พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ: ใบจอง (น.ส.2) และการครอบครองปรปักษ์
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนดจนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐาน โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ แม้จำเลยจะได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์เกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาตจำเลยจึงอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องถึงที่ตั้งของที่ดินพิพาทและเวลาที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาท ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน แม้ไม่ได้ระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ แต่มีแผนที่สังเขปท้ายฟ้องระบุอาณาเขตกว้างยาวไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายส่วนรายละเอียดนอกจากนี้โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายและการแย่งการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 44 ไร่ 1 งาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง โดยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ตลอดมา เมื่อประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2530 จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นไม้ในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ 50 ตารางวา โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ปรากฏตามแผนที่สังเขปแสดงตำแหน่งที่ดินพิพาทในบริเวณระบายสีแดง การละเมิดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเดือนละ 12,100 บาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และให้บังคับจำเลยดังนี้คำฟ้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินที่ทางราชการออกประทานบัตรทำเหมืองแร่ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แล้วห้างฯ ดังกล่าวเลิกดำเนินการไป ทางราชการจึงให้ราษฎรเข้าจับจองโดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามบทกฎหมายข้างต้นที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นที่ดินของรัฐ โจทก์ได้ดำเนินการขออนุญาตจับจองตามที่กฎหมายกำหนด จนทางราชการอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เป็นการชั่วคราวโดยออกใบจอง (น.ส.2) ให้เป็นหลักฐานโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน แม้ทางนำสืบของจำเลยจะได้ความว่าจำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2528 อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต ดังนั้นจำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 199,761.64 บาท จึงมีทุนทรัพย์ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: กรณีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 199,761.64 บาท จึงมีทุนทรัพย์ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่การปลดหนี้ หากเกิดจากการถูกหลอกลวงให้มอบเอกสารคืน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน 4,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน4,000,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันยังไม่ระงับ หนี้หลักยังไม่สิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัตตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน4,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระ ให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าพิสูจน์แนวเขตที่ดินมีผลผูกพัน เมื่อผลการรังวัดยืนยันตามข้อตกลง จำเลยต้องแพ้คดี
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินตามฟ้องจำเลยให้การว่าบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่สาธารณะชายทะเลห่างจากแนวเขตที่ดินตามฟ้องประมาณ 10 วา โจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่าให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดแนวเขตที่ดินตามฟ้อง หากปรากฏว่าบ้านพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้ หากอยู่นอกเขตโจทก์ยอมแพ้ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดและทำแผนที่พิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้แนวเขตที่ดินตามฟ้องตรงกันโดยมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงยืนยันแนวเขตถูกต้อง ได้ความว่าบ้านพิพาทอยู่ในที่ดินตามฟ้อง จึงทำหนังสือพร้อมแนบแผนที่พิพาทส่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยตรวจดู จำเลยตรวจดูเอกสารดังกล่าวแล้วลงลายมือชื่อโดยไม่ได้โต้แย้งข้อความในหนังสือและแผนที่พิพาทว่าไม่ถูกต้องถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าแผนที่พิพาทที่เจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นนั้นถูกต้อง อันเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คู่ความตกลงท้ากันครบถ้วนแล้ว ศาลต้องพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจำเลยจะอ้างว่าเนื้อที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดนั้นเกินไปกว่าจำนวนที่ดินจริงตาม น.ส.3 ก. ของที่ดินตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะน.ส.3 ก. ของที่ดินตามฟ้องมีเนื้อที่เท่าใดไม่เป็นประเด็นในคำท้าเมื่อปรากฏว่าบ้านพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามฟ้องจำเลยจึงต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลการรังวัดที่ดินตามข้อตกลง การปฏิบัติตามเงื่อนไขการท้าพิสูจน์ และผลผูกพันทางกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินตามฟ้องจำเลยให้การว่าบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่สาธารณะชายทะเลห่างจากแนวเขตที่ดินตามฟ้องประมาณ 10 วา โจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดแนวเขตที่ดินตามฟ้อง หากปรากฎว่าบ้านพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้ หากอยู่นอกเขตโจทก์ยอมแพ้ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดและทำแผนที่พิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้แนวเขตที่ดินตามฟ้องตรงกันโดยมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงยืนยันแนวเขตถูกต้อง ได้ความว่าบ้านพิพาทอยู่ในที่ดินตามฟ้อง จึงทำหนังสือพร้อมแนบแผนที่พิพาทส่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยตรวจดู จำเลยตรวจดูเอกสารดังกล่าวแล้วลงลายมือชื่อโดยไม่ได้โต้แย้งข้อความในหนังสือและแผนที่พิพาทว่าไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าแผนที่พิพาทที่เจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นนั้นถูกต้องอันเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คู่ความตกลงท้ากันครบถ้วนแล้ว ศาลต้องพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎนั้น จำเลยจะอ้างว่าเนื้อที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดนั้นเกินไปกว่าจำนวนที่ดินจริงตาม น.ส.3 ก. ของที่ดินตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะน.ส.3 ก.ของที่ดินตามฟ้องมีเนื้อที่เท่าใดไม่เป็นประเด็นในคำท้า เมื่อปรากฎว่าบ้านพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามฟ้องจำเลยจึงต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษและการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์อุทธรณ์ขอไม่ให้รอการลงโทษความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในข้อหาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