พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318-1319/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุครบเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นการเลิกจ้าง และพนักงานจะครบเกษียณอายุเมื่อมีอายุเท่าใดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง จึงหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา การต่ออายุไม่ใช่สัญญาใหม่ เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับขณะโจทก์เข้าทำงานกำหนด ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์เว้นแต่จะได้มีการต่ออายุนั้น เป็นเพียงบทกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นพนักงานของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานมาจนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วจำเลยได้มีคำสั่งต่ออายุการทำงานของโจทก์ออกไปอีก 1 ปี จึงเป็นเพียงขยายกำหนดเวลาการทำงานออกไป หาใช่ข้อตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ภายหลังจากโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ไม่ เพราะโจทก์มีสิทธิลาออกจากงานได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้าง สัญญาจ้างนี้จึงยังเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเช่นเดิม เมื่อจำเลยไม่ต่ออายุการทำงานของโจทก์อีกต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างอันจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนสงเคราะห์กับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับภายในองค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงานได้
เงินที่การประปานครหลวงจ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ตามข้อบังคับซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯแม้ตามข้อบังคับนั้นให้ถือว่าเงินกองทุนสงเคราะห์เป็นค่าชดเชยก็ไม่ชอบ ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่มีสิทธิบอกเลิกได้, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, และสิทธิค่ารักษาพยาบาลตามข้อกำหนด
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้าง ออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปีไม่มีผลบังคับอย่าง แท้จริงโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลา การจ้างกำหนด ไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้ เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์