คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมมาตร พรหมมานุกูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้จัดการมรดกไม่เข้ามาดำเนินคดีแทนทายาทภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
จ. ผู้จัดการมรดกของ ฉ. ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับ ฉ. ผู้ตาย จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จ. ถึงแก่กรรม มีผู้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ จ. ศาลฎีกายกคำร้อง และไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของ ฉ. ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน จำเลยก็มิได้ยื่นคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่ความปรากฏแก่ศาล ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
จ. ผู้จัดการมรดกของ ฉ. ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับ ฉ.ผู้ตาย จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จ.ถึงแก่กรรม มีผู้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ จ. ศาลฎีกายกคำร้อง และไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของ ฉ. ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน จำเลยก็มิได้ยื่นคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่ความปรากฏแก่ศาล ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานค้าประเวณีและหน่วงเหนี่ยวกักขัง โดยมีเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ศาลแก้ไขโทษกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกที่หลบหนี โดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไป ซึ่งผู้เสียหายโดยร่วมกันใช้อุบายหลอกลวงความจริงจำเลยกับพวกมีเจตนาพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารผู้เสียหายถูกจำเลยกับพวกพาตัวไปพักที่โรงแรม พ. พวกของจำเลยที่หลบหนีได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่หลายครั้ง ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องและทางพิจารณาที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งให้รับข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปเพื่อสำเร็จความใคร่ของ พ. ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 การที่จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายแล้ว พ.พาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารดังกล่าว ก็โดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายค้ำประเวณีในเวลาต่อมา การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไปโดยเจตนาเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเพียงประการเดียว จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษจำเลยที่ 1บทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคแรกเพียงกระทงเดียว หาใช่เป็นความผิดตามมาตรา 283 วรรคแรก,83 กระทงหนึ่ง และมาตรา 283 วรรคแรก,284 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การตีความผลของการจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง และขอบเขตของสิทธิประโยชน์เดิม
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 1.1 มีความหมายว่า จำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับเงินค่าจ้าง โดยอ้างว่ามีประเพณีปฏิบัติมาตั้งแต่เริ่มมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งได้แยกจ่ายค่าจ้างกับค่าครองชีพออกจากกันมาโดยตลอด และการจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายทุกครั้งซึ่งตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯก็ให้ปฏิบัติต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าสิทธิและผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากข้อตกลงนี้และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนแล้วให้เป็นไปในอัตราและระบบเดิม อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ถึงการแปลความหมายของข้อความ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การนำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯ มีความหมายว่าจำเลยจะต้องไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดคำนวณในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าการดังกล่าวอยู่ในความหมายของคำว่าสิทธิประโยชน์ที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างอยู่ก่อนการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมซึ่งจำเลยจะต้องปฏิบัติไปตามเดิมหรือไม่ อันเป็นการแปลความหมายของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง อุทธรณ์ ของโจทก์ในเรื่องนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน โจทก์อ้างเหตุว่า ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมมุ่งหมายจะให้จำเลยจ่ายค่าครองชีพแยกจากค่าจ้าง โดยจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมาโดยจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ซึ่งหากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยว่าจำเลยจะไม่นำค่าครองชีพมารวมคิดในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างหรือเงินเดือนส่วนตามประกาศรายงานการประชุมตัวแทนลูกจ้างกับบริษัทฯที่ระบุว่าค่าครองชีพไม่ได้นำเข้ามาร่วมกับเงินเดือนหลักเกณฑ์เหมือนเดิมนั้น ก็คือให้จำเลยจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและจ่ายค่าครองชีพแยกจากกันโดยไม่นำมารวมคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามผลของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งหากเป็นความจริง ตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสองประการดังกล่าวก็อาจถือได้ว่าจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับลูกจ้างของจำเลยที่จะไม่นำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และจะจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการที่จำเลยนำค่าครองชีพมารวมกับค่าจ้างหรือเงินเดือนในการคิดคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็อาจเป็นการขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง