พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว. พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส.ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องจำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไป แต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล.หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้น เมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อ ต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกาย การที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เวลากลางคืน, ทำร้ายร่างกาย, เจตนา, ความร่วมมือ, อำนาจศาล
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่อง จำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไปแต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล. หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้นเมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกายการที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391 คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วยเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้ายประกอบด้วยมาตรา 215,225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จะได้ร่วมชักถามผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 3เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีชิงทรัพย์โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ขณะที่คนร้ายขับจักรยานยนต์ผ่านผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ได้สังเกต เมื่อคนร้ายหยุดรถผู้เสียหายไม่สนใจว่า จะหยุดรถทำไมจนกระทั่งคนร้ายลงจากรถจักรยานยนต์ เข้ามาตบที่กกหูด้านซ้ายของผู้เสียหายแล้วกระชากสร้อยคอทองคำไป ผู้เสียหายไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์ในระยะเวลากะทันหันเช่นนั้น ผู้เสียหายเป็นผู้หญิงย่อมตกใจกลัวเป็นธรรมดา ทั้งได้ความว่าเมื่อถูกตบแล้วรู้สึกมึนงงดังนั้น ที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำจำเลยได้จึงเป็นที่น่าสงสัยอยู่ส่วนที่อ้างว่าจำจำเลยได้เพราะจำเลยสวมกางเกงขาสั้นสีดำและเสื้อยืดคอกลมสีน้ำเงินนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเสื้อยืดที่คนร้ายสวมใส่มีลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นที่จะทำให้จดจำได้ง่ายทั้งเป็นเสื้อผ้าธรรมดาที่คนทั่วไปสวมใส่กัน เมื่อผู้เสียหายตามไปพบจำเลยและได้กล่าวหาจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ กระชากสร้อยคอทองคำไป ผู้เสียหายจงให้ พ. ไปตามเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ถ้าจำเลยเป็นคนร้ายจริงจำเลยย่อมหลบหนีไปเสียตั้งแต่ตอนนั้นคงไม่อยู่รอให้เจ้าพนักงานตำรวจมาจับกุมจำเลยเป็นแน่ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมาทั้งของกลางก็ไม่ได้จากตัวจำเลย พยานหลักฐานโจทก์จึงยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังข่มขู่เรียกทรัพย์จากผู้เสียหายในสถานบันเทิง
เมื่อ น. เจ้าของบาร์โชว์เปลือยต้องการคิดเงินจากผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จำนวน 8,600 บาทผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมรับว่าราคาเครื่องดื่มเป็นเงินจำนวนดังกล่าว น. ก็ควรต้องดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะชอบการที่พนักงานเก็บเงินกับจำเลยทั้งสองตบหน้าและผลักหน้าท้องผู้เสียหายที่ 2ซึ่งกำลังตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน จึงเป็นการใช้แรงกายภาพและกระทำทุกทางเพื่อเอาให้ได้ซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 1 โดยทุจริตจนผู้เสียหายที่ 1 ต้องยื่นเงิน 100 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้พนักงานเก็บเงินอันเป็นผลมาจากจำเลยทั้งสองใช้กำลังประทุษร้ายการกระทำทั้งหมดของจำเลยทั้งสองกับพวกเป็นการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ทำร้ายร่างกายเพื่อเรียกเงินค่าจอดรถ ไม่เข้าข่ายชิงทรัพย์
จำเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ10บาทแต่ผู้เสียหายทั้งสองไม่ให้จำเลยจึงพูดขู่จะต่อยผู้เสียหายที่1และนำเอาอาวุธมีดปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่2ประมาณ7ถึง8นิ้วแล้วพูดขู่ให้ส่งเงินให้ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยคนละ10บาทแม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองแต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มิได้ขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้นแสดงว่าจำเลยมิได้มุ่งหมายขู่บังคับเอาเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงมาแต่แรกเงินที่จำเลยเรียกเก็บเป็นเงิน10บาทเท่ากันทุกรายและมิได้ขู่เข็ญเอาเงินจากผู้ขับรถมากเกินไปจากนี้เพียงแต่ว่าหากผู้ขับรถรายใดไม่ให้ค่าจอดรถก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่นหรือหากยืนยันจะจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุจำเลยจึงขู่เข็ญจะทำร้ายซึ่งผู้ขับรถและผู้เสียหายทั้งสองยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินจำเลยหรือไม่ก็ได้หากไม่ให้เงินก็นำรถไปจอดที่อื่นมิฉะนั้นอาจถูกทำร้ายตามที่จำเลยขู่การขู่เข็ญของจำเลยจึงเป็นการขู่โดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และไม่อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้แต่การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถแก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองจนผู้เสียหายทั้งสองยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขู่กรรโชกเรียกเก็บค่าจอดรถ แม้ไม่มีอำนาจ แต่มีเงื่อนไข ไม่เป็นชิงทรัพย์
