คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างช่วงและผู้รับจ้างในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความ ในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้าง มาแต่ประการใด สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใดโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเกษียณและการเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างทำงานครบ 30 ปี
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและทำงานมาครบ 30 ปี ซึ่งตามระเบียบของจำเลยจะต้องถูกปลดเกษียณและทางปฏิบัติต้อง เขียนใบลาออกด้วย ดังนี้ การที่โจทก์เขียนใบลาออกใน วันปลดเกษียณจึงเป็นเพียงกระทำให้สอดคล้องกับทางปฏิบัติของจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นการลาออก แต่เป็นการออกจากงานเพราะเกษียณอายุซึ่งเป็นการเลิกจ้างจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องตักเตือนก่อนเว้นแต่กรณีร้ายแรง การอ้างเหตุใหม่หลังฟ้องคดีทำไม่ได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 11,28 ห้ามทะเลาะวิวาทหรือประทุษร้ายต่อพนักงานด้วยกันในระหว่างปฏิบัติงานหรือนอกเวลาปฏิบัติงานในบริเวณโรงแรมของจำเลยถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนมีโทษถึงปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยการที่โจทก์ทะเลาะตบตีกับพนักงานอื่นซึ่งเป็นหญิงด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด ไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนต่อเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีก จึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยคดีนี้จำเลยรับแล้วว่ามิได้ตักเตือน โจทก์เป็นหนังสือเมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งปลดโจทก์ออกจากงานนั้นอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีทะเลาะวิวาทประทุษร้ายพนักงานอื่น เท่านั้น เห็นได้ว่าจำเลยไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นสาเหตุการผิดวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการลงโทษอีกต่อไปเมื่อโจทก์ฟ้องคดีแล้ว จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวตามฤดูกาล ไม่ถือเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม 9 ครั้ง ครั้งละ3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด 1 เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใดจึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริงเพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้น ไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้น การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1919/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังศาลตัดสินเรื่องค่าชดเชยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
หลังจากถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จ่ายไม่ถูกต้องจากจำเลยศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพิ่มและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31 เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ เป็นการฟ้องโดยอาศัยเหตุจากการเลิกจ้างของจำเลยเป็นมูล ซึ่งเหตุนี้โจทก์อาจยกขึ้นได้เมื่อฟ้องจำเลยในคดีก่อนแต่มิได้ ฟ้องรวมไปในคราวเดียวกันกลับยกขึ้นฟ้องในภายหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426-1430/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อเริ่มจ้างโจทก์จำเลยมีคำสั่งจ้างความว่า จะเลิกจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลาก็ได้ จะจ้างต่อก็ได้ คำสั่งจ้างต่อมาก็มีข้อความเป็นการจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอยู่เช่นเดิม ครั้นถึงการจ้างงวดสุดท้ายจำเลยกำหนดเวลาการจ้างไว้ และไม่มีข้อความดังคำสั่งฉบับก่อนๆดังนี้ การที่จำเลยจ้างโจทก์ตั้งแต่แรกจนถึงครั้งสุดท้ายจึงเป็นการจ้างที่ขยายเวลาการจ้างสืบต่อกันมาไม่ขาดสายถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำในฐานะผู้ถือหุ้นไม่เป็นเหตุเลิกจ้าง ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
การที่โจทก์กับพวกฟ้อง ป. กรรมการผู้จัดการของจำเลยกับพวกและโจทก์เบิกความชั้นไต่สวนคำร้องเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวเป็นกรณีที่โจทก์กระทำในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจำเลยมิใช่กระทำในฐานะที่เป็นลูกจ้าง การที่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้อง ป. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับโจทก์ ถือไม่ได้ว่า ป. กับพวกอยู่ในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยจะนำเหตุนี้เป็นข้ออ้างเลิกจ้างโจทก์หาได้ไม่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถร่วมกันทำงานต่อไปได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงสภาพของสถานประกอบการและความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ถ้าเห็นว่าพอทำงานร่วมกันต่อไปได้ ก็จะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานถ้าเห็นว่าไม่อาจร่วมกันทำงานต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์กับกรรมการบริษัทจำเลยเป็นพี่น้อง กัน การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ และสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421-422/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ การออกข้อบังคับใหม่ทำให้ระเบียบเดิมสิ้นผล
การที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จำเลยออกคำสั่งให้นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 ของทางราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมย่อมทำได้ เมื่อจำเลยได้ตราข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ขึ้นมาใช้บังคับ ซึ่งมีคำจำกัดความ วิธีจัดตั้งกองทุนบำเหน็จหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จ วิธีการควบคุมรายรับ รายจ่าย ของกองทุนบำเหน็จทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ใช้ระเบียบการจ่ายบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ.2502 อีกต่อไปแล้ว หากแต่ใช้ข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฉบับที่10 ถือปฏิบัติต่อไป ที่มาแห่งการตั้งกองทุนบำเหน็จเป็นคนละเรื่องกับที่มาแห่งค่าชดเชยหลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จก็แตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากจำเลยเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่จ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงาน, อายุความการทำงานต่อเนื่อง, ค่าชดเชยและบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม. ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่าให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ. และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม. และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกันดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ. จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้วการที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
of 10