พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9262/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากและสัญญากู้: การลดหย่อนสินไถ่ก่อนกำหนด และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญากู้เงินจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาว่าเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน โจทก์ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่จำเลย หากโจทก์ไถ่ถอนก่อนกำหนดจะมีส่วนลดให้ ข้อสัญญานี้ไม่ได้ขัดหรือลบล้างสัญญาขายฝาก แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ขอไถ่ที่ดินก่อนครบกำหนดโจทก์สามารถวางเงินสินไถ่ตามส่วนลดดังกล่าวได้ การนำสืบพยานของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนเงินสินไถ่และส่วนลดหาใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9170/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การรบกวนสิทธิระหว่างบุคคล แม้ไร้สิทธิโดยชอบธรรม
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ที่ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร เป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น ดังนั้นหากโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วจำเลยบุกรุกไปครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิและเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9116/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาซื้อลดเช็คและการสละอายุความของดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาขายลดเช็คพิพาททั้งสองฉบับในนามตนเองมิได้กระทำแทนจำเลยร่วม ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่แต่ไม่สามารถชำระเงินได้หมดทันที ขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ และขอลดดอกเบี้ย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพความรับผิดสำหรับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (เดิม) มาตรา 193/28 (ใหม่) และเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความสำหรับดอกเบี้ยตามมาตรา 192 (เดิม) มาตรา 193/24 (ใหม่) เมื่อนับจากวันที่ทำหนังสือดังกล่าวถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่แต่ไม่สามารถชำระเงินได้หมดทันที ขอผ่อนชำระเป็นงวด ๆ และขอลดดอกเบี้ย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพความรับผิดสำหรับดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 (เดิม) มาตรา 193/28 (ใหม่) และเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความสำหรับดอกเบี้ยตามมาตรา 192 (เดิม) มาตรา 193/24 (ใหม่) เมื่อนับจากวันที่ทำหนังสือดังกล่าวถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9100/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาแบ่งผลประโยชน์: ศาลฎีกายกฟ้องศาลชั้นต้น เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นและประเภทสัญญาไม่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 คดีจึงมีประเด็นเพียงว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความตามมาตรา 601เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงไม่ชอบ สัญญาเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนสำหรับไก่ ให้จำเลยที่ 1 เลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ อาหารไก่ ยา และวัคซีนซึ่งจำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ คงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แต่หากมูลค่าไก่ อาหารไก่ ยาและวัคซีนสูงกว่ามูลค่าไก่ใหญ่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินส่วนที่ขาดให้โจทก์เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน มิใช่สัญญาจ้างทำของสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาเกินเลยคำฟ้อง: การชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อและเช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยโดยจำเลยสัญญาว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้โอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถโอนได้ก็ให้จ่ายเงินมัดจำ เงินงวดค่าเช่าซื้อและคืนเงินค่าโอนทะเบียนรถรวมเป็นเงิน 407,514 บาท แก่โจทก์ และมีคำขอให้บังคับจำเลยโอนทะเบียนรถยนต์แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 50,000 บาท แก่โจทก์แม้จะเรียกว่าค่าเสียหายแต่ก็เป็นเงินที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระเนื่องจากการผิดสัญญาที่ไม่สามารถโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ได้ตามฟ้องนั่นเอง จึงมิได้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ใหม่ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.148 หากคดีก่อนยกฟ้องเรื่องอำนาจฟ้อง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าใบแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดโจทก์ไม่สมบูรณ์ เพราะสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก มิได้ลงพระนามในใบแต่งตั้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีจึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: เงินยืมทดรองจ่าย, เงินยืมจากลูกค้า, ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านกับวัสดุพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินหลายรายการ สำหรับเงินที่โจทก์เบิกล่วงหน้าเป็นเงินยืมทดรองจ่ายคนละสัญญาตามคำฟ้อง จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ส่วนเงินยืมจากลูกค้าของจำเลยเป็นเรื่องที่ลูกค้าต้องติดตามทวงถามจากโจทก์เอง จำเลยไม่มีสิทธินำมาหักทอนกับเงินค่าจ้างตามฟ้องได้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ส่วนเงินค่าตอกเสาเข็มใหม่และเงินค่าโฆษณาซึ่งเกิดจากการกระทำของโจทก์เป็นเงินที่ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาในคำฟ้อง จำเลยชอบจะฟ้องร้องต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซ่อมรถยนต์ที่ไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดยังคงอยู่
บันทึกตกลงค่าเสียหายระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้กระทำละเมิดระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้อง โดยจะมอบหมายให้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุที่ชนรถยนต์ของโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์ของโจทก์ไปซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีการตกลงเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าซ่อมไว้เป็นที่แน่นอนและจำเลยที่ 2ไม่ได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะยินยอมซ่อมรถยนต์ของโจทก์หรือไม่ เพียงใด ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันแก่กันจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ก่อให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิ
ชื่อของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยร่วมมีคำว่า "โอเรียนเต็ล"เหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของบริษัทโจทก์ที่ 1 จำเลยร่วมมีเจตนาใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล" เป็นชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมเพราะชื่อดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "ORIENTAL" เป็นอักษรประดิษฐ์ขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ในขณะที่อักษรโรมันคำว่า "HILL - RESORT CONDOMINIUM" เป็นอักษรขนาดเล็กเขียนไว้ด้านใต้คำว่า "ORIENTAL" แสดงว่าจำเลยร่วมต้องการให้บุคคลทั่วไปเรียกขานชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมว่า "โอเรียนเต็ล" ดังนั้น ชื่อและตราเครื่องหมายของจำเลยร่วมคำว่า "โอเรียลเต็ล" จึงเหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล"เป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมมานานจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนทั่วไปและโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าหลายจำพวก ดังนั้นหากมีการนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" มาใช้ในธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน สาธารณชนย่อมเข้าใจว่ากิจการดังกล่าวเป็นกิจการของโจทก์ที่ 1 เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ชื่อทางการค้าส่วนหนึ่งว่า "โอเรียนเต็ล"เพื่อประกอบกิจการอันมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกิจการโรงแรมซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าพักและใช้บริการได้เช่นเดียวกับโรงแรม การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดต่อสาธารณชน การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันการบังคับคดี: ศาลบังคับคดีจากหลักทรัพย์ประกันได้ทันทีเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกา โดยผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลว่าถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนหนี้เท่าใด ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องได้นำมาวางไว้เป็นประกันทันที เป็นการทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลด้วยการนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลทั้งนี้เพื่อให้ศาลทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกา เมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลย่อมออกคำบังคับให้ผู้ร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องผู้ร้องใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของโจทก์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 11เรื่องค้ำประกัน ดังนั้น จึงไม่อาจนำมาตรา 689 และ 690 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นต้องตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องให้สัญญาต่อศาลว่า ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินที่ผู้ร้องวางเป็นประกันไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้