จำเลยตระเวนเก็บค่าจอดรถจากผู้ที่นำรถยนต์มาจอดโดยไม่มีสิทธิ ย.ขับรถยนต์สามล้อมาจอด เมื่อจำเลยขอเงินจำนวน 10 บาท เป็นค่าจอดรถ ย. ไม่ให้ จำเลยขู่ว่าถ้าจะจอดที่นี่ต้องเสียเงินถ้าไม่ให้เงินจะต่อย ย. จึงให้เงิน10 บาท แก่จำเลย ส่วนบ.ขับรถยนต์แท็กซี่มาจอดจำเลยเข้ามาขอเงินจำนวน 10 บาท เป็นค่าจอดรถ บ.ไม่ยอมให้ จำเลยบอกว่าถ้าไม่ให้ก็ไม่ต้องจอดและ นำมีดปลายแหลมออกมาจ่อที่ไหล่ แล้วพูดขู่ให้ส่งเงิน การที่ ย.กลัวว่าจะถูกต่อยจึงมอบเงินให้จำเลยไปก็ดีและบ.ยอมจ่ายเงินให้จำเลยเนื่องจากกลัวว่าจำเลยจะใช้มีดแทง แต่จำเลยยังไม่ได้เงินจากบ.ก็ดี แม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บค่าจอดรถแต่จำเลยก็มิได้ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตั้งแต่ต้นเงินที่จำเลยเรียกเก็บเท่ากันทุกรายและมิได้ขู่เข็ญเอาเงินเกินไปจากนี้ เพียงแต่ว่าหากไม่ให้ก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่นหรือ หากยืนยันจะจอดจำเลยจึงขู่เข็ญจะทำร้ายผู้ที่ไม่ยอมจ่ายเงินให้เท่านั้น ย. และบ. ยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินจำเลยหรือไม่ การขู่เข็ญจึงมีเงื่อนไขมิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของ ย. และบ.โดยตรง จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้ แต่เป็นการข่มขืนใจให้ยอมมอบให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถ แก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกายของ ย. และบ. จนยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธในการเบิกความ, บาดเจ็บไม่ร้ายแรง, อายุความคดีทำร้ายร่างกาย ทำให้ศาลยกฟ้อง
ในทางนำสืบโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานแต่คำเบิกความของผู้เสียหายกับจำเลยยันกับอยู่จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้มขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3เซนติเมตรมีรอยถลอกเป็นทาง1เซนติเมตรที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผลบาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคนใช้เวลารักษาประมาณ10วันหายถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจการจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ด้วยเมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณามีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนจึงมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา95(5)นับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่29เมษายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16กรกฎาคม2535เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำได้ตัวผู้กระทำผิดจากพยานผู้เสียหาย: การยืนยันรูปพรรณและของกลางที่ตรงกัน
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันมองเห็นกันได้ชัดเจนจำเลยขับรถจักรยานยนต์ผ่านผู้เสียหายไปแล้วกลับรถมาพูดคุยกับผู้เสียหายเป็นเวลานานพอสมควรที่ผู้เสียหายจะสังเกตและจำจำเลยได้เมื่อไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจที่ป้อมตำรวจและแจ้งต่อพนักงานสอบสวนผู้เสียหายก็ยืนยันว่าจำคนร้ายได้และระบุรูปพรรณคนร้ายตลอดจนเสื้อผ้าที่คนร้ายสวมใส่โดยละเอียดก่อนจับจำเลยได้เจ้าพนักงานตำรวจนำภาพถ่ายนักโทษมาให้ผู้เสียหายดูผู้เสียหายว่าไม่ใช่คนร้ายต่อมาได้นำภาพถ่ายจำเลยในใบขับขี่รถจักรยานยนต์มาให้ดูผู้เสียหายจึงบอกว่าเป็นคนร้ายขณะตรวจค้นบ้านของจำเลยผู้เสียหายได้ชี้บอกถึงกระเป๋าสะพายผ้าร่มสีดำและเสื้อที่จำเลยสวมใส่วันเกิดเหตุตรงกับที่แจ้งความไว้แต่แรกให้เจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลางเชื่อได้ว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้ยานพาหนะหลบหนีหลังชิงทรัพย์ ถือความผิดตาม ม.340 ตรี แม้คืนรถภายหลัง
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของส. ไปซื้อส้มตำจากผู้เสียหายแม้จำเลยเพิ่งมีเจตนาชิงทรัพย์ผู้เสียหายขณะเห็นผู้เสียหายกำลังตำส้มตำแต่ในขณะนั้นจำเลยย่อมทราบดีว่าเมื่อกระทำความผิดแล้วจำเลยต้องใช้รถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับมาเป็นยานพาหนะในการหลบหนีจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าไม่มีเจตนาใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์ที่ชิงได้มานั้นไปหรือพาตนเองให้พ้นจากการจับกุมส่วนการที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ไปคืนที่บ้านส. ก็เป็นเรื่องหลังจากจำเลยกระทำความผิดสำเร็จแล้วการกระทำของจำเลยเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม