พบผลลัพธ์ทั้งหมด 505 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกเอง vs. การเลิกจ้าง และดุลพินิจการจ่ายโบนัส
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในข้อ 46 วรรคแรกว่า "ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง..." หมายความว่า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ดังนี้ การที่โจทก์ลูกจ้างมีหนังสือถึงจำเลยนายจ้างอ้างถึงสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย และมีข้อความตอนหนึ่งว่า "ผม (หมายถึงโจทก์)จะไม่ต่อสัญญา ผมจึงพร้อมที่จะไปจากที่ทำงานในวันหมดอายุของสัญญา..."ซึ่งข้อความดังกล่าวแสดงว่า โจทก์จะไม่ทำงานให้จำเลยต่อไปเมื่อครบอายุสัญญาถือได้ว่าโจทก์ขอลาออกเอง จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือของโจทก์ที่มีถึงจำเลยนั้นจะได้เรียกร้องค่าชดเชยด้วย ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแต่อย่างใด
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
เงินโบนัสมิใช่เงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงกำหนดหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสอย่างใดก็ได้ เมื่อจำเลยมีหลักเกณฑ์การคิดเงินโบนัสประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินผลงาน จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่จะพิจารณาจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การที่โจทก์ได้รับเงินโบนัสเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2536 ได้รับเงินโบนัสเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือนไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันอันจะบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามนั้น เมื่อการประเมินผลงานในปี 2537 ปีที่พิพาทกัน โจทก์ได้รับการประเมินผลงานในระดับพอใช้ ส่วนลูกจ้างคนอื่นได้รับการประเมินผลงานในระดับดีมาก การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างจำนวนสี่เดือน ในขณะที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างคนอื่นเท่ากับค่าจ้างจำนวนห้าเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจของจำเลยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินโบนัสเพิ่มอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาเกินคำขอ และมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาเกินคำขอได้
โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหายแต่ฎีกาโจทก์มิได้มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วยศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้จึงไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอค่าเสียหายต้องระบุในฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่มีการขอ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอได้
โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย แต่ฎีกาโจทก์มิได้มีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วย ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้จึงไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีพิทักษ์ทรัพย์: เหตุสุดวิสัยและกรอบเวลา
เมื่อปรากฏว่าคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี การโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ดีได้กระทำในชื่อใหม่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นเหตุทำให้ผู้ร้องไม่อาจทราบว่าพ. และ อ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องก็คือ ก. และ ธ. จำเลยที่ 1 และที่ 2ในคดีนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผู้คัดค้านได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น กรณีถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาดได้ และถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำขอขยายระยะเวลาหลังจากสิ้นระยะเวลาแล้วก็ได้ แต่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำขอขยายระยะเวลาเสียภายในเวลาอันสมควรที่ผู้ร้องอาจยื่นได้หลังจากที่ทราบเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว การที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้และขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากผู้ร้องทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดนานถึงเกือบ 4 เดือน ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-พฤติการณ์พิเศษ-การทราบถึงคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์-ขยายเวลาขอรับชำระหนี้-ล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี การโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ดีได้กระทำในชื่อใหม่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมเป็นเหตุทำให้ผู้ร้องไม่อาจทราบว่า พ.และอ.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องก็คือ ก. และ ธ. จำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผู้คัดค้านได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น กรณีถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2เด็ดขาดได้ และถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำขอขยายระยะเวลาหลังจากสิ้นระยะเวลาแล้วก็ได้ แต่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำขอขยายระยะเวลาเสียภายในเวลาอันสมควรที่ผู้ร้องอาจยื่นได้หลังจากที่ทราบเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว การที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้และขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากผู้ร้องทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดนานถึงเกือบ 4 เดือน ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและสิทธิในการฟ้องล้มละลาย: หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087 จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันที มิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. หรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 แต่ทางเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิลูกหนี้ร่วมและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้หนี้ค่าภาษีอากรค้างตามฟ้องโจทก์เป็นหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส.แต่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)และมาตรา1087จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดส.ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือกทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา291เมื่อหนี้ดังกล่าวอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า50,000บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้โดยตรงทันทีมิใช่ว่าต้องขอให้จำเลยล้มละลายร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดส.หรือต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89แต่ทางเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6195/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย่อหน้าใหม่ว่า"ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยจะได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังนี้"และลงท้ายว่า"ดังเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้นขอศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งแล้วมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย"ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นแม้คำขอท้ายฎีกาก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6195/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.216 โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วย่อหน้าใหม่ว่า"ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยจะได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังนี้"และลงท้ายว่า"ดังเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้นขอศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งแล้วมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย"ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นแม้คำขอท้ายฎีกาก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6195/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยตรง แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นซ้ำ
ฎีกาจำเลยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์ คำให้การจำเลยคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย่อหน้าใหม่ว่า"ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังเหตุผลและข้อเท็จจริงที่จำเลยจะได้ประทานกราบเรียนต่อศาลดังนี้" และลงท้ายว่า "ดังเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนต่อศาลมาแล้วข้างต้นขอศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แล้วมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย" ส่วนเนื้อหาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นแม้คำขอท้ายฎีกาก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไรไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216