คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การประกอบธุรกิจส่วนตัวในเวลางาน และการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า พนักงานต้องอุทิศเวลาให้แก่บริษัทฯ ไม่มาสายหรือกลับก่อนเวลาทำงาน หรือหลับในเวลาปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานล่าช้าโดยเจตนาหรือหลีกเลี่ยงการทำงาน ฯลฯ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้เวลาทำงานประกอบธุรกิจส่วนตัวย่อมถือว่าปฏิบัติงานล่าช้าโดยเจตนาและหลีกเลี่ยงการงานอยู่ในตัวแล้ว โจทก์จึงได้ชื่อว่าไม่อุทิศเวลาให้แก่นายจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าการประกอบธุรกิจส่วนตัวของโจทก์เกิดขึ้น ก่อนหรือหลังจากที่จำเลยเพิ่มค่าจ้างให้โจทก์แล้ว จึงไม่อาจถือเอาการเพิ่มค่าจ้างเป็นข้อยกเว้นว่าการประกอบธุรกิจส่วนตัวในเวลาทำงานไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน เพราะการจะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการเลิกจ้างนั้นมีสาเหตุอันควรหรือไม่ หากนายจ้างเลิกจ้างโดยปราศจากสาเหตุหรือเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การเลิกจ้างนั้นจึงจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ใช้เวลาทำงานประกอบธุรกิจส่วนตัวภายในสำนักงาน เป็นเหตุให้พนักงานอื่นต้องหยุดการทำงานเพื่อเลือกสรรเครื่องประดับที่โจทก์นำมาเสนอขายการกระทำของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวยังไม่ถึงขั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
การที่โจทก์แนะนำคนรู้จักหรือญาติพี่น้องเข้าสมัครทำงานกับจำเลยแล้วคัดเลือกใบสมัครเฉพาะพรรคพวกของโจทก์ส่งไป ทั้งที่มีผู้สมัครหลายราย แต่โจทก์แจ้งว่ามีผู้สมัครเฉพาะเท่าที่โจทก์ส่งไป เป็นการตัดโอกาสที่จำเลยจะคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมได้ แม้โจทก์จะได้รับความยำเกรงจากผู้ที่ได้รับคัดเลือกและเป็นการสร้างสมบารมีก็ไม่ใช่เป็นผลประโยชน์ในเชิงทรัพย์สินการกระทำของโจทก์หาเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281-2282/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน และดอกเบี้ย
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 นั้น หมายถึงการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร มิได้หมายความว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำผิดแล้วจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่จำเลยให้การว่าจำเลยประสบปัญหาเรื่องการเงินและขาดเงินทุนดำเนินการ จำเลยจึงปรับปรุงกิจการโดยยุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานซึ่งโจทก์ดำรงอยู่และไม่สามารถจัดหาตำแหน่งอื่นทดแทนแก่โจทก์ได้คำให้การของจำเลยดังนี้ แสดงเหตุของการเลิกจ้างไว้โดยชัดแจ้ง หาใช่คำให้การ ที่ไม่มีประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมว่าจำเลยเลิกจ้างโดยอ้างว่ายุบเลิกตำแหน่งและหน่วยงานที่โจทก์ดำรงอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริงและหาได้กล่าวอ้างถึงเหตุอื่นไม่ ฉะนั้นโจทก์จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากเหตุที่กล่าวในฟ้องมาเป็นข้ออุทธรณ์หาได้ไม่ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่หนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง ดังนั้นนายจ้างจะผิดนัดต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม เมื่อจำเลยไม่จ่าย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเหมาประจำมีสิทธิค่าชดเชย แม้จ่ายค่าแรงตามผลงาน การคำนวณต้องใช้ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพ เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่างๆดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ530บาทก็จะได้รับ 530 บาทแสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะ มีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำกัดสิทธิการแสวงหาความก้าวหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งจะไปสมัครสอบเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยื่นใบลาออกก่อนนั้นเป็นคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิในการแสวงความก้าวหน้าของลูกจ้างเกินความจำเป็น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วยเหตุฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ระเบียบภายในองค์กร: ศาลต้องยึดตามที่คู่ความยอมรับในชั้นศาลล่าง และห้ามยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์
