พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และโจทก์มีสิทธิขับไล่จำเลยออกจากอาคาร
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าหนังสือสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่นั้นย่อมครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่าหนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่ามีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการทรัพย์สินพ.ศ.2529ข้อ12ระบุว่าการให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ "(1)ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น(2)ระยะเวลาการเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่9พฤษภาคม2529แล้วการที่ส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่7ตุลาคม2529ให้ว. ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมายจ.1และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมายจ.2และจ.3ลงวันที่20พฤศจิกายน2529ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่9พฤษภาคม2529แล้วและรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สินพ.ศ.2525ข้อ12ว่า"การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคาเว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่นโดยมีเงื่อนไขดังนี้(1)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน1ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน1ปีให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2)การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน1ปีแต่ไม่เกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน3ปีให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3)การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน3ปีรวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยข้อ13ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆไป"และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคมพ.ศ.2525เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้วส. ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา15ปีโดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ส. ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร: การมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องทำให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า หนังสือสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่นั้น ย่อมครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่ามีผลผูกพันโจทก์หรือไม่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ.2529ข้อ 12 ระบุว่า การให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
"(1) ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น (2) ระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 9 พฤษภาคม 2529 แล้ว การที่ ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 7 ตุลาคม 2529 ให้ ว.ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมาย จ.2และ จ.3 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่ 9 พฤษภาคม2529 แล้ว และรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สิน พ.ศ.2525ข้อ 12 ว่า "การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (1) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3) การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข้อ 13 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นราย ๆ ไป" และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2525 เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้ว ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ ส.ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ.2529ข้อ 12 ระบุว่า การให้เช่าทรัพย์สินต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
"(1) ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น (2) ระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งเกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น"ซึ่งข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 9 พฤษภาคม 2529 แล้ว การที่ ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 7 ตุลาคม 2529 ให้ ว.ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 และทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าอาคารพิพาทตามหนังสือสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าเอกสารหมาย จ.2และ จ.3 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่ทำหลังจากวันที่ 9 พฤษภาคม2529 แล้ว และรวมทั้งได้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยทรัพย์สิน พ.ศ.2525ข้อ 12 ว่า "การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ให้ดำเนินการโดยวิธีประกวดราคา เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (1) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 1 ปี ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร(2) การให้เช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งไม่เกิน 3 ปี ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(3) การให้เช่าทรัพย์ของกรุงเทพมหานครหรือของการพาณิชย์ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี รวมทั้งการต่ออายุสัญญาเช่าแต่ละครั้งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข้อ 13 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่สมควรยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้รายงานขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นราย ๆ ไป" และระเบียบกรุงเทพมหานครนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2525 เป็นต้นไปดังนั้นเมื่ออาคารพิพาทเป็นของกรุงเทพมหานครโจทก์แล้ว ส.ในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครจึงจะนำอาคารพิพาทของโจทก์ไปให้จำเลยเช่าและทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 15 ปี โดยลำพังหาได้ไม่หนังสือสัญญาเช่าและการจดทะเบียนการเช่าที่ ส.ทำกับจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสำนักงานปุ๋ย: ไม่ใช่ส่วนราชการ กทม. ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศคุ้มครองแรงงาน
แม้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 ได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ก็ตาม แต่การจัดระเบียบ ราชการกรุงเทพมหานครที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ก็เป็น ทำนองเดียวกับมาตรา 11 ที่ถูกยกเลิก ซึ่งหาได้มีสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อสำนักงานปุ๋ยฯ ได้จัดตั้ง ขึ้นครั้งแรกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อนุมัติให้ เทศบาลนครกรุงเทพเป็นผู้จัดตั้งและดำเนินการ โดยมิได้จัดตั้ง ขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตาม ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการควบคุมและดำเนินงานของ สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2507 ก็ให้มี คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ โดยเฉพาะ แยกไปจากการบริหารราชการของเทศบาลนครกรุงเทพมหานครอีกทั้งในบทเฉพาะกาลข้อ 26 ในระยะเริ่มแรกซึ่งตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ เทศบาลนครกรุงเทพก็ตั้งค่าใช้จ่ายและทุน ดำเนินงานให้ต่างหากโดยจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้ และใน ข้อ 27 ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า การดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ เมื่อปรากฏผลกำไรจากกำไรสุทธิให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งให้เป็นรายได้ของเทศบาลนครกรุงเทพอีกส่วนหนึ่งให้เป็นเงินสำรองเพื่อปรับปรุงขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการจัดตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ ขึ้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนี้สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพหรือสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครจึงไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและไม่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 1(3) จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ตามลำดับ ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสำนักงานปุ๋ยฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518ได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528ก็ตาม แต่การจัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานครที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ก็เป็นทำนองเดียวกับมาตรา 11 ที่ถูกยกเลิก ซึ่งหาได้มีสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานครรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อสำนักงานปุ๋ยฯ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อนุมัติให้เทศบาลนครกรุงเทพเป็นผู้จัดตั้งและดำเนินการ โดยมิได้จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.ฎ.ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการควบคุมและดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ.2507 ก็ให้มีคณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ โดยเฉพาะ แยกไปจากการบริหารราชการของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกทั้งในบทเฉพาะกาลข้อ 26ในระยะเริ่มแรกซึ่งตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ เทศบาลนครกรุงเทพก็ตั้งค่าใช้จ่ายและทุนดำเนินงานให้ต่างหากโดยจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้ และในข้อ 27 ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า การดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ เมื่อปรากฏผลกำไรจากกำไรสุทธิให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งให้เป็นรายได้ของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกส่วนหนึ่งให้เป็นเงินสำรองเพื่อปรับปรุงขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการจัดตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ ขึ้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนี้สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพหรือสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครจึงไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและไม่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 1 (3) จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ตามลำดับ ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของเจ้าหน้าที่ การคำนวณค่ารายปี และการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี
กรุงเทพมหานครเคยมีคำสั่งตั้งพนักงานประเมินภาษีโทเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษี เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งพนักงานประเมินภาษีโทก็ย่อมได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีตามคำสั่งดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจ ประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้แต่งตั้งบุคคลคนเดียวเป็นทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีและการแต่งตั้งนี้ไม่ต้องออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพราะ กฎหมายให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสั่งตั้งพนักงานประเมินภาษีโทเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายไม่ใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องแต่งตั้งบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าว และไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แม้จำเลยจะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารที่อ้างให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่าสามวัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นต้องนำสืบ เพราะเป็นหลักฐานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ข้อสำคัญในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
เอกสารถ่ายมาจากต้นฉบับหรือถ่ายจากสำเนาอันรับรองว่าถูกต้องกับต้นฉบับก็เป็นสำเนาเอกสารด้วยกัน เมื่อต้นฉบับอยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการและศาลมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น สำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับรองก็ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำในหอพักเพราะน้ำประปาไม่มีกำลังส่งได้ถึงชั้นสูง ๆ มิใช่เป็นการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือน จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการลดค่ารายปี ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้แต่งตั้งบุคคลคนเดียวเป็นทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีและการแต่งตั้งนี้ไม่ต้องออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพราะ กฎหมายให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสั่งตั้งพนักงานประเมินภาษีโทเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บภาษีเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเรื่องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายไม่ใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร จึงไม่ต้องแต่งตั้งบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าว และไม่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แม้จำเลยจะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารที่อ้างให้โจทก์ก่อนวันสืบพยาน ไม่น้อยกว่าสามวัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นต้องนำสืบ เพราะเป็นหลักฐานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ข้อสำคัญในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
เอกสารถ่ายมาจากต้นฉบับหรือถ่ายจากสำเนาอันรับรองว่าถูกต้องกับต้นฉบับก็เป็นสำเนาเอกสารด้วยกัน เมื่อต้นฉบับอยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการและศาลมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น สำเนาเอกสารที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจรับรองก็ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำในหอพักเพราะน้ำประปาไม่มีกำลังส่งได้ถึงชั้นสูง ๆ มิใช่เป็นการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือน จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการลดค่ารายปี ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย การโอนกรรมสิทธิ์ และอำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่ปกครอง
การที่เจ้าของที่ดินเดิมได้ปลูกต้นพู่ระหงไว้เป็นแนวเขตที่ของตนโดยเว้นที่นอกเขตรั้วพู่ระหงไว้ให้เป็นทางคนเดินและประชาชนได้ใช้ทางสายนี้ติดต่อกันตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยเจ้าของที่ดินมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิไว้แต่ประการใดนั้น แสดงว่าได้อุทิศที่พิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วโดยปริยาย และการที่จะเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางหลวงนั้น ก็หาจำต้องมีทะเบียนหรือมีหลักฐานของทางราชการสงวนสิทธิไว้แต่ประการใดไม่
ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่จำเลยโอนที่พิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์ให้บุคคลอื่น จึงใช้บังคับไม่ได้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา122 กำหนดให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตรารักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์มิให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัว ต่อมามี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม ได้ให้อำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอโอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้บัญญัติให้หัวหน้าเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายใด ๆ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอและหัวหน้าส่วนอำเภอ โจทก์ในฐานะหัวหน้าเขตบางกอกน้อยผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษาทางสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่จำเลยโอนที่พิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์ให้บุคคลอื่น จึงใช้บังคับไม่ได้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา122 กำหนดให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตรารักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์มิให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัว ต่อมามี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม ได้ให้อำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอโอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้บัญญัติให้หัวหน้าเขตมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายใด ๆ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอและหัวหน้าส่วนอำเภอ โจทก์ในฐานะหัวหน้าเขตบางกอกน้อยผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษาทางสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางสาธารณประโยชน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรุงเทพมหานคร และการรับฟังพยานหลักฐานในข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมิได้ฟังข้อเท็จจริงจากคำพยานบอกเล่าแต่ปากเดียว แต่รับฟังจากข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วย ไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย
การฟ้องคดีต่อศาลให้ผู้ที่ทำทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหายชดใช้ค่าเสียหายแก่กรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นการบริหารราชการตามหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ม.19(1) กรุงเทพมหานครโจทก์โดย ช. ผู้ว่าราชการ จึงมีอำนาจฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลให้ผู้ที่ทำทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหายชดใช้ค่าเสียหายแก่กรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นการบริหารราชการตามหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ม.19(1) กรุงเทพมหานครโจทก์โดย ช. ผู้ว่าราชการ จึงมีอำนาจฟ้อง