พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับเงินชดเชย แม้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานโดยตรง และเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ไม่ใช่เงินชดเชย
คำว่า นายจ้าง ลูกจ้าง ตามความหมายของกฎหมายแรงงานหมายรวมถึงบุคคลผู้เข้าทำงานให้แก่บุคคลอื่นใน งานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมโดยได้รับค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทั่วไป หากลูกจ้างประเภทใดที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานก็กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ อันมีข้าราชการและข้าราชการส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แม้ฐานะของโจทก์จะเรียกว่า พนักงาน มิได้เรียกลูกจ้างโดยตรง ก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับความคุ้มครองของกฎหมายแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 3 แก้ไขฉบับที่ 3 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507 ข้อ 2 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำการอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วจำเลยก็ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น ข้อ 12
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์
เงินชดเชยเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับตามกฎหมาย มิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายฐานละเมิดและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องขึ้นได้
เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ ตามข้อบังคับว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลย ที่พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 42 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้น โดยนำเงินสะสมที่หักไว้จากเงินเดือนของโจทก์ทุกเดือน กับเงินของจำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงินสมทบจ่าย มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกันไปจากเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เงินสงเคราะห์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นเงินประเภทอื่นต่างหากจากเงินชดเชย ดังกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่โจทก์