คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรของนายบ. กับนางน. โดยนายบ.อยู่กินฉันสามีภริยากับนางจ.และนางน. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5หลังจากนางน. มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตายนายบ. และนางจ. ร่วมกันยึดถือทำกินที่ดินมือเปล่า4แปลงเมื่อนายบ. ถึงแก่ความตายก็ยังไม่มีการแบ่งที่ดินกันแต่ก่อนที่นางจ. จะถึงแก่ความตายได้ขอออกโฉนดในที่ดิน4แปลงดังกล่าวเป็นชื่อของนางจ. เองดังนี้ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งในที่ดินทั้ง4แปลงอันเป็นทรัพย์มรดกของนายบ. และนางจ. ผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713แล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางจ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การพิสูจน์ความผิดฐานนำเข้าของผิด และความผิดต่างกรรมกันในการแปรรูปไม้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักลอบนำเครื่องเลื่อยยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรหรือรับของดังกล่าวจากคนร้ายไว้ในครอบครองโดยช่วยกันซ่อนเร้นซื้อและช่วยพาเอาไปเสียซึ่งสิ่งของดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาเดียวเพราะความผิดฐานลักลอบนำเข้ามาเองกับความผิดฐานรับเอาไว้จากที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้คำให้การของจำเลยที่ว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ตลอดข้อกล่าวหาทุกประการไม่ชัดเจนพอว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยานจึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวไม่ได้และไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยใหม่ การแปรรูปไม้หวงห้ามและการมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองแม้จำเลยกระทำผิดในวันเวลาเดียวกันและไม้แปรรูปที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นไม้ที่จำเลยแปรรูปเองและกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันก็ตามการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดต่างกรรมกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต: การฟ้องเรียกหนี้และอายุความ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้ว ส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้ง ครั้งละจำนวนเท่าใด และโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันและรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ ไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความชัดเจนใช้ 10 ปี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่2ถึงที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ที่จำเลยที่2ถึงที่4ทำไว้ต่อโจทก์และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้องดังนี้คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งขัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้วส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้งครั้งละจำนวนเท่าใดและโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์และจำเลยที่2ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้จำเลยที่1และที่2จึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อการสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิได้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกำหนดให้จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเองมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศจำเลยที่1เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่1ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและเงินค่าตอบแทน1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)และ(7)เดิมแต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ตรงกับมูลหนี้ และการฟ้องซ้ำ: การยกฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่... ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตาย หรือล้มละลาย หรือหนี้... เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้... ตลอดจนค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น...ซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้น หาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาล โจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2ถึงที่ 6 รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่ง ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 18 และมาตรา 228 (3) ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา 228 แห่ง ป.วิ.พ.
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของตนเองให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน หาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์ คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ไม่รับฟ้อง: คดีเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดิน & คดีสัญญาจะซื้อขาย, การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าจำเลยที่5เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตายหรือล้มละลายหรือหนี้เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ตลอดจนค่าเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้นหาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา94(ข)จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาลโจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่5รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่2ถึงที่6รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่1หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่งดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18และมาตรา228(3)ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อโจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา228แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ในนามของตนเองให้จำเลยที่2ถึงที่6โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่1โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนหาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่1โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์โต้แย้งอุทธรณ์โจทก์โดยอ้อมได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกเหตุผลในการตัดสินมาหักล้างกับเหตุผลที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์นั้นตรง ๆ แต่ศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินโต้แย้งอุทธรณ์ของโจทก์ไว้โดยอ้อมแล้วว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อันหมายถึงว่าเหตุผลตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้นสู้เหตุผลที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินใจในปัญหาข้อเท็จจริงไว้แล้วจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญาบริการ: ไม่ใช่ดอกเบี้ยและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อกำหนดข้อ 5 ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน 300 บาท ที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน 500 บาท เมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา 3 เดือน สำหรับข้อกำหนดข้อ 6 ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไป ซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อน โดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน 2.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่า กิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิก ไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน ค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และมาตรา 654 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการสมาชิก ค่าปรับไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ถือเป็นดอกเบี้ย
ข้อกำหนดข้อ5ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน300บาทที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน500บาทเมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา3เดือนสำหรับข้อกำหนด6ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไปซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อนโดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม1เปอร์เซ็นต์และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน2.5เปอร์เซนต์เห็นได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิกไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่งไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224และมาตรา654และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้ระบุว่า เป็นค่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งคดีดังกล่าวเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ต่อมาเจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เป็นว่า เป็นหนี้ตามอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาต ดังนั้น คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีนี้จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันถึงกำหนดใช้เงิน สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงขาดอายุความ ถือว่าเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท
of 57