คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการบริษัท: เริ่มนับแต่วันกระทำละเมิด หรือวันที่พ้นตำแหน่ง
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทกระทำละเมิดต่อบริษัทบริษัทชอบที่จะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่บริษัทรู้ถึง การกระทำละเมิดและรู้ว่าจำเลยต้องใช้สินไหมทดแทนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทชอบที่จะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนเท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทเมื่อจำเลยกระทำละเมิดขณะที่เป็นกรรมการบริษัท คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 23กันยายน 2535 ซึ่งพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำผิดคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการ – สิทธิเรียกร้องแทนเจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัท บ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท บ.ไปโดยทุจริต บริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัท บ.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บ. ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อบริษัท บ. บริษัท บ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บ.ชอบจะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัท บ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัท บ.อยู่ การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัท บ.มีอายุความตามมาตรา 448 เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัท บ.อยู่ คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัท บ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 23 กันยายน 2535 พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอด: ผลกระทบทางกระบวนพิจารณาและการเป็นฟ้องซ้อน
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (1) นั้น ถือเป็นคำฟ้อง เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องสอดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในฐานะเป็นโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีร้องสอด: การจำหน่ายคดีเฉพาะคู่ความฝ่ายหนึ่งยังไม่ถือว่าคดีสิ้นสุด
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ถือเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์โจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสองโดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยวกับโจทก์ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ผู้ร้องสอดทั้งสองคงมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำกรณีบังคับจำนอง: คำร้องรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ถือเป็นการฟ้องบังคับจำนองแล้ว
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289ดังนั้นคู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นคู่ความรายเดียวกันและเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำบังคับจำนอง: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ โดยอาศัยบุริมสิทธิจำนองที่ศาลเคยมีคำสั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การที่โจทก์เคยยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีก่อนให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆนั้นย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289เมื่อโจทก์มาฟ้องบังคับจำนองเอาแก่จำเลยเป็นคดีนี้คู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันคำสั่งที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีก่อนถึงที่สุดแล้วมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีก่อนฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คำฟ้องบังคับจำนองซ้ำกับคำร้องขอในคดีอื่น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289ดังนั้น คู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นคู่ความรายเดียวกัน และเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบของโจทก์ในคดีอาญา และการลงโทษฐานทำร้ายร่างกายเมื่อฟ้องฐานพยายามฆ่า
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา174เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่และต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้ฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงการที่จำเลยตอบคำถามค้านว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียนจะถือเท่ากับว่าเป็นคำรับสารภาพตามมาตรา176หาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่สืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ความผิดฐานพยายามฆ่ารวมการกระทำฐานทำร้ายร่างกายอยู่ด้วยศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องหนี้จำนอง: การชำระหนี้แทนกันและสิทธิในการรับโอนที่ดิน
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่าเมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลงเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291ดังนั้นการที่โจทก์ที่1ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่2ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา292โดยเหตุนี้แม้โจทก์ที่2จะถอนคำฟ้องแต่เมื่อโจทก์ที่1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่งฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญาณวันที่26ธันวาคม2531เป็นต้นไปจึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ร่วมและการโอนสิทธิในที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ว่า เมื่อโจทก์ทั้งสองชำระหนี้จำนองแทนจำเลยครึ่งหนึ่งก็ก่อให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิจะรับโอนที่ดินตามข้อตกลง เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระหนี้จำนองครึ่งหนึ่งแทนจำเลยตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจะต้องชำระหนี้สิ้นเชิงอันถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้จำนองตามข้อตกลงย่อมมีผลเป็นการชำระหนี้แทนโจทก์ที่ 2 ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 โดยเหตุนี้ แม้โจทก์ที่ 2 จะถอนคำฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ที่ 1ได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิรับโอนที่ดินจากจำเลยตามข้อตกลงได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ทั้งสองและจำเลยยอมรับผิดในหนี้จำนองคนละครึ่ง ฉะนั้นหนี้จำนองทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองที่โจทก์ทั้งสองยอมรับตามสัญญา ณ วันที่ 26 ธันวาคม2531 เป็นต้นไป จึงตกเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสอง ดอกเบี้ยที่เกิดจากยอดเงินในส่วนที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิด จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระจำเลยคงมีภาระที่จะต้องชำระดอกเบี้ยจำนองของยอดเงินในส่วนที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญานับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสองเป็นต้นไปเท่านั้น
of 57