คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7028/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันการบังคับคดี: ศาลบังคับคดีจากหลักทรัพย์ประกันได้ทันทีเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้
ผู้ร้องนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกา โดยผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลว่าถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนหนี้เท่าใด ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องได้นำมาวางไว้เป็นประกันทันที เป็นการทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลด้วยการนำที่ดินมาวางเป็นประกันต่อศาลทั้งนี้เพื่อให้ศาลทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกา เมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ศาลย่อมออกคำบังคับให้ผู้ร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องผู้ร้องใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของโจทก์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 11เรื่องค้ำประกัน ดังนั้น จึงไม่อาจนำมาตรา 689 และ 690 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นต้องตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องให้สัญญาต่อศาลว่า ผู้ร้องยอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินที่ผู้ร้องวางเป็นประกันไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ออกคำบังคับแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่: แยกพิจารณาคำฟ้องหลักและคำฟ้องแย้ง
แม้คดีในส่วนคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในส่วนคำฟ้องแย้ง จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า และขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยซึ่งมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องแยกพิจารณาการต้องห้ามอุทธรณ์ของคดีในส่วนตามคำฟ้องแย้งของจำเลยต่างหากจากส่วนคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างลงในที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าได้ ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นนอกจากนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อที่ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งของจำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้รับโอนที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้วการที่โจทก์และม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่างพ.กับโจทก์และส.ได้ระบุว่ามีการซื้อขายเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วยแต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดินเมื่อม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้วม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองมิใช่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่เป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และ ม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์และ ม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่าง พ.กับโจทก์และ ส.ได้ระบุว่า มีการซื้อขายเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย แต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อ ม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้ว ม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 144วรรคสอง มิใช่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี มิใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน6เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ดังนั้นคดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา671หรือไม่เท่านั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด1ปีคดีจึงขาดอายุความตามมาตรา601จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามสัญญาการเลี้ยงการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่อาหารยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหารยาและวัคซีนซึ่งจำเลยได้ใช้ไปคงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของหากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทน 10 ปี ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความตามมาตรา 601 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหาร ยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหาร ยา และวัคซีน ซึ่งจำเลยได้ใช้ไป คงเหลือยอดสุทธิเท่าใด ให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน จึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายของสินค้าอันตรายเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำ ซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้
สถานที่ที่จำเลยที่ 3 นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วย และสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกัน แล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสอง บัญญัติไว้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายสินค้าอันเกิดจากระบบป้องกันอัคคีภัยบกพร่องและการจัดเก็บสารเคมีไม่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทยการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้ สถานที่ที่จำเลยที่3นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วยและสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกันแล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่3มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา659วรรคสองบัญญัติไว้จำเลยที่3จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์: เจตนาและความสำคัญของอายุผู้เสียหาย
จำเลยสำคัญผิดโดยเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการ – สิทธิเรียกร้องแทนเจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัท บ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท บ.ไปโดยทุจริต บริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัท บ.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บ. ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อบริษัท บ. บริษัท บ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บ.ชอบจะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัท บ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัท บ.อยู่ การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัท บ.มีอายุความตามมาตรา 448 เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัท บ.อยู่ คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัท บ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 23 กันยายน 2535 พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
of 57