พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากการประสบอันตรายในการทำงานเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้ว ยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างโดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานเพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรงมิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้ว ในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือน การผิดนัดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้ว ในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือน การผิดนัดของจำเลยย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายจากการทำงาน: การบาดเจ็บจากเหตุภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่
ลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ปิดเปิดเครื่องกั้นถนนถูกคนร้ายใช้ปืนยิงได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างอย่างไร ตามทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็เพียงสันนิษฐานว่าคนร้ายยิงผิดตัวเข้าใจว่าลูกจ้างเป็นลูกจ้างของโจทก์อีกคนหนึ่งซึ่งเข้าเวรก่อนหน้านั้น สาเหตุที่ลูกจ้างถูกคนร้ายยิงจึงยังไม่เป็น ที่แน่ชัด แม้จะเป็นการได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานก็ถือไม่ได้ว่า ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงลูกจ้างบนเรือบรรทุกน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินทดแทน
ส. ลูกจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งคนครัวประจำเรือบรรทุกน้ำมัน ระหว่างปฏิบัติงานในเรือ โจทก์จะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โดยหนึ่งเดือนจะได้ หยุดงาน 7 วันติดต่อกันและไม่ได้เบี้ยเลี้ยง การปฏิบัติงานของ ส. ระหว่างเรือออกปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันจึงมิใช่เป็นการไปทำงาน นอกสถานที่เป็นครั้งคราวเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างซึ่งจะต้อง นำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเงินทดแทนคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้โจทก์ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนเอง
เมื่อปรากฏว่าหลังจากประสบอันตรายแล้วลูกจ้างโจทก์ไปทำงานตามปกติทุกวัน แต่จำเลยฟังข้อเท็จจริงผิดไปว่าลูกจ้างโจทก์ไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลา 21 วัน จึงได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบ และแม้โจทก์จะเป็นผู้ทำให้จำเลยเข้าใจข้อเท็จจริงนี้ผิดไปก็ตาม การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเกิดจากความเข้าใจผิดก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใด ทั้งหามีกฎหมายใดบัญญัติให้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลในกรณีนี้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการไปดูประกาศประจำวัน ไม่ถือเป็นการทำงาน จึงไม่เป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่าทดแทน
บ. เป็นพนักงานขับรถของโจทก์ การปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานให้โจทก์ก็คือการขับรถ แม้กฎข้อบังคับและระเบียบการเดินรถจะได้กำหนดให้พนักงานขับรถต้องไปอ่านประกาศประจำวันเพื่อให้พนักงานขับรถทราบว่าตนมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ การที่ บ. ไปดูประกาศประจำวันจึงมิใช่การทำงาน ดังนั้น เมื่อ บ. ประสบอันตรายแก่กายขณะเดินไปดูประกาศดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า บ. ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่โจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ่ายค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329-1330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพบางส่วนของอวัยวะ และการรวมค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายกระดูกสันหลังแตกยุบเป็นเหตุให้ขาทั้งสองข้างสูญเสียสมรรถภาพอย่างถาวรข้างละร้อยละ 7 นั้น การคำนวณค่าทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54(2)มิใช่ข้อ 54(3) เพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของขาทั้งสองข้างไปเพียงบางส่วนซึ่งตามข้อ 54 วรรคสอง ให้ถือว่าลูกจ้างสูญเสียอวัยวะนั้นด้วย จึงต้องคำนวณค่าทดแทนรายเดือนเทียบส่วนร้อยละจากระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามข้อ 54(2)
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติ และวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย
ค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างมีวิธีการจ่ายเช่นเดียวกับการจ่ายค่าจ้างตามปกติ และวัตถุประสงค์ของการจ่ายก็เพื่อให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่าค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย: การคำนวณค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินค่าครองชีพให้ลูกจ้างทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนไม่แตกต่างไปจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย
เมื่อเงินค่าครองชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมาคำนวณเป็นค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯ ข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน ต้องพิสูจน์ความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างงานและโรคที่เป็นเหตุ
โรคหรือการเจ็บป่วยอย่างอื่นที่ทำให้ลูกจ้างถึงแก่ ความตาย อันเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องโรคซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการทำงานฯ ข้อ 22 จะต้องเป็นโรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างโดยตรงหรืออีกนัยหนึ่งก็คืองานที่ลูกจ้างทำนั้นเป็นมูลให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยขึ้นและเป็นเหตุให้ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคและการเจ็บป่วยดังกล่าวปกติลูกจ้างผู้ตายมีหน้าที่คุมประแจทำความสะอาดสถานีรถไฟและแขวนห่วงทางสะดวกมิใช่เป็นงานที่ก่อให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยเป็นลมในปัจจุบันเมื่อปรากฏว่าผู้ตายมิได้ทำงานตรากตรำแต่ทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุดและถึงแก่ความตายทันทีทันใดที่ปฏิบัติหน้าที่และกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยซึ่งเป็นผลเนื่องจากการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทนหลังประนีประนอมยอมความ ย่อมไม่ขัดกฎหมาย
ท. ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท. แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้งจำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสองกำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธิทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3