พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยาทำให้มึนเมาเพื่อชิงทรัพย์ ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้ยาทำให้ผู้เสียหายมึนเมา เป็นเหตุให้ตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะขัดขืนได้ ดังนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อจำเลยได้กระทำการดังนั้นเพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวและเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ในความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทน แต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลงจำเลยไม่พอใจ จึงได้ทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาปืนผู้เสียหายไปทิ้งที่ปรักน้ำกลางทุ่งนาเพราะกลัวผู้เสียหายจะยิงเอาการเอาปืนไปทิ้งน้ำโดยไม่นำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้งจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนไฟฉายนั้นผู้เสียหายก็ให้จำเลยไปส่องทาง จำเลยเอาไปไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายและการเอาทรัพย์ไปทิ้งโดยไม่มีเจตนาชิงทรัพย์ ศาลลดโทษจากเดิม
จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทนแต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลง จำเลยไม่พอใจ จึงได้ทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาปืนผู้เสียหายไปทิ้งที่ปรักน้ำกลางทุ่งนาเพราะกลัวผู้เสียหายจะยิงเอา การเอาปืนไปทิ้งน้ำโดยไม่นำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้ง จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนไฟฉายนั้นผู้เสียหายก็ให้จำเลยไปส่องทาง จำเลยเอาไป ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรู้ร่วมคิดชิงทรัพย์และการแยกทางก่อนเกิดเหตุร้าย ผู้ร่วมกระทำผิดไม่ต้องรับผิดต่อเหตุร้ายนั้น
จำเลยสมคบกับนายสมศักดิ์ทำการชิงทรัพย์ แล้วพากันหลบหนี นายสมศักดิ์ได้ใช้มีดแทงสิบตำรวจโทแม้นถึงแก่ความตายเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นการจับกุม เมื่อได้แยกทางกับจำเลยไปคนละทิศละทางแล้ว ถือได้ว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการชิงทรัพย์ของจำเลยและนายสมศักดิ์ขาดตอนจากกันแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรค 2 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีอัตราโทษหนักกว่า ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคงผิดมาตรา 339 วรรค 2 ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยได้
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรค 2 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีอัตราโทษหนักกว่า ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคงผิดมาตรา 339 วรรค 2 ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมกระทำชิงทรัพย์ เมื่อเหตุการณ์ขาดตอนจากกัน และขอบเขตการอุทธรณ์โทษ
จำเลยสมคบกับนายสมศักดิ์ทำการชิงทรัพย์ แล้วพากันหลบหนีนายสมศักดิ์ได้ใช้มีดแทงสิบตำรวจโทแม้นถึงแก่ความตายเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นการจับกุม เมื่อได้แยกทางกับจำเลยไปคนละทิศละทางแล้ว ถือได้ว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการชิงทรัพย์ของจำเลยและนายสมศักดิ์ขาดตอนจากกันแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีอัตราโทษหนักกว่า ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคงผิดมาตรา 339 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยได้
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339วรรคสอง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทที่มีอัตราโทษหนักกว่า ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แล้ว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยคงผิดมาตรา 339 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความต่อเนื่องของการกระทำผิด ลักทรัพย์-ชิงทรัพย์ การรับผิดในความตายจากเหตุชิงทรัพย์
การที่พวกจเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายภายหลังที่จำเลยหยิบทรัพย์แล้ว เป็นการกระทำต่อเนื่องกันกับการลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การที่จำเลยกับพวกจะพาทรัพย์หนีหรือเพื่อปกปิดการกระทำผิด หาใช่การชิงทรัพย์ขาดตอนแล้วไม่ จำเลยต้องร่วมรับผิดในผลที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าวแต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลย 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญแห่งคดี
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าวแต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลย 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่อเนื่อง ลักทรัพย์-ฆ่า ปิดบังความผิด ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
การที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายภายหลังที่จำเลยหยิบทรัพย์แล้ว เป็นการกระทำต่อเนื่องกันกับการลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การที่จำเลยกับพวกจะพาทรัพย์หนีหรือเพื่อปกปิดการกระทำผิด หาใช่การชิงทรัพย์ขาดตอนแล้วไม่ จำเลยต้องร่วมรับผิดในผลที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าว แต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลข 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่ จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสารสำคัญแห่งคดี
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าว แต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลข 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่ จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสารสำคัญแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดชิงทรัพย์: พฤติการณ์แวดล้อมบ่งชี้การช่วยเหลือและสนับสนุน
การที่จำเลยยืนอยู่กับพวก พวกของจำเลยเข้าไปทักทายผู้เสียหายที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วเดินคุยรวมมากับผู้เสียหาย จำเลยเดินรวมมากับพวกของจำเลยด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกของจำเลยรัดคอและรูดเอานาฬิกาข้อมือผู้เสียหาย จำเลยยืนกระหนาบอยู่ข้าง ๆ ผู้เสียหาย จำเลยวิ่งหนีเข้าวัด พวกของจำเลยวิ่งตามไปนั้น เป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดกับพวกของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการชิงทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาในการช่วยเหลือการกระทำผิดของผู้อื่น
การที่จำเลยยืนอยู่กับพวก พวกของจำเลยเข้าไปทักทายผู้เสียหายที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วเดินคุยรวมมากับผู้เสียหาย จำเลยเดินรวมมากับพวกของจำเลยด้วยเมื่อถึงที่เกิดเหตุ พวกของจำเลยรัดคอและรูดเอานาฬิกาข้อมือผู้เสียหาย จำเลยยืนกระหนาบอยู่ข้างๆ ผู้เสียหาย พวกของจำเลยรูดเอานาฬิกาข้อมือได้แล้วจำเลยวิ่งหนีเข้าวัด พวกของจำเลยวิ่งตามไปนั้นเป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ถือได้ว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดกับพวกของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากปล้นทรัพย์เป็นชิงทรัพย์เมื่อจำนวนผู้กระทำผิดไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลย(สองคน) สมคบกันปล้นโคของเจ้าทรัพย์ไป ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้ร้าย 3 คน ร่วมกันกระทำผิดรายนี้ ก็ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้ ต้องลงโทษฐานชิงทรัพย์ ตาม มาตรา 339