คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมิทธิ์ วราอุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 505 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการตายของสามี และการโอนมรดกโดยไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป.และ น.อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป.และ น.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พุทธศักราช2477 เมื่อ น.ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 4 ประกอบพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 4 และเมื่อ ป.สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป.กับ น.ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป.สามีจึงได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วนน.ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น.โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป.ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น.โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.และ น.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป.และ น.มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามแผนประนอมหนี้: ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมแม้มีข้อเท็จจริงใหม่
เมื่อการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นแล้ว ไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไร แม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงผูกมัดเจ้าหนี้ แม้มีทรัพย์สินเพิ่ม ศาลไม่อาจนัดประชุมเพิ่มเติม
เมื่อการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ล้มละลาย คำนวณจากยอดหนี้ที่ประนอมทั้งหมด แม้เจ้าหนี้บางรายถอนคำขอรับชำระหนี้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ให้คิดค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละห้าจากจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ทั้งหมดแม้ต่อมาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้วเจ้าหนี้ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ไป คงเหลือเจ้าหนี้เพียงรายเดียวก็ตาม ก็ต้องคิดจากจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐาน และการตีความบทอาญาต้องเคร่งครัด
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้น จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหาย จึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงเผาทรัพย์สินที่จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากมาตรา 218 เป็น 217
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้นจำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)กประกอบด้วยมาตรา247และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา217จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดจะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแรงแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218แต่เมื่อมาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา217ไว้ด้วยจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา217ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สิน: แม้บัญชีไม่ใช่ของจำเลย ผู้ขออายัดต้องชำระค่าธรรมเนียมเมื่อถอนอายัด
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดจะไปถึงธนาคารโจทก์ได้ทราบว่าเงินฝากนั้นไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากมีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้วและไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311เมื่อโจทก์ถอนการอายัดโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง5ข้อ4ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากโจทก์ไม่ชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินฝากที่ไม่ถูกต้องและค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น แม้ผู้ขออายัดทราบว่าไม่ใช่ของจำเลย
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคาร เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้ว แม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคาร โจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย แต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลย โจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามคำร้องของโจทก์เองว่า โจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว ทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า ขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้น ธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคาร จึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้อง ไม่อาจรับฟังได้ กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามตาราง 5 (4) ท้าย ป.วิ.พ.
การที่ปรากฏว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย และธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้วโจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 ตรี
of 51