พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยขยายเวลาอุทธรณ์: การติดต่อทนายความและการเปิดทำการศาลเป็นปัจจัยที่สามารถดำเนินการได้
ผู้ร้องทั้งสองทราบกำหนดนัดและผลคดีรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับทนายของผู้ร้องทั้งสองได้โดยตลอด แม้ผู้ร้องทั้งสองอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ผู้ร้องทั้งสองมีทนายความในประเทศไทยที่มีอำนาจดำเนินคดีแทน และผู้ร้องทั้งสองสามารถติดต่อกับทนายความได้ ประกอบกับศาลชั้นต้นก็ยังคงเปิดทำการอยู่ เช่นนี้ ทนายความของผู้ร้องทั้งสองย่อมสามารถดำเนินการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นค่าขาดไร้อุปการะ, อายุความความผิดพกพาอาวุธ และการเพิ่มโทษจำเลยในคดีอาญา
สิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาผู้ตายกับเด็กหญิง ธ. และเด็กชาย อ. บุตรทั้งสองของผู้ตายจะเรียกจากผู้ทำละเมิดเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน โจทก์ร่วมเป็นย่ามิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนเฉพาะคดีของบุตรทั้งสองของผู้ตายอันจะถือได้ว่ามีสิทธิยื่นคำร้องในนามบุตรของผู้ตายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งมารดาของบุตรทั้งสองของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายได้ คงมีสิทธิเฉพาะในส่วนของตนเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของโจทก์ร่วมในส่วนที่โจทก์ร่วมขอให้จำเลยทั้งสามชำระค่าขาดไร้อุปการะแทนบุตรทั้งสองของผู้ตายด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14804/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมชลประทานร้องขอบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตชลประทาน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเขตชลประทานประเภท 2 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23, 37 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากเขตชลประทานชานคลอง 17 มิใช่กรณีที่พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเขตชลประทานชานคลอง จึงมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่โจทก์สามารถร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์: ความผิดและโทษของตัวการร่วมที่ใช้อาวุธ และผู้ร่วมกระทำที่ไม่ใช้อาวุธ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การปล้นได้กระทำไปโดยจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คน มีอาวุธปืนติดตัว จำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำการปล้นด้วยแม้จะไม่ปรากฏว่ามีอาวุธใดติดตัวไปก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง แต่เฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เดียวที่กระทำการปล้นโดยมีและใช้อาวุธปืนจี้เจ้าทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงต้องด้วยมาตรา 340 ตรี ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 340 วรรคสองอีกกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 หาต้องระวางโทษตามนี้ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้ต้องโทษเดิมและการพิจารณาโทษซ้ำเมื่อกระทำผิดซ้ำ ศาลต้องเคารพคำสั่งปล่อยตัวเดิม
ประมวลกฎหมายอาญามีผลเพียงให้โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่เดิมเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยเท่านั้นแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาจะมิได้ถือว่าการที่จำเลยถูกกักกันต่อมานั้นเป็นโทษก็ตาม ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณารวมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)หาได้ไม่
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณารวมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา และผลของการปล่อยตัวผู้ต้องโทษโดยไม่ถือว่าเคยมีคำพิพากษาให้กักกัน
ประมวลกฎหมายอาญามีผลเพียงให้โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่เดิมเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยอาญาจะมิได้ถือว่าการที่จำเลยถูกกักกันต่อมานั้นเป็นโทษก็ตาม ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณาร่วมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) หาได้ไม่
แต่เมื่อปรากฏว่า ศาลได้ปล่อยจำเลยไปโดยถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาให้กักกันศาลก็จะรื้อฟื้นขึ้นมาจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้กักกัน (เพื่อจะนำมาพิจารณาร่วมกับการกระทำผิดครั้งหลังให้กักกันตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายอาญา) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมีกฎหมายใหม่ และผลกระทบต่อการล้างมลทิน
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปี และให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปีคดีถึงที่สุดก่อนใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปี แล้วระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯและประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับเมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา41โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษหากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตามก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาลความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม มาตรา3 พระราชบัญญัติลบล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยหลังมี พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา
ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 1 ปีและให้ส่งตัวไปกักกันอีก 3 ปี คดีถึงที่สุดก่อนใช้ พ.ร.บ. ล้างมลทินและประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยถูกจำคุกครบ 1 ปีแล้ว ระหว่างที่จำเลยถูกกักกันอยู่ มีพ.ร.บ. ล้างมลทินฯ และประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้บังคับ เมื่อความผิดของจำเลยที่ต้องคำพิพากษามาแล้วนั้น เข้าเกณฑ์ที่ศาลอาจพิพากษาให้กักกันได้ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 41 โทษกักกันที่จำเลยได้รับอยู่จึงเปลี่ยนลักษณะมาเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 15 วรรคแรกแม้ตามประมวลกฎหมายอาญาไม่ถือว่ากักกันเป็นโทษ หากเป็นแต่เพียงวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่จำเลยยังต้องรับต่อไปก็ตาม ก็ยังไม่ถือว่าจำเลยได้พ้นโทษกักกันนั้นไปแล้ว เพราะยังต้องถูกกักกันอยู่ โดยผลแห่งคำพิพากษาของศาล ความผิดในกรณีนี้ของจำเลยจึงยังไม่ถูกลบล้างตาม ม. 3 พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2499 ศาลจะสั่งปล่อยจำเลยไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องเคลือบคลุมศาลต้องยกฟ้องและต้องแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่มิได้กล่าวว่าจำเลยเบิกความเท็จในสำนวนไหน เพราะมีคดีที่จำเลยได้เคยเบิกความเกี่ยวข้องกัน 2 สำนวนและทั้งมิได้กล่าวว่าจำเลยเบิกความเท็จในข้อไร ข้อไหนเป็นเท็จข้อไหนเป็นจริง ข้อไหนเป็นสาระสำคัญ ดังนี้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลต้องยกฟ้อง ถ้าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์จะแถลงอธิบายฟ้องลับหลังจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความผิดฐานเบิกความเท็จสำหรับพระภิกษุสามเณร และมาตรฐานการพิสูจน์ความผิด
พระภิกษุสามเณรเป็นพะยานเบิกความเท็จไม่มีผิดฐานเบิกความเท็จ+