คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 339

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอท้ายฟ้องอาญา การพิพากษาเกินคำขอ และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
รายการในฟ้องส่วนที่เป็นคำขอท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ระบุแต่เพียงให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บังคับว่าต้องระบุวรรคมาด้วยไม่ ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืน ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 339 โดยไม่ได้ระบุวรรคมาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง ได้ มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ปัญหาดังกล่าวแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ ต้องพิจารณาพฤติการณ์การใช้ยานพาหนะโดยตรง
การบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด เพื่อพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุมเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับหนักขึ้นเท่านั้น ส่วนปัญหาว่ารถของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ขับรถของกลางไปจอดรอด้านหน้า แล้วลงจากรถมาปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย เมื่อได้ทรัพย์แล้วก็พากันขึ้นรถของกลางหลบหนีไป เป็นเพียงใช้รถเพื่อสะดวกและรวดเร็วในการกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถของกลางในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยตรงแต่อย่างใดรถของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะในการชิงทรัพย์: พฤติการณ์ต้องแสดงเจตนาใช้โดยตรงในการกระทำความผิด
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด พาทรัพย์นั้นไป และเพื่อให้พ้นการจับกุมอันเป็นการบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี ซึ่งเป็นเพียงบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้นเท่านั้น หาได้บัญญัติให้ถือว่ายานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดด้วยไม่ ปัญหาที่ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางซึ่งผู้กระทำความผิดใช้เป็นยานพาหนะจะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดซึ่งศาลพึงสั่งริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 กับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางผ่านผู้เสียหายไปแล้วไปหยุดรอด้านหน้าผู้เสียหาย พวกของจำเลยที่ 1 ลงจากรถจักรยานยนต์ของกลางเดินไปหาผู้เสียหายแล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายและแย่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหาย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารับพวกของจำเลยที่ 1 หลบหนีไป พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 กับพวกคงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาใช้รถจักรยานยนต์ของกลางไปและกลับในการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำผิดชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10143/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการชิงทรัพย์ - การทำร้ายร่างกาย - รอการลงโทษ
ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อน ไปเที่ยวดื่มสุราด้วยกัน พยานโจทก์ที่ไปในที่เกิดเหตุกับจำเลยและผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะที่กำลังรอรถโดยสารประจำทางอยู่นั้น จำเลยกับผู้เสียหายกอดกันในฐานะคนรัก หลังเกิดเหตุเมื่อสิบตำรวจเอก ป. ตามไปพบจำเลยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงประมาณ 100 เมตร พบจำเลยถอดเสื้อเอาเสื้อพาดบ่าไว้ โดยจำเลยมีอาการมึนเมาและร้อยตำรวจโท น. พนักงานสอบสวนก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะจับตัวจำเลย จำเลยมีอาการมึนเมา จากพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่าจำเลยรู้จักคุ้นเคยกับผู้เสียหายและจำเลยกระทำในขณะมึนเมา การที่จำเลยเอาสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปนั้นไม่ได้ประสงค์จะเอาไปในลักษณะเป็นการประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยมิได้เจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8406/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามชิงทรัพย์-มีอาวุธปืน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานพยายามชิงทรัพย์ ลดโทษจากสำเร็จเป็นพยายาม และพิจารณาประโยชน์โทษจำเลย
ขณะที่จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองของผู้เสียหายสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองที่อยู่ในมือนั้น จำเลยก็เพียงมุ่งหมายที่จะให้สร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองหลุดจากคอผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นเพียงแย่งการครอบครองเท่านั้น แต่หลังจากสร้อยคอทองคำและกระดูกเลี่ยมทองขาดตกลงที่พื้นแล้ว จำเลยก็ไม่ได้เข้ายึดถือเอาสร้อยคอทองคำพร้อมกระดูกเลี่ยมทองอันจะเห็นได้ว่ามีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปสำเร็จ จึงเป็นพยายามชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ มีเจตนาใช้รถเพื่อหลบหนีและพาทรัพย์สินไป กระทบความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม
