คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสริม บุญทรงสันติกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางภารจำยอม: การใช้ประโยชน์ที่ดินและขอบเขตสิทธิที่จดทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปักเสาคอนกรีต 4 ต้น ลงในทางภารจำยอมและทำคานข้างบนห้ามรถของโจทก์เข้าออก ทั้งยังปิดป้ายห้ามนำรถบรรทุกเข้าออกห้ามไม่ให้ปักเสาไฟฟ้า วางท่อประปา วางท่อระบายน้ำ ฯลฯ และโจทก์ได้แก้ไขเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องให้ชัดเจน ห้ามจำเลยขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ ไม่ว่าการใช้รถยนต์เข้าออกหรือปักเสาไฟฟ้า ทำท่อระบายน้ำ วางท่อประปาและสาธารณูปโภคอื่น ๆ ในทางภารจำยอม การที่โจทก์ฟ้องและขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างการพิจารณาโดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ทำการปักเสาไฟฟ้าวางท่อประปาและท่อระบายน้ำ ลงบนทางภารจำยอม จึงเป็นเรื่องเดียวกันและมีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) และมาตรา 255(1)และ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องครอบครองที่ดิน: การนำสืบเรื่องการเช่าไม่เป็นมูลฟ้อง พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่เกี่ยวข้่อง
ฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ให้จำเลยอยู่อาศัย ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยเช่าก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ อาจยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือจำเลยอาจต้องเสียค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการเช่า ซึ่งก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ และจำเลยก็ให้การยืนยันว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ไม่เคยอาศัยสิทธิอยู่อาศัยของโจทก์ โจทก์ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างถึงการเช่าเป็นมูลฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์: การพิสูจน์ว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองโดยอาศัยสิทธิโจทก์
ฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ให้จำเลยอยู่อาศัย ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยเช่าก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์อาจยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือจำเลยอาจต้องเสียค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการเช่าซึ่งก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ และจำเลยก็ให้การยืนยันว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ไม่เคยอาศัยสิทธิอยู่อาศัยของโจทก์ โจทก์ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างถึงการเช่าเป็นมูลฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายของจำเลยที่ร่วมกระทำผิดฉ้อโกงประชาชน แม้มิได้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคล
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะมิใช่กรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 เช่นกันและต้องถือว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 4 และ 5 แม้จะยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนีไป โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก - การพิสูจน์ทางออกเดิม และการกำหนดความกว้างของทาง
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ที่บัญญัติว่า ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทนนั้น มีความหมายว่าที่ดินเดิมก่อนมีการแบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่เพราะเหตุมีการแบ่งแยกเป็นหลายแปลงทำให้ที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เลยหากที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันนั้น แม้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเดิมก่อนมีการแบ่งแยก แต่ก็ยังมีทางออกสู่ทางสาธารณะในทางอื่นด้วยแล้วเช่นนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินแปลงที่แบ่งแยกนั้นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะนำบทบัญญัติในมาตรา1350 ดังกล่าวมาใช้บังคับได้
คดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับว่าที่ดินโจทก์หลังจากแบ่งแยกแล้วทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้งด้วยว่าโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศใต้ โดยผ่านที่ดินของ ท.และเป็นทางที่ ม.เจ้าของที่ดินเดิมตลอดจนบิดามารดาโจทก์ใช้เป็นเส้นทางเข้าออกมาโดยตลอดทั้งเป็นทางที่สะดวกและเหมาะสมกว่าทางอื่น ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยให้การแล้ว ย่อมแสดงว่าที่ดินโจทก์หลังการแบ่งแยกแล้ว หาได้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังที่โจทก์ฟ้องไม่
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยกำหนดความกว้างให้ 3.25 เมตร โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุใดศาลชั้นต้นจึงกำหนดเช่นนั้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บังคับไว้ว่า ทางจำเป็นต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิผ่านกับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาวินิจฉัยชี้ขาดคดี กรณีจึงต้องให้คู่ความนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวมา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัดทางบัญชี & อายุความหนี้
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลย คงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และเจ้าหนี้ฟ้องช้าเกินอายุความ
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลยคงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากจำเลยล้มละลาย ศาลมิอาจสั่งเพิกถอนโดยตรงกระทบสิทธิผู้รับโอนที่ไม่ใช่คู่ความ
ผู้รับโอนเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลด้วย การที่ศาลชั้นต้นก้าวล่วงไปมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ผู้รับโอนซื้อมาจากจำเลย แทนที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านไปดำเนินการสั่งเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113, 114 คำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อคำสั่งนั้นไม่ผูกพันผู้รับโอน ผู้รับโอนจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อมาจากจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4378/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย: การมอบอำนาจสั่งฟ้องและการรู้ตัวผู้รับผิด
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งสอบสวนแล้ว มีความเห็นว่าจำเลยทั้งหกต้องรับผิดชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกไปกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็เสนอเรื่องไปตามสายงานจนกระทั่งวันที่ 24กรกฎาคม 2529 พลตำรวจโท อ.ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจมีคำสั่งว่า ดำเนินการฟ้องจำเลยทั้งหกตามข้อเสนอแนะของกองคดีดังนี้ แม้ว่าที่พลตำรวจโท อ.สั่งนั้นเป็นการเสนอตามสายงาน และการฟ้องคดีอธิบดีกรมตำรวจจะไม่มอบหมายให้พลตำรวจโท อ.ดำเนินการเพราะเป็นอำนาจเฉพาะตัวอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งแสดงว่ามีการมอบหมายให้พลตำรวจโท อ.มีอำนาจสั่งให้ดำเนินคดีแก่ผู้รับผิดทางแพ่งเว้นแต่การฟ้องคดีก็ตาม แต่การทราบตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งและการฟ้องคดีเป็นคนละประเด็นกัน เมื่อพลตำรวจโท อ.สั่งแล้วก็มีการดำเนินการต่อไปโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของกรมตำรวจให้ฟ้องจำเลยทั้งหกแล้วให้มีหนังสือถึงกรมอัยการเพื่อจัดพนักงานอัยการเป็นทนายดำเนินการฟ้องโดยอธิบดีกรมตำรวจมอบอำนาจให้ผู้บังคับการกองทะเบียนเป็นโจทก์แทน จึงถือว่าโจทก์โดยอธิบดีกรมตำรวจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมแทนโดยพลตำรวจโท อ.ในฐานผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากการแสดงเจตนาลวงและการคุ้มครองผู้รับจำนองสุจริต
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 รวมทั้งขอให้ไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 4 เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมาเป็นของโจทก์ตามเดิม ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่ใช่เรื่องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแทนโจทก์ และเมื่อสำเร็จแล้วก็จะโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนให้โจทก์ ถือได้ว่าการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวทำขึ้นโดยการแสดงเจตนาลวง
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องขับไล่โจทก์ในคดีนี้ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินที่พิพาทโดยรู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145
เมื่อจำเลยที่ 4 ผู้รับจำนองเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 4 จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ร่วมโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนโจทก์จึงไม่ชอบ
of 57