คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ม. 84

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษทางอาญาที่เปลี่ยนแปลงหลังกระทำผิด: การใช้กฎหมายที่เบากว่าแก่จำเลย
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 35 นั้น ปรากฎว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84 แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91 ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทลงโทษกฎหมายเลือกตั้ง: การใช้บทกฎหมายที่มีผลต่อจำเลยมากที่สุด แม้กฎหมายจะมีการแก้ไข
บทกำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35 นั้นปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด คือมาตรา 84แตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือมาตรา 91ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 22 ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 84 กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี แต่อัตราโทษตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ จำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ดังนี้เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่า มาตรา 91ที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดมากกว่าตามมาตรา 84 เดิม ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ จึงต้องใช้มาตรา 91ที่แก้ไขเป็นบทลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในความผิด พ.ร.บ.การเลือกตั้ง: คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่สิทธิส่วนตัว
บทบัญญัติมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหาจากการถูกจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ผู้ที่จูงใจหรือผู้อื่นโดยไม่สมัครใจ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมไม่ได้คุ้มครองบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ดังนั้น ถึงแม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดต่อบทกฎหมายดังกล่าวก็ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อรัฐ ไม่ใช่กระทำความผิดต่อโจทก์แม้โจทก์จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยผู้หนึ่ง โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฐานนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้ง: ผู้สมัครส.ส.ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในความผิดตามพ.ร.บ.การเลือกตั้ง
บทบัญญัติมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหาจากการถูกจูงใจให้ลง คะแนนเลือกตั้งแก่ผู้ที่จูงใจหรือผู้อื่นโดยไม่สมัครใจ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมไม่ได้คุ้มครองบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ดังนั้น ถึงแม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดต่อบทกฎหมายดังกล่าวก็ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ต่อรัฐ ไม่ใช่กระทำความผิดต่อโจทก์แม้โจทก์จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยผู้หนึ่ง โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฐานนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการเลือกตั้ง: การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ vs. ผู้เสียหายเฉพาะ
บทบัญญัติมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหาจากการถูกจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ผู้ที่จูงใจหรือผู้อื่นโดยไม่สมัครใจ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมไม่ได้คุ้มครองบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ดังนั้น ถึงแม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดต่อบทกฎหมายดังกล่าวก็ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อรัฐ ไม่ใช่กระทำความผิดต่อโจทก์แม้โจทก์จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยผู้หนึ่ง โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอทรัพย์สินเพื่อจูงใจในการเลือกตั้ง: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
แม้จะฟังเป็นความจริงว่าจำเลยพูดปราศรัยให้ประชาชนฟังและแจกจ้างวานให้ผู้สนับสนุนของจำเลยแจกและปิดประกาศใบปลิวแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้จำเลยโดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน หรือทรัพย์สินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการสาธารณกุศลทั่ว ๆ ไปดังฟ้องก็เป็นกรณีที่จำเลยเสนอจะให้เงินและทรัพย์สินอื่นแก่กิจการสาธารณกุศล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจำเลย มิได้ห้ามมิให้เลือกโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ มิใช่กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอให้เงินเพื่อจูงใจลงคะแนน: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
แม้จะฟังเป็นความจริงว่าจำเลยพูดปราศรัยให้ประชาชนฟังและแจกจ้างวานให้ผู้สนับสนุนของจำเลยแจกและปิดประกาศใบปลิวแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้จำเลย โดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการสาธารณกุศลทั่ว ๆ ไปดังฟ้องก็เป็นกรณีที่จำเลยเสนอจะให้เงินและทรัพย์สินอื่นแก่กิจการสาธารณกุศล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจำเลยมิได้ห้ามมิให้เลือกโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ มิใช่กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอเงินเพื่อจูงใจในการเลือกตั้ง: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
แม้จะฟังเป็นความจริงว่าจำเลยพูดปราศรัยให้ประชาชนฟังและแจกจ้างวานให้ผู้สนับสนุนของจำเลยแจกและปิดประกาศใบปลิวแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อจูงใจให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้จำเลย โดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการสาธารณกุศลทั่ว ๆ ไปดังฟ้องก็เป็นกรณีที่จำเลยเสนอจะให้เงินและทรัพย์สินอื่นแก่กิจการสาธารณกุศล เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกจำเลยมิได้ห้ามมิให้เลือกโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ มิใช่กระทำต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด และคำร้องต้องชัดเจนไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะต้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่ และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออกพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52 จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ ต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การบรรยายฟ้องต้องครบองค์ประกอบ
การกระทำของข้าราชการที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2522 มาตรา 15 จะต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเป็นปลัดกระทรวงการคลังและเป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงไทย จำกัด โดยตำแหน่งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่อย่างไร การให้ข่าวแก่นักหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อในสมัยที่โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ และการให้ข่าวเช่นนั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5).
of 2