล่าเรื่องให้บิดาฟังและพาบิดาไปตามหาจำเลยที่2จนพบและแจ้งเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่2จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเช่าเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต และขอบเขตของสิทธิการโอนการเช่าตามสัญญา
การเช่าทรัพย์สินนั้นปกติฝ่ายผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าจะสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าและในการดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ฉะนั้นสิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัวเมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าเป็นอันระงับไปไม่ตกทอดไปถึงทายาทที่สัญญาเช่าข้อ4ระบุว่าในระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาผู้เข่ามีสิทธิที่จะโอนการเช่าให้แก่ผู้อื่นได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้แก่ผู้ให้เช่านั้นเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนการเช่าในระหว่างที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่ายังมีชีวิตอยู่ซึ่งอาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544และเป็นเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาหาได้ตกทอดมายังจำเลยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการผิดสัญญาเช่าเวลา: ศาลวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามสัญญาข้อกำหนดค่าเสียหายหรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ตามสัญญาเช่าเวลาจัดรายการโฆษณาสินค้าและบริการธุรกิจทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ข้อ5ระบุว่าถ้าผู้เช่าเวลาค้างชำระค่าเช่าเวลาผู้ให้เช่าเวลามีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและผู้เช่าเวลายอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าเวลาเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าค่าเช่าเวลา2เดือนและข้อ15ระบุถ้าผู้เช่าเวลาผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเวลาหรือเงินค่าใช้จ่ายอื่นใดไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดผู้เช่าเวลายอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีของเงินที่ค้างชำระให้แก่ผู้ให้เช่าเวลาจนครบถ้วนเห็นได้ว่าเงินค่าเสียหายตามสัญญาข้อ5เป็นเงินค่าเสียหายที่กำหนดขึ้นเมื่อมีการผิดสัญญาหาใช่เงินที่จำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเวลาหรือเงินค่าใช้จ่ายอื่นใดตามสัญญาข้อ15โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการบอกกล่าวบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ขาดอายุความ และการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว
จำเลยที่1ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการยุบตัวของข้าวเปลือกอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการดำเนินการได้ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 พิจารณาหาผู้รับผิดชอบชดใช้ข้าวเปลือกขาดบัญชีและมีมติในวันเดียวกันนั้นให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้ชดใช้ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประชุมและทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนข้าวที่หายไปต่อโจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 และเริ่มนับใหม่ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2536 ภายในอายุความ1ปีมาตรา448คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ มาตรา 728 การบังคับจำนองนั้นผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้นไม่ได้ระบุว่าต้องส่งคำบอกกล่าวโดยทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับแต่อย่างใดพนักงานของโจทก์ไปส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับจึงได้ทำบันทึกไว้ท้ายคำบอกกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมรับผู้ส่งจึงได้วางหนังสือไว้ต่อหน้าผู้รับและต่อหน้าพยานการบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว