พบผลลัพธ์ทั้งหมด 505 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8386/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครอง และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากนาง ว. และจำเลยครอบครองทำประโยชน์เกินกว่าหนึ่งปี ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นคำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์จะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปี นับแต่ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8386/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาชี้ว่าการอ้างสิทธิครอบครองของจำเลย ไม่ทำให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี ตาม ม.1375
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากนางว.และจำเลยครอบครองทำประโยชน์เกินกว่าหนึ่งปีตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแบ่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นคำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์จะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปีนับแต่ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะสัญญาซื้อขาย: ผู้ป่วยทางจิต สัญญาตกเป็นโมฆะ แม้รู้สำนึกผิดชอบบางส่วน
จำเลยนอกจากจะให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์หลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยยังได้ให้การอีกว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าว จำเลยไม่สามารถรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไป การแสดงเจตนาของจำเลยเป็นไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นว่า จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในเอกสารท้ายฟ้องรวมทั้งมอบหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินพิพาทโดยถูกโจทก์หลอกลวงอันเป็นเหตุให้นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยป่วยเป็นโรคจิตทางอารมณ์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นผู้มีจิตไม่สมประกอบจนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โจทก์หลอกลวงจำเลยในขณะที่จำเลยมีสติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ ให้ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท และลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยไม่มีเจตนาที่จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ กรณีถือได้ว่าข้อที่ว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวจำเลยมีสติสัมปชัญญะหรือรู้สำนึกผิดชอบหรือไม่เป็นประเด็นแห่งคดีรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ด้วยทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คงอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้หลอกลวงจำเลยและจำเลยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อันถือเป็นการยอมรับว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นประเด็นในคดี ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขประเด็นเป็นว่าขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารตามฟ้อง จำเลยสามารถรู้สำนึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไปหรือไม่ จึงยังคงอยู่ในประเด็นแห่งคดีและที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้วสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 32(เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137(เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 143(เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินจากผู้มีสติไม่สมบูรณ์ โจทก์ทราบแต่ยังทำสัญญา สิทธิบอกล้าง
จำเลยนอกจากจะให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์หลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความ จำเลยยังได้ให้การอีกว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าว จำเลยไม่สามารถรู้สึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไป การแสดงเจตนาของจำเลยเป็นไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นว่า จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในเอกสารท้ายฟ้องรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินพิพาทโดยถูกโจทก์หลอกลวงอันเป็นเหตุให้นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยป่วยเป็นโรคจิตทางอารมณ์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นผู้มีจิตไม่สมประกอบจนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โจทก์หลอกลวงจำเลยในขณะที่จำเลยมีสติสัมปชัญญะไม่สมประกอบ ให้ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท และลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยไม่มีเจตนาที่จะขายที่ดินให้แก่โจทก์ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะ กรณีถือได้ว่าข้อที่ว่า ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวจำเลยมีสติสัมปชัญญะหรือรู้สำนึกผิดชอบหรือไม่ เป็นประเด็นแห่งคดีรวมอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ด้วย ทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คงอุทธรณ์โต้แย้งว่า โจทก์ไม่ได้หลอกลวงจำเลยและจำเลยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อันถือเป็นการยอมรับว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเป็นประเด็นในคดี ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขประเด็นเป็นว่า ขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารตามฟ้อง จำเลยสามารถรู้สำนึกผิดชอบอย่างบุคคลทั่วไปหรือไม่ จึงยังคงอยู่ในประเด็นแห่งคดี และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 32 (เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 (เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 143 (เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
โจทก์รู้ดีว่าจำเลยป่วยมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แม้อาการป่วยของจำเลยจะไม่ถึงขนาดไม่สามารถรู้สำนึกผิดชอบอันเป็นการขาดเจตนาในการทำนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยกระทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และโจทก์รู้อยู่แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่จำเลยกระทำไปก็ตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 32 (เดิม) จำเลยมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 137 (เดิม) เมื่อจำเลยได้บอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 143 (เดิม) แล้ว สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการใช้บังคับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ในขณะที่จำเลยกระทำผิดประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่19มกราคม2536ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน0.500กรัมแต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา59บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วยและมาตรา4บัญญัติว่า"วัตถุตำรับหมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยฯลฯ"ดังนี้ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดเมื่อของกลางมีปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่3เมษายน2538ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217กรัมซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิคงมีความผิดตามมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลต่อความผิดทางอาญา
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่85 พ.ศ.2536 เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน 0.500 กรัม แต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วย และมาตรา 4 บัญญัติว่า "วัตถุตำรับ หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อของกลางมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม จึงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 3เมษายน 2538 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536)ดังกล่าว และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217 กรัม ซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและมาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นเรื่องอายุความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480(เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่19 กุมภาพันธ์ 2533 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง(เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายสินสมรส จำเลยให้การไม่ชัดเจน ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 (เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้น หามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใด ซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคสอง (เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใด ซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคสอง (เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินสินสมรส โดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นอายุความที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480(เดิม)ส่วนข้อที่จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1และศาลพิพากษาให้จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่2นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่2ให้การต่อสู้เพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนวันที่19กุมภาพันธ์2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2533ก็ยังไม่พ้นกำหนด1ปีอันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480วรรคสอง(เดิม)เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14กุมภาพันธ์2534ดังนี้คำให้การของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นฎีกาของจำเลยที่2เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1ภริยาโจทก์และจำเลยที่2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง200บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7985/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีสัญญาเช่าซ้อนซ้อน: การกระทำของจำเลยไม่ใช่เหตุให้โจทก์รับเงินค่าเช่าไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า ว. ทำสัญญาเช่าสถานที่พิพาทกับจำเลยแล้วต่อมาได้ทำสัญญาเช่าสถานที่พิพาทกับโจทก์อีก ว.อ้างว่าไม่สามารถหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิให้เช่าที่แท้จริงได้จึงนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ภายใต้เงื่อนไขเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริงตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด โจทก์ไปขอรับเงินที่ ว.วางไว้ แต่ไม่สามารถรับเงินได้ เพราะตกอยู่ในเงื่อนไขข้างต้นหากจำเลยมิได้ทำสัญญาให้ ว. เช่าสถานที่พิพาท โจทก์ก็จะได้รับชำระค่าเช่าจาก ว.โดยว. ไม่ต้องนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ การที่โจทก์รับเงินไม่ได้เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว เหตุที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถรับเงินที่วางไว้ได้เกิดจากเงื่อนไขที่ ว. กำหนดไว้ มิใช่เพราะจำเลยไปคัดค้านการขอรับเงินของโจทก์ จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง