พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างข้ามบริษัทในเครือ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมโจทก์ทำงานกับบริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท ช. จำเลยต่อมาจำเลยรับโอนโจทก์มาทำงานกับจำเลยโดยโจทก์ยินยอมโจทก์ย่อมขาดจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท อ. และ เป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเด็ดขาดนับแต่บัดนั้นการที่จำเลยจะโอน โจทก์กลับไปยังบริษัท อ. อีกจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ เพราะบริษัท อ. เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิจารณาค่าชดเชย: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายละเมิดและอำนาจศาลแรงงาน
แม้การลงหมายเลขสมาชิกสหกรณ์ในใบเสร็จรับเงินสด จะมีผลให้พี่สาวโจทก์เจ้าของหมายเลขสมาชิกได้รับเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืนแต่เงินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบริษัทจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินนี้เพราะไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ของที่ซื้อจากร้านสหกรณ์ก็ได้นำไปใช้ในบริษัทจำเลยทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดนำไปใช้ส่วนตัวทั้งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปไม่ทำให้ บริษัทจำเลยเสียหายจากการซื้อสินค้านั้นดังนั้นการที่บริษัทจำเลย ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม การที่นายจ้างเลิกจ้างนั้นหาเป็นการละเมิดตามกฎหมายไม่หากแต่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การกระทำละเมิด อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานนั้นต้องสืบเนื่อง มาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้ไม่ ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันจะเป็นการละเมิดเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ฉะนั้นศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จำเลยอุทธรณ์เรื่องจำนวนค่าชดเชยว่าคำนวณไม่ถูกต้องข้ออุทธรณ์นี้จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วและศาลก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด แต่ศาลแรงงานกลาง มิได้หยิบยกขึ้นพิจารณาและการคำนวณค่าชดเชยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การกระทำผิดร้ายแรง และการจ่ายค่าชดเชย กรณีสูบบุหรี่ในโรงงาน
แม้จำเลยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามคนงานสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานผู้ฝ่าฝืนอาจถูกให้ออกจากงานก็ตาม แต่สถานที่โจทก์สูบบุหรี่อยู่ห้างโกดังเก็บกระดาษ 50เมตรสภาพกระดาษก็ไม่ใช่วัตถุไวไฟถึงกับมีการสูบบุหรี่ในระยะดังกล่าวแล้วสามารถลุกไหม้ได้ทั้งที่ที่โจทก์ยืนสูบบุหรี่อยู่ก็มีน้ำนองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้เนื่องจากการสูบบุหรี่ จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติลาออกก่อนกำหนด ไม่เป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกจากงานก่อนวันที่ลูกจ้างขอลาออกมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเพราะการให้ออกจากงานมิใช่เป็นความความริเริ่มของนายจ้างเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกก่อนเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ลูกจ้างขอลาออกจากงานก่อนครบเกษียณอายุ 2 เดือนมิใช่การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และการหักกลบลบหนี้เงินกู้ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 หมวด 5 ค่าชดเชย มิได้ห้ามการหักกลบลบหนี้ไว้ ดังนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิหักค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่ลูกจ้างยืมไปจากนายจ้างได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยแรงงาน: การจ่ายเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเรียกร้อง
นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ซึ่งได้รับการปลดเพราะเกษียณอายุจะได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายซึ่งบริษัท (จำเลย)มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตหรือเงินบำเหน็จมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายเป็นมูลฐานการคำนวณหนึ่งเดือนต่อจำนวนหนึ่งปีแห่งการทำงานบริบูรณ์ต่อเนื่องกันทุก ๆ ปี การทำงานให้แก่บริษัทตามแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่ากันโดยบริษัทจะเป็นผู้ออกเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุจำนวนเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชย โจทก์จึงเลือกรับเงินบำเหน็จและลงลายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับดังกล่าวมีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชย ด้วยการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: คำสั่งเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร พฤติการณ์หลังการบอกเลิกสำคัญ
การไล่ลูกจ้างออกจากงานอันถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้นไม่จำต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า 'มึงทำหมา ๆ อย่างนี้กูไล่มึงออก' ประกอบกับหลังจากพูดไล่ลูกจ้างออกจากงานแล้ว นายจ้างยังไปแจ้งความที่สถานีตำรวจกล่าวหาลูกจ้างว่าไม่ยอมออกไปจากห้องพักคนงานและลูกจ้างได้หยุดงานทั้งยังทวงถามให้นายจ้างคิดค่าชดเชยและค่าจ้างให้ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่านายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว
กิจการและลักษณะงานของนายจ้างมิใช่กิจการต้องเสี่ยงภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย การทำงานต้องทำติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำต้องเปิดใช้ตลอดเวลา การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างไม่ปิดประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำในโรงงานเพียงชั่วระยะเวลาเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงในอันที่นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
กิจการและลักษณะงานของนายจ้างมิใช่กิจการต้องเสี่ยงภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย การทำงานต้องทำติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำต้องเปิดใช้ตลอดเวลา การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างไม่ปิดประตูหน้าต่าง ไฟฟ้าและน้ำในโรงงานเพียงชั่วระยะเวลาเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงในอันที่นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้าง: ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจเลิกจ้างแทนบริษัทได้ การสั่งห้ามทำงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
หนังสือที่ ด. ผู้จัดการดูแลอู่ซ่อมรถยนต์สาขาของบริษัทจำเลยมีถึง พ. ผู้จัดการดูแลอู่ซ่อมรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่เพียงประสงค์ให้บริษัทจำเลยดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์และไม่ยอมให้โจทก์ทำงานที่เดิมต่อไปเท่านั้น บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นอำนาจของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทน ไม่ปรากฏว่า ด. ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทน จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้าง ไม่มีอำนาจที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่ ด. ไม่ยอมให้โจทก์ทำงานอยู่ที่เดิมเป็นเพียงเรื่องระหว่างพนักงานบริษัทจำเลยด้วยกันเองเท่านั้น ประกอบทั้งเมื่อ พ.ได้รับหนังสือดังกล่าว ก็ได้ให้ ท. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลพบโจทก์เพื่อปรึกษาหารือกัน แต่ยังตกลงกันไม่ได้โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องเสียก่อน และแม้จะเป็นจริงดังที่โจทก์นำสืบว่า ท.ได้พยายามพูดให้โจทก์ยื่นใบลาออก ก็แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปเท่านั้น ยังไม่ทันเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากมีมลทินมัวหมอง มิใช่จากความจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ศาลยืนค่าชดเชยตามสิทธิ
โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเป็นผู้มีมลทินมัวหมอง มิใช่เพราะกระทำผิดตามข้อกล่าวหาว่า ประพฤติตนไม่สมควร แอบอ้างชื่อผู้ใหญ่ไปเรียกและรับค่าตอบแทนในการวิ่งเต้นช่วยเหลือบุคคลเข้าเป็นพนักงาน ติดต่อกับพนักงานอื่นให้ช่วยเหลือบุคคลเข้าทำงานโดยจะให้เงินเป็นค่าตอบแทน ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 47(2) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินกว่าคำขอบังคับได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอค่าชดเชยมา 18,120 บาท อันเป็นการคำนวณผิดพลาด โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 18,180 บาท การที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ 18,180 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินกว่าคำขอบังคับได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอค่าชดเชยมา 18,120 บาท อันเป็นการคำนวณผิดพลาด โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 18,180 บาท การที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ 18,180 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว