คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006-3007/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างกรรมการพบการทุจริตและแจ้งความ การกระทำเพื่อประโยชน์ของบริษัทและสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยและยังเป็นผู้ถือหุ้นกับเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยด้วย ได้ร่วมกับจำเลยปลอมปนน้ำมันหล่อลื่นเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย และโจทก์นำความไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีแก่ประธานกรรมการบริษัทจำเลยและยังออกคำสั่งพิเศษให้พนักงานบริษัทฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์และจำเลย ซึ่งโจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าประธานกรรมการทุจริตเบียดบังเงินของจำเลย แล้วจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังนี้เป็นการกระทำโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ให้ลุล่วงถูกต้องไปโดยสุจริต และไม่เป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง นอกจากนี้ยังถือไม่ได้อีกด้วยว่าเป็นการกระทำผิดโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ดังนั้น จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหาย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่หลังถูกดูหมิ่น: นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ. จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัย และการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน และสิทธิการเลิกจ้างของนายจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสุดท้ายเป็นเพียงข้อยกเว้นว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่าให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกิน 180 วันแล้วนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่เป็นเรื่องห้ามมิให้ทดลองปฏิบัติงานเกิน 180 วัน ดังนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน 120 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายจ้างจึงมีสิทธิที่จะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานอีก 60 วันได้ และการที่นายจ้างให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานต่อไปอีกนั้นแม้ลูกจ้างจะมีบันทึกข้องใจในคำสั่งนี้ แต่ลูกจ้างก็ยังคงทำงานต่อไปกับนายจ้างอีก จึงถือได้ว่าลูกจ้างยินยอมตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างจึงยังคงมีฐานะเป็นลูกจ้างประจำที่ทดลองปฏิบัติงานอยู่ และเมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่ทดลองปฏิบัติงาน ผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจของ นายจ้างนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่เนื่องจากนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรกจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิลูกจ้าง และการคำนวณค่าชดเชย
แม้การลงหมายเลขสมาชิกสหกรณ์ในใบเสร็จรับเงินสด จะมีผลให้พี่สาวโจทก์เจ้าของหมายเลขสมาชิกได้รับเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน แต่เงินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินนี้ เพราะไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ของที่ซื้อจากร้านสหกรณ์ก็ได้นำไปใช้ในบริษัทจำเลยทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดนำไปใช้ส่วนตัว ทั้งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปไม่ทำให้ บริษัทจำเลยเสียหายจากการซื้อสินค้านั้น ดังนั้น การที่บริษัทจำเลย ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นหาเป็นการละเมิดตามกฎหมายไม่ หากแต่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การกระทำละเมิดอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานนั้นต้องสืบเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันจะเป็นการละเมิดเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ฉะนั้น ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ
จำเลยอุทธรณ์เรื่องจำนวนค่าชดเชยว่าคำนวณไม่ถูกต้อง ข้ออุทธรณ์นี้จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว และศาลก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด แต่ศาลแรงงานกลางมิได้หยิบยกขึ้นพิจารณาและการคำนวณค่าชดเชยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 573/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องหลังอายุ 60 ปี ยังคงเป็นสัญญาจ้างไม่กำหนดระยะเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อโจทก์ทำงานถึงอายุ 60 ปีแล้วมีการต่ออายุการทำงานออกไปคราวละ 1 ปี จนกระทั่งโจทก์มีอายุครบ 65 ปีนั้น การต่ออายุการทำงานแต่ละคราวเป็นเพียงการขยายกำหนดเวลาจ้างเดิมออกไป ไม่ใช่ตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม แม้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่ออายุการทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
วัตถุประสงค์ตามข้อบังคับสหกรณ์จำเลยกำหนดการจัดสรรกำไรสุทธิของสหกรณ์ การจัดสรรกำไรเป็นโบนัสแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ จึงแสดงว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการเพื่อกำไรในทางเศรษฐกิจ
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานการไม่ปฏิบัติตามเป็นความผิดอาญา ถือว่าเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจระงับไปด้วยเหตุที่ลูกจ้างถอนคำร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเตือนจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย
จำเลยเสียค่าแต่งทนายความ ซึ่งจำเลยไม่ต้องเสียตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯมาตรา 27 ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับทำงาน แม้มีการตักเตือนแล้ว การเลิกจ้างชอบธรรม
เดิมจำเลยได้มีประกาศเรื่องพนักงานหลับในเวลาปฏิบัติหน้าที่ว่าต้องพิจารณาโทษใช้เป็นระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว ต่อมาจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามพนักงานหลับนอนในขณะปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดโทษว่าตักเตือนก่อน 3 ครั้ง ครั้งที่ 4 ปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนี้แม้พนักงานจำเลยจะนอนหลับระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก่อนออกระเบียบ 2 ครั้ง และภายหลังออกระเบียบ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกันและจำเลยได้ตักเตือนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างพนักงานผู้นั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988-2993/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อตกลงตัดสินคดีหลังได้ หากผลเป็นไปตามที่ตกลง จำเลยชนะโดยไม่ต้องสืบพยาน
การที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าข้อเท็จจริงในคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้และตกลงท้ากันว่า ถ้าศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยก็ชนะคดีทุกประเด็นนั้นเป็นเรื่องขอให้ถือเอาผลคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญที่จะให้โจทก์หรือจำเลยแพ้คดีหาใช่ถือเอาผลคำวินิจฉัยในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งเป็นข้อแพ้ชนะไม่ ฉะนั้น เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดเวลาไว้แน่นอน และที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญาจ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย เป็นการพิพากษานอกประเด็น ผลก็คือโจทก์แพ้คดีโดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง จึงตรงตามคำท้าแล้วจำเลยย่อมชนะคดีโดยไม่จำต้องสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างชั่วคราว: เกณฑ์การนับระยะเวลาทำงานหลังเปลี่ยนสถานะเป็นลูกจ้างประจำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 75 วรรคแรก มิได้หมายความว่าเมื่อลูกจ้างชั่วคราวทำงานติดต่อกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันแล้วจะมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันเริ่มเข้าทำงาน แต่หมายความว่าลูกจ้างจะมีฐานะเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตั้งแต่วันทำงานที่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันเป็นต้นไปโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวจำเลยรวม 154 วัน จึงออกจากงาน แสดงว่าโจทก์ทำงานในฐานะลูกจ้างประจำยังไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา vs. หลีกเลี่ยงค่าชดเชย: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นสัญญาจ้าง 4 ฉบับ
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การคงมีประเด็นโต้เถียงกันเพียงว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และโจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาแต่ละฉบับระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงถือได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการจ้างที่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยฟังว่าสัญญาจ้างทั้ง 4 ฉบับ ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3004/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากการรับเงินชดเชยและโบนัส
แบบฟอร์มของเอกสารซึ่งลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและโบนัสมีรายการเกี่ยวกับเงินประเภทต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับ 10 ข้อ ข้อ 1 ถึงข้อ 7 ระบุประเภทของเงินต่างๆ ข้อ 8 ถึงข้อ 10 ว่างเว้นไว้ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินประเภทใด แสดงว่านอกจากเงิน 7 ประเภทแล้วยังมีเงินประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจจะได้รับตามสิทธิและตามกฎหมายซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในแบบฟอร์มนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ชัดว่า ลูกจ้างไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างทั้งสิ้นนอกจากค่าชดเชยและเงินโบนัสที่ได้รับไปแล้ว ย่อมหมายถึงว่าลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้างด้วย
of 6