คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 31กรกฎาคม พ.ศ.2521 ข้อ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่อง-ต่ออายุ ไม่ใช่สัญญาใหม่: ลูกจ้างมีสิทธิค่าชดเชย แม้สหกรณ์อ้างไม่แสวงหากำไร
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไปไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนด ระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิ ของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186-190/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: เงินบำเหน็จรวมค่าชดเชยแล้ว ไม่ต้องจ่ายซ้ำ
ระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเนื่องจากปลดเกษียณว่า เงินอันพึงจะได้รับจะต้องถูกหักด้วยเงินประเภทต่างๆที่จำเลยได้จ่ายไปตามกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา หรือกฎข้อบังคับของรัฐบาล ว่าด้วยประโยชน์เนื่องจากทุพพลภาพหรือการออกจากงานเพราะเกษียณอายุหรือมรณกรรม เมื่อค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และการเกษียณอายุก็เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างเกษียณอายุและนายจ้างได้จ่ายเงินตามระเบียบดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยแล้ว เงินที่ลูกจ้างได้รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยมีขั้นตอนการตักเตือนครบถ้วน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เดิมจำเลยได้มีประกาศเรื่องพนักงานหลับในเวลาปฏิบัติ หน้าที่ว่าต้องพิจารณาโทษใช้เป็นระเบียบปฏิบัติอยู่แล้วต่อมาจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามพนักงานหลับนอนในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดโทษว่าตักเตือนก่อน 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนี้ แม้พนักงานจำเลยจะนอนหลับระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก่อนออกระเบียบ 2 ครั้ง และภายหลังออกระเบียบ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกันและจำเลยได้ตักเตือนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988-2993/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนมีผลผูกพันคดีหลังตามข้อตกลงท้าทาย หากผลเป็นไปตามที่ตกลง
การที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้และตกลงท้ากันว่า ถ้าศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยก็ชนะคดีทุกประเด็นนั้นเป็นเรื่องขอให้ถือเอาผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญที่จะให้โจทก์หรือจำเลยแพ้คดีหาใช่ถือเอาผลคำวินิจฉัยในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งเป็นข้อแพ้ชนะไม่ ฉะนั้น เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอน และที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย เป็นการพิพากษานอกประเด็น ผลก็คือโจทก์แพ้คดีโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง จึงตรงตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมชนะคดีโดยไม่จำต้องสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเลือกออกจากงานตามข้อบังคับนายจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี มิใช่การลาออก แต่เป็นการเลิกจ้าง
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้น การที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้วซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: ต้องทำงานต่อเนื่องหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำครบ 120 วัน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงานแต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วันจึงออกจากงานแสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินผลประโยชน์กองทุนเมื่อออกจากงาน หักค่าชดเชยได้ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3) ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: พฤติกรรมไม่สุภาพ-ก้าวร้าว ไม่ถึงขั้นร้ายแรง เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
ลูกจ้างเมาสุรา ไม่สวมเสื้อในขณะปฏิบัติงาน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับนั้น หาเป็นกรณีฝ่าฝืนที่ร้ายแรงไม่ และเมื่อนายจ้างบอกให้ลูกจ้างสวมเสื้อก็พูดว่า'คุณไม่เกี่ยว' นายจ้างสั่งให้ออกไปจากโรงงานก็พูดว่า'กูจะอยู่ที่นี่ได้ไหม' และเมื่อออกไปหน้าโรงงานก็พูดว่า 'กูจะเข้าไปไม่ได้หรือ' ถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงคำไม่สุภาพและก้าวร้าว หาเป็นความผิดทางอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าอันจะเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาทเมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.33 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องจากการเลิกจ้าง: การถอนฟ้องและตกลงรับค่าชดเชยย่อมผูกพันโจทก์
โจทก์เคยฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้ศาลบังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้ ศาลไกล่เกลี่ยจนตกลงกันได้โดยจำเลยยอม จ่ายค่าชดเชยให้และโจทก์ถอนฟ้องไป คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่โจทก์มาฟ้องใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น แม้จะไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและตกลงกันดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยินยอมสละสิทธิอื่น ๆ อันจะพึงเรียกร้องจากจำเลยเนื่องมาจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยความตกลงเช่นนี้ย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ขึ้นมาใหม่
of 10