คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาท และอำนาจโจทก์ร่วมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วและต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งฟังได้ว่าขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วยผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4)โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา5(2)ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่าย-อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนกระทำผิด ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย บิดาไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็ว และต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นการขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าคดี: ผลผูกพันตามคำท้า หากโจทก์เบิกความยืนยันการมอบอำนาจ จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1(2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายอำนาจฟ้อง: ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงได้ชอบธรรม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้ จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะถามค้านโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา117 นั้น เป็นข้อที่นอกเหนือไปจากคำท้าไม่อาจดำเนินการให้ได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกรอบที่คู่ความตกลงท้ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้าสู้คดีโดยอิงจากคำเบิกความ การปฏิบัติตามข้อตกลง และการคืนค่าขึ้นศาล
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยยอมแพ้แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่นเมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า"ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จริง"ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วจำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ200บาทตามตาราง1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การครอบครองแทนทายาททำให้การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังข้อเท็จจริงว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลงแม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดินโจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้านถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่นการจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดคดีขาดอายุความ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดลง แม้การจัดการมรดกจะล่วงเลยมาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีโจทก์ก็ยังไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยตามความประสงค์ของเจ้ามรดกแล้วขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์และทายาทอื่นไม่คัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์และทายาทอื่น การจัดการมรดกจึงได้สิ้นสุดลงเป็นเวลาเกินกว่าห้าปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอายุความ ต้องห้ามตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคู่ความในคดีปล่อยทรัพย์: ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นสำคัญ แม้เหตุเกิดวันเดียวกัน
เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มาคนละประเภทโดยผู้ร้องที่1ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับที่ดินแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นส่วนผู้ร้องที่2ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เกี่ยวกับบ้านอีกแห่งหนึ่งโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าวการที่เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นในวันเดียวกันหรือเป็นการสะดวกที่จะดำเนินคดีไปพร้อมกันก็หาใช่ข้อที่จะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันแต่อย่างใดไม่เมื่อผู้ร้องทั้งสองมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59
of 57