คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 31กรกฎาคม พ.ศ.2521 ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา แม้ทำงานเกิน 120 วัน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับกำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำแต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับบริษัทจำกัดขอบเขตการรวมค่าชดเชยเฉพาะส่วนที่เกินกฎหมาย
เงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปคำนวณตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยภาคผนวก 3 ข้อ 3 ก. ซึ่งข้อ 4 ก. กำหนดว่า 'เงินบำเหน็จที่กล่าวในข้อ 3 จะถือว่าได้รวม ไว้แล้วซึ่งเงินค่าชดเชยที่บริษัทพึงจ่ายตามภาคผนวก 5 ใน ส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนด' และภาคผนวก 5 กำหนดว่า 'ค่าชดเชย (1) ลูกจ้างซึ่งให้ออกจากงานเพราะ มีลูกจ้างเกินอัตราหรือลูกจ้างซึ่งถูกให้ออกจากงานโดย ไม่มีความผิดมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน(2) กรณีลูกจ้างถูกให้ออกจากงาน ถ้าเป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานมาเกินกว่า 6 ปีแล้วให้ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิ ได้รับเงินชดเชยเพิ่มขึ้นอีกในอัตราเท่ากับเงินเดือนของแต่ ละปีเป็นจำนวน 1 เดือนต่อปี ฯลฯ' ดังนี้เห็นได้ว่า เงินบำเหน็จคงรวมไว้แล้วซึ่งค่าชดเชยเฉพาะในส่วนที่เกิน กว่าจำนวนที่กฎหมายแรงงานกำหนดคือตามภาคผนวก 5(2) เท่านั้นมิได้รวมถึงค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแรงงาน ตามภาคผนวก 5(1) เงินบำเหน็จที่โจทก์รับไปแล้วจึงไม่มี ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน รวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเหมาประจำมีสิทธิค่าชดเชย แม้จ่ายค่าแรงตามผลงาน การคำนวณต้องใช้ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพ เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่างๆดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ530บาทก็จะได้รับ 530 บาทแสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะ มีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการโรงแรมที่จ่ายให้ลูกจ้างถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เดิมจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างต่อมาจำเลยยกเลิกเงินค่าครองชีพเปลี่ยนมาจ่ายเป็นเงินค่าบริการให้แก่ลูกจ้าง แทนโดยตกลงว่าค่าบริการที่ลูกจ้างจะได้รับจากจำเลย จะไม่น้อยกว่าเงินค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับอยู่แต่เดิมเมื่อเงินค่าบริการนั้นคือเงินที่จำเลยได้มาโดยวิธีเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรมของจำเลย แล้วนำเงินดังกล่าวมาเก็บรวบรวมไว้ เมื่อถึงวันสิ้นเดือนจำเลยจะนำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมกับค่าจ้างเป็นประจำ ทุกเดือน เงินค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นเงินของจำเลยซึ่งจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำ: ค่าจ้างรายวัน/รายเดือน vs. ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายวันละ 75 บาทค่าครองชีพเดือนละ 400 บาทการคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชยที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจและในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการคำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลยไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าชดเชย, ค่าเสียหาย, และสิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้อย่างต่ำ 1 ปีและไม่เกิน 2 ปีนั้นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้กำหนดนั้นจึงไม่ใช่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่2155/2524) เมื่อค่าจ้างกำหนดจ่ายกันทุกวันที่ 25 ของเดือนและจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 1 มีนาคมโดยบอกกล่าวล่วงหน้าวันที่ 31 มกราคมดังนี้ ระยะเวลาบอกกล่าวล่วงหน้าจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างในวันที่ 25 มีนาคม แม้จำเลยมีหน้าที่ต้องให้รถยนต์โจทก์ใช้ในการทำงานตามสัญญาจ้างก็ตามแต่เมื่อโจทก์เข้าทำงานจำเลยมิได้จัดรถยนต์ให้โจทก์ก็มิได้ทักท้วงกลับใช้รถยนต์ส่วนตัวโดยให้จำเลยออกค่าน้ำมัน ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่นๆเมื่อโจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดจำเลยก็จัดหารถยนต์ให้เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่โดยปริยายแล้วโจทก์จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาหาได้ไม่ การที่จำเลยเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทำงานครบหนึ่งปีนั้นทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างและไม่มีโอกาสจะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 513/2524) เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เป็นธรรมหรือไม่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเหตุใดจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นเป็นการเลิกจ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำกัดสิทธิการแสวงหาความก้าวหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งจะไปสมัครสอบเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยื่นใบลาออกก่อนนั้นเป็นคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิในการแสวงความก้าวหน้าของลูกจ้างเกินความจำเป็น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วยเหตุฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การเลิกจ้าง, ค่าพาหนะ: กรณีลูกจ้างทำร้ายลูกจ้างด้วยกัน
โจทก์มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีนี้แทนเพียงคดีเดียว แม้ใบมอบอำนาจจะระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาหรืออื่นๆ ได้ด้วยก็ตาม ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท เท่านั้น ม. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความจึงมีอำนาจเรียงหรือแต่งคำคู่ความได้ เพราะการเรียงหรือแต่งคำคู่ความไม่ใช่การว่าความอย่างทนายความ การที่โจทก์ชก น.นอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงาน เพราะมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน ทำให้ น.มีบาดแผลเล็กน้อยนั้น เป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลยโดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงหรือทำลายเกียรติคุณของจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงอันจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าค่าพาหนะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าพาหนะเป็นการฟ้องเรียกเงินอีกประเภทหนึ่งต่างหาก และจำนวนค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์ก็มิได้นำค่าพาหนะมารวมคำนวณด้วยจึงไม่ต้องนำค่าพาหนะมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินดังกล่าว กรณีที่สินจ้างจ่ายกันในวันพฤหัสบดีเว้นหนึ่งวันพฤหัสบดีโดยวันอาทิตย์เป็นวันหยุด หนึ่งช่วงเวลาของการจ่ายค่าจ้างจึงเป็นเวลา 12 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ศาลฎีกาจำกัดการใช้ดุลยพินิจเพื่อเพิ่มค่าชดเชยเกินคำขอ หากลูกจ้างไม่ได้อ้างค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมาย
การเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างป่วยไม่อาจปฏิบัติงานให้นายจ้างได้นั้น ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 อันนายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยตามอัตราค่าจ้างสุดท้ายซึ่งต่ำกว่าอัตราตามกฎหมายมาด้วยความสมัครใจ มิได้พลั้งพลาดผิดหลง จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะอ้างความเป็นธรรมนำค่าจ้างที่ลูกจ้างมิได้รับจริงมาเป็นฐานคำนวณให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเกินคำขอ
of 10