จำเลยเดินไปหยิบเอาเงินเหรียญกษาปณ์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่ได้พูดหรือทำกิริยาอาการอย่างใดที่ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยหยิบเอาเงินเหรียญกษาปณ์ของผู้เสียหายแล้วได้วิ่งหนีไปนั่งรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งจอดอยู่หน้าร้านค้าที่เกิดเหตุเพื่อหลบหนีและผู้เสียหายวิ่งตามไปทันขณะจำเลยนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ดังกล่าว แล้วจำเลยถูกผู้เสียหายกระชากคอเสื้อและบิดกุญแจรถดับเครื่องยนต์เพื่อแย่งเอาเงินคืน จำเลยได้เตะผู้เสียหาย 1 ครั้ง การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต การที่จำเลยเตะผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามไปแย่งเอาเงินคืนนั้นจึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายขัดขวางการหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเพื่อการพาทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุแล้วก่อเหตุทั้งเมื่อจำเลยได้ทรัพย์ของผู้เสียหายไปแล้วจำเลยก็วิ่งหนีไปนั่งรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งจอดไว้หน้าร้านค้าที่เกิดเหตุและติดเครื่องยนต์แต่ผู้เสียหายวิ่งตามไปทันจึงกระชากคอเสื้อจำเลยแล้วบิดกุญแจรถดับเครื่องยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุแล้วก่อเหตุและใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษและรอการลงโทษเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน แม้ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โดยจำเลยไม่ได้ขอให้อนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิดและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้วการกระทำของจำเลยสร้างความเดือนร้อนแก่เจ้าของทรัพย์ กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี จำเลยจึงต้องระวางโทษหนักกว่าอีกกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 340 ตรี เป็นระวางโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือน ดังนั้น แม้วางโทษจำคุกขั้นต่ำแก่จำเลยและจำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วก็ยังคงต้องลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี 9 เดือน โทษจำคุกจึงเกิน 3 ปี ไม่อาจรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งทรัพย์โดยไม่เจตนาชิงทรัพย์ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ
เหตุที่จำเลยทำร้ายทุบบริเวณท้ายทอยและหลังของผู้เสียหายที่ 2 ในตอนแรก มีสาเหตุจากการที่ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปปลุกจำเลยขณะหลับอยู่บนรถโดยสารมินิบัสของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งขณะนั้นจำเลยมีการเมาสุรา เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ถามจำเลยว่าจะลงจากรถหรือไม่ จำเลยตอบว่าลง และเดินไปที่ประตูด้านหลังของรถยนต์มินิบัสแต่กลับย้อนมาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีก ผู้เสียหายที่ 2 พยายามใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารต่อสู้กับจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารแล้วลงจากรถวิ่งหนีไปเป็นเพราะจำเลยเมาสุราและไม่ประสงค์จะต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารจากผู้เสียหายที่ 2 ไป ก็เพราะไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตามมาทำร้ายจำเลยอีก หากจำเลยประสงค์จะชิงทรัพย์จำเลยอาจหยิบเอาเฉพาะเงินจากกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสาร ทิ้งกระบอกตั๋วไว้แล้วหลบหนีไปก็อาจกระทำได้ การที่จำเลยยังคงมีกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตัวอยู่ ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้ใดนำกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารมาทำร้ายจำเลยอีก การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการพาเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ไม่ได้เกิดโดยเจตนาทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญผู้เสียหายโดยอ้างเป็นตำรวจ เปลี่ยนข้อหาจากชิงทรัพย์เป็นกรรโชก
จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายโดยกล่าวอ้างแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และขู่ว่าจะยัดยาบ้าให้เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ขู่เข็ญผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้จำเลยได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญ อันเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคหนึ่ง ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความจะแตกต่างจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องก็ตาม แต่การชิงทรัพย์และกรรโชกก็เป็นการขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง และมาตรา 215 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืนต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่งนั้น หาใช่เรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายืนโทษจำคุกตลอดชีวิต และวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องการเพิ่มโทษ
จำเลยชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การที่ ป.อ. มาตรา 340 ตรี บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 โดยใช้อาวุธปืน ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 339 กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ จะนำ ป.อ. มาตรา 51 มาเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี เพื่อระวางโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งไม่ได้ จึงนำ ป.อ. มาตรา 340 ตรี มาปรับด้วยไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคท้าย
of 35