คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529-2530/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยคุ้มครองลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และประเด็นอายุความดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ค่าชดเชย เป็นบทบัญญัติส่วนหนึ่งของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ที่ใช้บังคับแก่องค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ หาใช่มุ่งหมายจะคุ้มครองเฉพาะแต่ลูกจ้างของเอกชนเท่านั้นไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1568/2523)
จำเลยให้การแต่เพียงว่า "ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยแก่โจทก์" ดังนี้ไม่แจ้งชัดว่าสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยนั้นมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ปัญหาเรื่องอายุความตาม มาตรา 166 จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างและฐานคำนวณค่าชดเชย: เงินช่วยเหลือต่างๆ ทางทะเลและค่าครองชีพถือเป็นค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำโดยให้ทำงานที่เรือขุดแร่ในทะเล โดยจำเลยให้เงินเพิ่มพิเศษทางทะเลแก่โจทก์จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธความข้อนี้และปรากฏว่าเงินเพิ่มพิเศษนี้เป็นการช่วยเหลือพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานประจำในทะเล แสดงว่าเป็นเงินซึ่งจ่ายเพิ่มให้แก่ค่าจ้างปกติเพราะเหตุที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำอยู่ในทะเลจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน นับว่าเป็น "ค่าจ้าง"แม้จำเลยจะให้การว่า เงินเพิ่มพิเศษนี้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับในขณะปฏิบัติงานอยู่เท่านั้นและคู่ความรับกันว่านอกจากคนงานในเรือขุดยังมีคนงานปฏิบัติหน้าที่อยู่บนบก คนงานในเรือขุดอาจถูกย้ายมาปฏิบัติหน้าที่บนบกได้ก็ตาม ก็ไม่ลบล้างข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นคนงานจำพวกที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในทะเลนั่นเอง และเงินเพิ่มพิเศษค่าทำงานรอบกลางคืนอันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำงานในเรือขุด จำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธเช่นกันจึงต้องนำเงินทั้งสองประเภทนี้ไปรวมกับค่าจ้างปกติเพื่อใช้เป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
แม้ตามข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่า เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นการจ่ายเพื่อสวัสดิการนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ และตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ว่า เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการครองชีพในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม การที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นย่อมทำให้จำเลยแลเห็นได้เองว่าค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเงินที่จ่ายเพิ่มให้นี้จึงเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานด้วยเช่นกัน จึงต้องถือว่าเป็นค่าจ้าง
ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจัดเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านอยู่ในประเภท "สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น" บริษัทจำเลยมีคนงานประมาณ 250 คน มีคนงานมีที่พักอยู่ในบริษัทจำเลย 6 ถึง8 คน ไม่ได้รับค่าเช่าบ้านคนงานอื่นได้ค่าเช่าบ้าน แสดงว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะผูกมัดจิตใจลูกจ้างให้ทำงานอยู่กับจำเลยนาน ๆ และเพื่อไม่ให้ลูกจ้างต้องเป็นกังวลในเรื่องที่พักอาศัย จำเลยจึงรับภาระในสวัสดิการด้านที่พักอาศัยให้ เมื่อจำเลยไม่สามารถจัดที่พักอาศัยให้ได้จึงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้ และเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ลูกจ้างได้รับเป็นจำนวนที่แน่นอนเท่า ๆ กันทุกเดือน ผู้ที่มีบ้านของตนเองเช่นโจทก์ก็ได้ด้วยดังนี้ไม่อาจถือว่าเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-910/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ: ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และหลักเกณฑ์การจ่าย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ใช้สำหรับพิจารณาว่า คุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ มิได้ยกเว้นไว้ว่าไม่ให้ถือเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดบทนิยามคำว่า "การเลิกจ้าง" ไว้ และได้ระบุเจาะจงลงไปด้วยว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้" แสดงว่าให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นด้วย การแปลคำว่า "เลิกจ้าง" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา31 จึงไม่จำต้องพลอยแปลตามข้อ 46 ด้วย
(การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ(ฉบับที่6) กลับไปใช้ข้อความตาม (ฉบับที่ 2) โดยไม่มีข้อความให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วยดังเช่น (ฉบับที่ 5) นั้นอาจเป็นเพราะเห็นบทนิยามคำว่า "การเลิกจ้าง" ตามที่เคยใช้อยู่นั้น ครอบคลุมถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้ เพราะมิได้ระบุยกเว้นไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
นายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยขึ้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
