พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและมรดก
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. นั้น ว. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องที่ 1 อยู่ตลอดมาจน ว. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1445 (3) (เดิม) และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. แม้ภายหลัง ว. ได้ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. สิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. ยังเป็นโมฆะอยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิในครอบครัวและสิทธิในมรดก ผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและโมฆะ: กรณีจดทะเบียนสมรสกับบุคคลหลายคนภายใต้สถานะสมรสเดิม
ป.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2495 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2503 และจดทะเบียนสมรวกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2507 วันที่ 24 มิถุนายน 2507 ป.จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม 2507 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 อีก และหลังจากนั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม 2507 โจทก์กับ ป.จึงได้จดทะเบียนสมรสกันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง วันที่ 1 เมษายน 2519 ป.ถึงแก่กรรมเช่นนี้ การจดทะเบียนสมรสระหว่าง ป.กับโจทก์ครั้งแรกและระหว่าง ป.กับจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 (3) เพราะในขณะนั้น ป.เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว จึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะปรากฏว่าได้จดทะเบียนหย่ากับ ป.ทำให้การสมรสขาดลง แต่ต่อมาก็ได้จดทะเบียนสมกันกันใหม่โดยสมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมายเพราะการสมรสระหว่าง ป.กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เป็นโมฆะมาตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว การที่โจทก์มาจดทะเบียนสมรสกับ ป. ครั้งหลังอีกจึงเป็นโมฆะเพราะขณะนั้น ป.เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียวของ ป. มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.เป็นโมฆะ