พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ข้อเท็จจริง vs. ข้อกฎหมาย และการลงโทษเจ้าพนักงาน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายเนื่องจากบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 (1) และมาตรา 147,151, 157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2 ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดในฐานะเจ้าพนักงาน vs. ผู้สนับสนุน และขอบเขตการรับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาข้อแรกตามฟ้องข้อ ก. นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการตามฟ้องโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้มาก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า การที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานปากใดมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดตามมาตรา 162 แล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง ซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ ข. ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาด้วยนั้น ปรากฏว่าความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า เอกสารหมาย จ.14 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือการเบิกจ่ายพัสดุและเอกสารหมาย จ.41 ที่พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะใช้ยันจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองซึ่งได้วินิจฉัยเป็นยุติสำหรับจำเลยที่ 1 ไว้ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้มา เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษอย่างเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำของกรมชลประทานโจทก์ร่วม ซึ่งมิใช่ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะให้ถือเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา151,157 เป็นบทบัญญัติที่ลงโทษแก่บุคคลผู้กระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดต่อบทบัญญัติดังกล่าวก็จะลงโทษจำเลยที่ 2 อย่างเจ้าพนักงานไม่ได้ คงลงโทษจำเลยที่ 2ได้แต่เพียงในฐานะผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)และ 247 คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญาขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง: คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และผู้ร้องเป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อคดีนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ ยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาผูกมัดในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่ยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และผู้ร้องเป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อคดีนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาผูกมัดในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2801/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องโดยสงบและเปิดเผย แม้มีการฟ้องแย่งการครอบครองก่อน ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองขาดอายุ
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ขอให้จำเลยส่งคืนแก่โจทก์และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าเดิมที่พิพาทด้านทิศเหนือเป็นของ ท. ตอนกลางถัดมาเป็นของโจทก์ และตอนด้านล่างทิศใต้เป็นของ ว.ท.และโจทก์ได้ขายที่ดินให้จำเลยและจำเลยได้รับยกให้ที่ดินจากบิดามารดาของ ว. จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทเนื่องจากจำเลยครอบครองที่พิพาทของจำเลยเอง ศาลจึงไม่อาจยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถบรรทุก: ศาลแก้ให้ชดใช้ค่าซ่อมจริงตามความเสียหายที่เกิดขึ้น
ทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกละเมิดเป็นรถยนต์บรรทุกช่วยรบขนาด 1.1 ตัน รุ่นยูนีมอกยี่ห้อเมอร์ซีเดส เบนซ์ สำหรับใช้ปฏิบัติการในการช่วยรบที่โจทก์เพิ่งซื้อมาใหม่เป็นพิเศษจากประเทศเยอรมันตะวันตกในราคา1,600,000บาทบริษัทธ.ได้ตรวจสอบความเสียหาย ปรากฏว่ารถได้รับความเสียหายรวม 52 รายการต้องใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต้องสั่งจากประเทศเยอรมันตะวันตกโดยตรงเท่านั้น เมื่อรวมค่าขนส่งทางทะเลและค่าภาษีนำเข้าแล้วเป็นเงิน1,773,800 บาท และค่าแรงอีก 120,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น1,893,800 บาท จึงถือได้ว่าโจทก์เสียหายเป็นเงิน 1,893,800 บาทการที่โจทก์ขอค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมจำนวนดังกล่าว จึงเป็นค่าเสียหายที่ตรงต่อความจริงและโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันวางแผนฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลฎีกาปรับบทกฎหมาย
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมวางแผนฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้