คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมิทธิ์ วราอุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 505 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจตัวแทนโจทก์ต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์"โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใดการที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อนเป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้นเมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัยการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่าพนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ.2498มาตรา11(2)กำหนดไว้ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: ไม่ตัดสิทธิกัน, พ.ร.บ.ประกันสังคมเป็นกฎหมายพิเศษ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท และต้องเสียเบี้ยประกันภัย ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย เป็นสิทธิตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบ เมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้ง 2 ทาง และเมื่อ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีก จำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีอื่นอีก จึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันภัยรถยนต์และประกันสังคมไม่ขัดแย้งกัน ผู้รับสิทธิไม่ต้องเสียสิทธิซ้ำซ้อน
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสีย เบี้ยประกันภัยและส่ง เงินสมทบเข้า กองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: เบิกซ้ำซ้อนได้ตามกฎหมายเฉพาะ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทและต้องเสียเบี้ยประกันภัยส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตรายเจ็บป่วยทุพพลภาพหรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีกจึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องประเด็นเดิมที่ยังมิได้วินิจฉัยในคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยชอบแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย การฟ้องใหม่จึงไม่เป็นการรื้อฟ้อง
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมีการแบ่งที่ดินที่ซื้อขายกันเป็น 3 ส่วน ตามสัญญา ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ตามลำดับ และมีข้อตกลงกับเงื่อนไขในการซื้อขายของที่ดินแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันตามข้อสัญญาแต่ละข้อดังกล่าว โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ซึ่งเกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง คดีมีประเด็นในคดีว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ส่วนคดีแพ่งเรื่องเดิมแม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นและศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้วเพราะฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ดังนี้ ผลก็คือศาลฎีกายังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิมว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นที่เคยวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องครั้งหลังไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องซ้ำ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมีการแบ่งที่ดินที่ซื้อขายกันเป็น3 ส่วน ตามสัญญา ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ตามลำดับ และมีข้อตกลงกับเงื่อนไขในการซื้อขายของที่ดินแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันตามข้อสัญญาแต่ละข้อดังกล่าวโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ซึ่งเกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง คดีมีประเด็นในคดีว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ส่วนคดีแพ่งเรื่องเดิมแม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้วเพราะฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ดังนี้ผลก็คือศาลฎีกายังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิมว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว: การพิจารณาภูมิลำเนาและหนังสือทวงถาม
แม้จำเลยที่2จะย้ายทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันที่ทำกับโจทก์แต่จำเลยที่2ก็ยังเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าวอยู่และบ้านหลังนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่1ตลอดมาจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานของจำเลยที่2ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยที่2ด้วยและถือว่าจำเลยที่2มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา45((มาตรา38ใหม่) จำเลยที่2ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30วันจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่2เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การแทงและเหตุการณ์ก่อนหน้า
ผู้เสียหายกับพวกและจำเลยกับพวกดื่มสุราด้วยกันแล้วมีปากเสียงกันมีคนเข้าห้ามปรามจึงแยกย้ายกันไปหลังจากนั้นเมื่อพบกันมีการปรับความเข้าใจและมีปากเสียงกันอีกผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทีพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกันประกอบกับจำเลยแทงผู้เสียหายในทันทีนั้นเพียง1ครั้งแล้วหลบหนีไปโดยไม่ได้แทงซ้ำอีกแม้จะแทงบริเวณหน้าอกข้างขวาใต้ราวนมอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายแต่บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเลือดออกในผนังหน้าอกไม่ได้ลึกถึงอวัยวะสำคัญแสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรงกรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายต้องพักรักษาตัวเกินกว่า20วันจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297(8) การที่ผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทียังไม่พอจะถือว่าเป็นการหยามหน้ากันอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหายจึงไม่ใช่เพราะเหตุบันดาลโทสะ
of 51