จำเลยจะใช้ระเบียบใดบังคับในองค์การของจำเลยเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง เมื่อโจทก์ยอมรับว่า ขณะโจทก์พ้นจากตำแหน่ง จำเลยมีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502ใช้บังคับ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความยอมรับ กัน ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ระเบียบดังกล่าว ถูกยกเลิกไปแล้วโดยข้อบังคับซึ่งจำเลยกำหนดขึ้นใหม่ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมาอุทธรณ์โดยมิได้ว่ากัน มาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินลูกค้าโดยมิชอบ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยประกอบกิจการธนาคาร มีคำสั่งห้ามพนักงานกระทำการเบียดเบียนลูกค้า โจทก์เป็นพนักงานสินเชื่อซึ่งอำนาจหน้าที่ ของโจทก์มีส่วนเป็นคุณและเป็นโทษแก่ลูกค้าได้ โจทก์ กู้ยืมเงินลูกค้าถึง 14 ราย เป็นเงิน 37,700 บาท หากโจทก์มีความจำเป็นต้องใช้เงินโดยสุจริตก็อาจกู้ยืม เพียงรายหนึ่งหรือสองรายก็น่าจะได้เงินพอกับจำนวนที่ ต้องการ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเบียดเบียนลูกค้าโดย อาศัยอำนาจหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยอันเป็น กรณีร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, การเลิกจ้าง, ค่าพาหนะ: กรณีลูกจ้างทำร้ายลูกจ้างด้วยกัน
โจทก์มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีนี้แทนเพียงคดีเดียว แม้ใบมอบอำนาจจะระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาหรืออื่นๆ ได้ด้วยก็ตาม ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวซึ่งตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท เท่านั้น ม. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทน ย่อมอยู่ในฐานะคู่ความจึงมีอำนาจเรียงหรือแต่งคำคู่ความได้ เพราะการเรียงหรือแต่งคำคู่ความไม่ใช่การว่าความอย่างทนายความ การที่โจทก์ชก น.นอกสถานที่ทำงานและนอกเวลาทำงาน เพราะมีเรื่องโกรธเคืองกันมาก่อน ทำให้ น.มีบาดแผลเล็กน้อยนั้น เป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลยโดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงหรือทำลายเกียรติคุณของจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงอันจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าค่าพาหนะเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าพาหนะเป็นการฟ้องเรียกเงินอีกประเภทหนึ่งต่างหาก และจำนวนค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์ก็มิได้นำค่าพาหนะมารวมคำนวณด้วยจึงไม่ต้องนำค่าพาหนะมาเป็นฐานคำนวณจ่ายเงินดังกล่าว กรณีที่สินจ้างจ่ายกันในวันพฤหัสบดีเว้นหนึ่งวันพฤหัสบดีโดยวันอาทิตย์เป็นวันหยุด หนึ่งช่วงเวลาของการจ่ายค่าจ้างจึงเป็นเวลา 12 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ศาลฎีกาจำกัดการใช้ดุลยพินิจเพื่อเพิ่มค่าชดเชยเกินคำขอ หากลูกจ้างไม่ได้อ้างค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมาย
การเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างป่วยไม่อาจปฏิบัติงานให้นายจ้างได้นั้น ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 อันนายจ้างจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยตามอัตราค่าจ้างสุดท้ายซึ่งต่ำกว่าอัตราตามกฎหมายมาด้วยความสมัครใจ มิได้พลั้งพลาดผิดหลง จึงยังไม่สมควรที่ศาลจะอ้างความเป็นธรรมนำค่าจ้างที่ลูกจ้างมิได้รับจริงมาเป็นฐานคำนวณให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างลาออกเองมีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยประกาศสัญญาว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามอายุการทำงานแก่ลูกจ้างซึ่งลาออกโดยสมัครใจถ้อยคำว่า 'ค่าชดเชย' ที่จำเลยใช้ในประกาศ ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันดังนี้จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกให้ครบถ้วนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด จำเลยมิได้ประกาศสัญญาจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่สมัครใจลาออกเมื่อลูกจ้างลาออกโดยจำเลยมิได้เลิกจ้างจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประเภทนี้
of 10