แม้นายจ้างจะได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งลูกจ้างทราบดีแล้วตั้งแต่สมัครเข้าทำงานว่า เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะให้พ้นจากตำแหน่งไป ก็ถือไม่ได้ว่ามีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติลูกจ้างเป็นการทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46และข้อ 47 ไม่ปรากฏชัดว่ามีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และยังไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีกเมื่อจำเลยมิได้จ่ายให้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ จึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774-780/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุกับการจ่ายค่าชดเชย: การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ยังคงมีผลบังคับใช้ แม้มีกฎหมายคุณสมบัติพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518 ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุจะเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่นั้นต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46เมื่อประกาศดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้เป็นพิเศษว่า การให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุไม่ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้วเพียงแต่การที่รัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งปวงให้เป็นระเบียบเดียวกันในรูปของกฎหมายนั้น หามีผลเป็นข้อยกเว้นไปในตัวสำหรับบทนิยามของคำว่า "การเลิกจ้าง" ตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้กำหนดบทนิยามไว้ในข้อนี้เองว่า "การเลิกจ้าง" หมายความว่าอย่างไร ทั้งยังจำกัดลงไปด้วยว่า"การเลิกจ้างตามข้อนี้" แสดงว่า"การเลิกจ้าง" ในข้อ 46 นี้ใช้แก่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นดังนั้นพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 31จึงไม่ต้องพลอยแปลคำว่า "การเลิกจ้าง" ตามคำแปลในเรื่องค่าชดเชยด้วย
การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ (ฉบับที่ 6) แก้ไขข้อ 46ของประกาศฯ (ฉบับที่ 5) ตัดข้อความที่ให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างด้วยออกไปนั้นอาจจะเป็นเพราะเห็นว่าบทนิยามคำว่า"การเลิกจ้าง" ตามที่เคยใช้อยู่ครอบคลุมถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้เพราะมิได้ระบุยกเว้นเป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
แม้ระเบียบของนายจ้างได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งเมื่อลูกจ้างสมัครเข้าทำงานก็ทราบอยู่แล้วว่า เมื่อมีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์ก็จะพ้นจากตำแหน่งไป ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้มีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นรายๆ ไปว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใดและการจ่ายค่าชดเชยนี้ เป็นหน้าที่ซึ่งกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติ และหลักเกณฑ์ในการจ่ายก็ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้นั้นนายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยนั้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศฯ. อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2นิยามคำว่า "ค่าชดเชย" แต่เพียงว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะดูข้อ 46 และ47 ด้วยก็ไม่ปรากฏชัดว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้เป็นเพื่อการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีก. เมื่อนายจ้างมิได้จ่ายให้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือถือเป็นการเลิกจ้าง และสิทธิในการรับค่าชดเชย รวมถึงค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
เหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานที่บริษัทอื่นก็เนื่องมา จากจำเลยไม่พอใจผลงานของโจทก์ แม้บริษัทนั้นจะอยู่ในเครือเดียวกันกับจำเลยแต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันในการเข้าทำงานโจทก์ก็ต้องทำสัญญาเป็นการตกลงจ้างกันใหม่ การย้ายดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปหรือให้โจทก์ออกจากงาน ถึงหากโจทก์จะสมัครใจทำงานใหม่ก็เป็นการสมัครใจหลังจากที่จำเลยไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปแล้วและหาได้มีข้อความใดเป็นการตกลงให้นับระยะเวลาทำงานกับจำเลยต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานกับบริษัทใหม่ไม่ จึงมิใช่เป็นการสมัครใจย้ายที่ทำงานของโจทก์ หากเป็นผลจากการเลิกจ้างของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลย
เมื่อจำเลยจ่ายค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่นให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน มิใช่เป็นครั้งคราว หรือโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากโจทก์มิได้ไปติดต่อลูกค้านอกสถานที่ทำงานจะไม่ได้รับค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่น และจำเลยได้จ่ายเช่นนี้มาตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานจนเลิกจ้างจึงถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน อันเป็นค่าจ้างเพียงแต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นเท่านั้น จึงต้องนำเงินนี้มารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
ข้อบังคับของจำเลยมีความว่า พนักงานที่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิพักผ่อนประจำปี โดยได้รับค่าจ้างเต็มวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ ได้ใช้จะเก็บสะสมไว้ในปีต่อไปไม่ได้ดังนี้พนักงานที่ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี กับ 1 วัน ก็ย่อมมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ไม่จำต้องทำงานต่อไปจนครบอีก1 ปี และการที่พนักงานมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นก็เป็นแต่เพียงจะนำไปเก็บสะสม ไว้ใช้ในปีต่อไปไม่ได้เท่านั้นเองหาเสียสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนการจ้างไม่ใช่เลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดี ความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า 3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัยเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เงินจำนวนหนึ่ง แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความ ตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายข้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่
of 6