คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมิทธิ์ วราอุบล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 505 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง กรณีไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง
จำเลยที่1ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์การที่จำเลยที่2ลูกจ้างของจำเลยที่3ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่1นำบุตรของจำเลยที่1ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่3ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้นเป็นการกระทำของจำเลยที่2โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่3จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่1ดังนั้นการกระทำละเมิดของจำเลยที่1ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์ การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 นำบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเปิดโอกาสลูกหนี้แสดงความสามารถชำระหนี้
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลาย ย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นอเนกประการ ซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ ฉะนั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นเอนกประการซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ฉะนั้นก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา10ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ2,850,000บาทและหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ28,000บาทกับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยแต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่งโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา4กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมกู้ยืมเงินผ่านตัวกลางเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมายบริษัทเงินทุน ผู้รับเงินต้องคืน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัทภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา8แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522พ.ศ.2526แต่จำเลยที่1และบริษัทภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่1แล้วนำเงินไปให้บริษัทภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่งโดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงินกล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่1และบริษัทก.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกันและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ1ให้ผู้คัดค้านทั้งแปดแล้วจำเลยที่1ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่1ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใดๆจากผู้คัดค้านทั้งแปดแม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทภ.ไม่ได้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่1จำเลยที่1ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่1และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่1ได้อีกซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35ที่แก้ไขใหม่อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่1ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัทภ.จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150นิติกรรมที่จำเลยที่1อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ต่อผู้คัดค้านที่1และที่จำเลยที่1ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใดๆให้ผู้คัดค้านที่2ถึงที่8ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอนและต้องถือว่าบริษัทภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่1ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่1หาใช้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่1แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: หลักการความบกพร่องในการนำสืบพยาน
พยานเอกสารที่ผู้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นพยานเอกสารที่ผู้ร้องสามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ เมื่อผู้ร้องไม่ระบุพยานและนำมาสืบในตอนนั้น นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองซึ่งหากยอมรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวย่อมจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุผลและความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคแรก ซึ่งศาลชั้นต้นต้องส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมส่งมายังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อจัดส่งคำฟ้องไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 12 ปี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ยื่นฎีกาแล้ว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็น 45 วันแล้ว จำเลยที่ 1เข้าใจว่าคำร้องดังกล่าวมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายสิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยอย่างใด กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364-7365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ในสำนวนหลังของศาลชั้นต้นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วโจทก์และจำเลยที่8(โจทก์และจำเลยในสำนวนหลัง)มิได้ยื่นอุทธรณ์ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในสำนวนแรกยื่นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์เกี่ยวกับสำนวนคดีหลังจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค1เกี่ยวกับจำเลยที่8จึงไม่ชอบและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่8ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมหลอกโจทก์ซื้อฝากที่ดิน ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่1ติดต่อบอกขายที่ดินแก่โจทก์ร่วม2แปลงและนัดหมายไปดูที่ดินกันจำเลยที่1และที่2พาโจทก์ร่วมและสามีไปดูที่ดินทั้งสองแปลงแต่โจทก์ร่วมไม่ชอบจึงได้เสนอขายที่ดินแปลงพิพาทและจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันพาโจทก์ร่วมไปดูทั้งยังชี้หลักเขตที่ดินซึ่งเป็นหลักเขตปลอมทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นที่ดินแปลงพิพาทจึงรับซื้อฝากไว้พฤติการณ์ของจำเลยที่1และที่2เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำจึงเป็นตัวการร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมและร่วมกับจำเลยที่3ฉ้อโกง การที่จำเลยทั้งสองใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมรับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฉ้อโกงด้วยแต่การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
of 51